วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

แฉเล่ห์ลวงของคณะรัฐประหาร เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจ

บทความนี้ เว็บนี้ โดนบล๊อคแน่นอน รีบอ่านด่วน!



สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Council on Foreign Relations) ลงบทความ (13 มค 2558) แฉเล่ห์ลวงของคณะรัฐประหาร ที่จะเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจ รวบอำนาจไว้ที่คณะทหาร และเป็นรัฐธรรมนูญที่จะกีดกันไม่ให้ฝ่ายทักษิณเข้ามามีอำนาจในสภาได้อีก 

ไม่ใช่แค่นั้น บทความนี้ ยังได้เปิดโปงออกมาว่ารัฐธรรมนูญใหม่นี้ จะมีกลไกที่กีดกันไม่ให้รัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์ เพราะเป็นผู้ที่เหล่าชนชั้นสูงชิงชัง

Thailand’s Next Constitution Becomes Clearer 

http://blogs.cfr.org/asia/2015/01/13/thailands-next-constitution-becomes-clearer/
----------------------------------

รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปของไทย กำลังชัดเจนมากขึ้นทุกที

โดย โจชัว เคอลันซิค

แม้ว่าการตกลงเจรจาภายในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ซึ่งคัดเลือกมากับมือโดยฝ่ายทหารไทย หลายเรื่องจะได้ดำเนินไปโดยไม่มีสาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วม เค้าโครงของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็กำลังมีความชัดเจนมากขึ้น เมื่อคณะกรรมการยกร่างฯได้เริ่มมีการพบปะกัน  ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บางประเด็นของร่างรัฐธรรมนูญ ได้ถูกหยิบยกมาเป็นข่าว --และถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เป็นระยะๆ– โดยสื่อมวลชนไทย และเป็นที่ชัดเจนว่า แม้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะถูกเลือกมาโดยทหาร กรรมการบางคน ก็มีความกังวลเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำร่าง ที่ไม่โปร่งใส และความเป็นไปได้ที่สถาบันด้านประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปนี้ จะตกอยู่ในสภาวะถอยหลังลงคลอง เป็นไปได้ที่ กรรมการร่างฯ ที่รู้สึกกังวลเหล่านี้ ได้ปูดข่าวออกไป จนถึงหูสื่อมวลชน เกี่ยวกับบางประเด็น ที่เกิดการถกเถียงกันมากที่สุดในรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปที่อาจมีออกมา อย่างเช่น มาตราที่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น ถึงแม้ว่าการที่ข่าวรั่วออกมาเช่นนี้ คงไม่ได้ทำให้คณะผู้ยกร่างฯ ส่วนใหญ่เปลี่ยนความคิดแต่อย่างใด เพราะพวกนี้เป็นพวกที่เข้าข้างฝ่ายทหารอย่างสุดลิ่ม จนถึงขนาดที่พวกเขาจะทำทุกอย่างที่กองทัพบอกให้ทำ แต่ข่าวรั่วนี้ ก็ได้ทำให้สาธารณชนได้มองเห็นถึงวงใน ว่ารัฐธรรมนูญฉบับหน้าจะนำมาซึ่งอะไร (ตามระเบียบข้อบังคับ ผู้สื่อข่าวถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมการ และไม่ให้รายงานเกี่ยวกับการหารือในที่ประชุม)

ในแง่หนึ่ง ก็คือ บทบัญญัติที่อนุญาตให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์บางอย่างนั้น ดูเหมือนว่าจะมีอย่างแน่นอน หลายคนที่เชื่อมต่ออยู่กับคณะกรรมการยกร่างฯ พูดกันอย่างลับๆ ว่าการเปิดให้นายกไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นเป้าประสงค์สำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  เหลือก็แต่วิธีการและภายใต้สถานการณ์เช่นใด ที่คนคนนี้จะถูกคัดเลือกขึ้นมาเท่านั้น ที่ยังไม่ชัดเจน นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ที่น่าจะเกิดขึ้นนี้ ถูกมองโดยทหารและพวกพ้อง ว่ามีความสำคัญต่อการหยุดยั้งพรรคการเมืองของฝ่ายทักษิณ ที่จะกลับมามีอำนาจในการเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อาจได้รับการแต่งตั้ง โดยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ ขอให้นอกเหนือไปจากการเมืองในระบบเลือกตั้งตามปกติ พวกชนชั้นสูงเขาไม่ชอบอะไรก็ตามที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทำ  เกือบจะแน่นอนว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง จะเป็นคนที่ทหารและพวกพ้องไว้ใจให้ทำหน้าที่คอยขัดขวางการออกกฎหมายใดๆ ของฝ่ายทักษิณในสภา 

ทหารและคณะยกร่างรัฐธรรมนูญ รู้แน่ว่า ไม่ว่าจะออกแบบการเลือกตั้งครั้งหน้าอย่างไร พรรคของฝ่ายทักษิณก็จะชนะอีกอยู่ดี  คณะผู้ยกร่างฯ ได้โยนความคิดเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ออกมาหลายแบบ และผู้เขียนก็ยังเชื่อว่าในที่สุด รัฐธรรมนูญก็จะออกมาในแบบที่สร้างให้ประเทศไทยมีระบบตัวแทนแบบสัดส่วนหลายพรรค ตามแบบของเยอรมนี แต่แม้ว่าจะเป็นระบบตัวแทนแบบสัดส่วนหลายพรรคอย่างในเยอรมนีก็ตาม พรรคของฝ่ายทักษิณก็จะยังคงได้สัดส่วนของผู้แทนในสภา จำนวนมากเท่าๆ กับที่เคยได้ในการเลือกตั้งครั้งก่อน ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าอยู่ดี (เว็บ Bangkok Pundit ได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของประเทศไทย ภายใต้ระบบแบบเยอรมันเมื่อเทียบกับระบบตัวแทนแบบสัดส่วนแบบก่อนของไทย ซึ่งจัดสรรอำนาจให้กับคะแนนเสียงแบบแบ่งเขตแทนที่จะเป็นแบบเลือกพรรค มากกว่าในระบบผู้แทนแบบผสม)

นอกจากนี้ เกือบจะแน่นอนว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะให้อำนาจกับศาลของไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกด่านหนึ่ง ที่มีศักยภาพที่จะยันกับอำนาจของพรรคของฝ่ายทักษิณในสภาครั้งหน้า แม้ว่าในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ศาลสำคัญๆ จะได้เอนเอียงมาทางฝ่ายทักษิณในระยะสั้นๆ แต่เมื่อเหล่าผู้พิพากษาได้เกิดความกลัวขึ้นมา ว่าทักษิณกำลังจะรื้อถอนกลุ่มอำนาจเก่าของไทย นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา พวกศาลเกือบทั้งหมด จึงเป็นปฏิปักษ์กับพรรคฝ่ายทักษิณ จนถึงขนาดที่คนไทยพูดกันว่า พวกศาลได้ทำ “รัฐประหารโดยตุลาการ (judicial coup)” แม้ว่าจะถูกโจษกันขนาดนั้น ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ศาลระดับสูง ซึ่งรวมถึงศาลธรรมนูญด้วยนั้น ก็ยังจะได้ความแข็งแกร่ง และมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ ตามที่รายงานกันในสื่อของไทยและจากการพูดคุยเป็นการส่วนตัวกับหลายคน ที่ใกล้ชิดกับคณะยกร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ศาลจึงจะได้อำนาจมากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้คอยคุมรูปแบบทางการเมืองในเชิงรุกได้มากกว่าปกติ อย่างที่ในระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงมากที่สุดเขาทำกัน 

การสร้างความแข็งแกร่งให้กับศาลรัฐธรรมนูญ และทำให้ศาลเป็นเครื่องมือปลดล๊อค เมื่อเกิดทางตันทางการเมืองที่ตีบตันที่สุดนี้ ยังมีอีกจุดมุ่งหมายหนึ่งด้วย  นั่นคือ ให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำหน้าที่แทนกษัตริย์ไทย ในฐานะของการเป็นผู้ชี้ขาดสุดท้ายในยามที่เกิดทางตันทางการเมือง ซึ่งนี่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่ามกุฎราชกุมาร ผู้ซึ่งพวกชนชั้นสูงต่างชิงชังกันอย่างมากมายนั้น จะไม่ได้เฉียดเข้ามาหาความสำราญกับอำนาจ ที่กษัตริย์คนปัจจุบัน ภูมิพลเกาะกุมไว้ ในช่วงที่เป็นรัชสมัยของกษัตริย์ภูมิพล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น