วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทศึกษางานจัดตั้งหน่วยเคลื่อนไหวในเมือง

กรณีมีสมาชิกออกจากห้องต่าง ๆ กันมาก โดยเฉพาะในสภาวะที่ฝ่ายเผด็จการราชาธิปไตยใช้ปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาอย่างแข็งกร้าว การจัดตั้งที่ปิดลับ-ใต้ดิน คือคำตอบที่ถูกต้องของการแก้ปัญหาเหล่านี้  ทั้งนี้เกิดจากเหตุผลหลายประการ เช่น
1. มีการกลั่นกรองก่อนเข้าร่วมการจัดตั้งอย่างเข้มงวด
2. ทุกคนที่เข้าร่วมต่างก็ได้พิสูจน์ตนเองท่ามกลางการต่อสู้จนจิตใจกล้าแกร่ง 
3. การปิดลับที่ถือเป็นกฎเหล็ก จะช่วยป้องกันภัยจากพวกเผด็จการราชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี
4. การอยู่ในหน่วยจัดตั้ง จะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเชิงลึก จากหน่วยงานที่ศึกษาสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
5. องค์กรจัดตั้งทั้งหมด มีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสม ทำให้ทุกส่วนต่างก็มองเห็นความก้าวหน้าของการงาน (ปฏิวัติ) ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้กันและกัน
6. ทุกคนในองค์กรจัดตั้ง ร่วมกันผลักดันให้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วขึ้น และไปในทิศทางเดียวกัน
7. หากมีข้อขัดแย้ง ความเห็นที่แตกต่างกัน ก็น้อมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน  มิใช่โกรธ ว่าอะไรไม่ได้  ออกจากกลุ่มก็ได้ ไม่ง้อ ฯลฯ ซึ่งถือว่าเอาความคิดเห็นตนเป็นใหญ่  ไม่ใช่การมาร่วมกันด้วยความคิดที่ต้องการแก้ปัญหาของประเทศชาติและประชาชน อันเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าความไม่พอใจส่วนตัว ฯลฯ
8. การเข้าร่วมจัดตั้งแบบปิดลับใต้ดิน ถือเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งในชีวิต เป็นความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสรับใช้ประเทศชาติ ประชาชน และร่วมสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชนขึ้นบนแผ่นดินนี้

การต่อสู้จะเริ่มเมื่อไหร่

จะเปลี่ยนระบอบได้ "เหตุปัจจัยภายใน" ต้องพร้อมและสอดคล้องกับ "เหตุปัจจัยภายนอก" ที่เอื้ออำนวย

การใช้ระบอบเผด็จการ การใช้ ม.44 การกดหัวเหยียบย่ำประชาชนทุกรูปแบบ  พวกอำมาตย์ขัดแย้งกับพวกขุนศึก พ่อตายแม่เป็นบ้า ครอบครัวแตกแยก น้องจ้องแย่งเก้าอี้พี่ที่มัวเมาแต่อิสตรี การโกงกินคอรัปชั่นในทุกระดับ ปัญหาบ้านเมืองไม่มีใครแก้ไขไม่ว่าน้ำท่วม ฝนแล้ง  สภาวะผลผลิตการเกษตรราคาตกต่ำ สินค้าส่งออกไม่ได้ นักลงทุนหนีไปต่างประเทศ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของเหตุปัจจัยภายนอก ที่พวกเราผู้รักประชาธิปไตยและต้องการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมยังไม่มีอำนาจที่จะไปกำหนดควบคุมอะไรได้ แต่เหตุปัจจัยภายนอกเหล่านี้กำลังเป็นผลดีกับการเปลี่ยนระบอบ ถือเป็นโอกาสที่ดีของเรา

แม้กระนั้นโอกาสที่ดีเหล่านี้อาจจะผ่านเลยไป ถ้าเราไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพราะเหตุปัจจัยภายในไม่พร้อม
เช่น คนไม่พร้อม ยังไม่ได้จัดตั้ง ยังไม่รู้หลักการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคม ฯลฯ เราก็จะทำได้แค่วิพากษ์วิจารณ์  พวกมันก็ทำหูทวนลม ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน การเปลี่ยนระบอบก็ยังไม่เกิดขึ้น
ยิ่งเราช่วยกันทำให้เหตุปัจจัยภายในของเรามีความพร้อมมากขึ้นเท่าไร  ก็จะใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วได้มากขึ้นเท่านั้น ยิ่งการจัดตั้งเข้มแข็งขึ้น ขยายตัวมากขึ้นเท่าไร ก็จะสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ ที่มีพลังได้มากขึ้นเรื่อย ๆ
ดุลย์อำนาจของฝ่ายประชาธิปไตยจึงค่อย ๆ สะสมกำลังจนเอาชนะฝ่ายเผด็จการได้

ฉะนั้น ขณะที่ด้านหนึ่งเปิดโปงวิพากษ์วิจารณ์ระบอบเผด็จการราชาธิปไตยในด้านต่าง ๆ 
แต่อีกด้านหนึ่งที่ชี้ขาดชัยชนะจริง ๆ นั้นคือ "การจัดตั้งกำลังของประชาชนให้เข้มแข็ง"
เอาแต่เปิดโปงศัตรู แม้จะทำได้ง่าย  แต่ไม่ชนะหรอก
การจัดตั้งหรือจัดกำลังของเราให้พร้อมรบ (ทุกรูปแบบ) ต่างหากคือปัจจัยชี้ขาดชัยชนะ

เราอยู่ต่างที่ต่างถิ่นจะทำอะไรได้บ้าง

นักสู้ที่อยู่ต่างประเทศ เน้นบทบาทเปิดโปง ชี้ให้มวลชนเห็นเป้าของการปฏิวัติที่คนในประเทศถูกจำกัดด้วย 112 หามิตรต่างประเทศ ใช้ประโยชน์จากองค์กรระหว่างประเทศ ระดมปัจจัยต่าง ๆ หนุนช่วยภายในประเทศ

นักสู้ในประเทศเขตเมือง เน้นงานมวลชน จัดตั้งและขยายบทบาทผู้ใช้แรงงาน นักศึกษา นักวิชาการ งานสตรี แม่บ้าน  ผู้นำทางความคิด ฯลฯ เน้นต่อสู้ทางความคิด กระจายข้อมูล เตรียมงานเศรษฐกิจรองรับ เตรียมสถานที่ฝึกอบรม ประชุม การประสานงาน หนุนช่วยนักต่อสู้ในเขตยุทธศาสตร์อื่น ฯลฯ 

นักสู้ในชนบท เน้นงานมวลชน จัดตั้งเกษตรกร เยาวชน สตรี ฯลฯ ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารสู่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในหมู่นักสู้เสื้อแดงตาสว่าง เตรียมสถานที่ เตรียมอาหาร ที่พักพิง การประสานงาน ฯลฯ

นักสู้ในโลกไซเบอร์ เน้นการต่อสู้ทางด้านข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่วิธีคิด วิธีทำงาน เพื่อการเปลี่ยนระบอบ
 รวบรวม ประสาน เชื่อมร้อยนักสู้ทั้งในต่างประเทศ เขตเมืองและในชนบท ส่งต่อให้กับหน่วยงานด้านการจัดตั้ง 

นักรบทั้ง 4 เขตยุทธศาสตร์ ประสานเชื่อมร้อยด้วยระบบการจัดตั้งที่เข้มแข็ง ปิดลับ ไร้ร่องรอย มีตัวแทนประชุมหารือ กำหนดขั้นตอนจังหวะก้าว ตอบโต้ รุกรบ ฯลฯ อย่างเป็นรูปธรรม
ประสานกับองค์กรอื่น ๆ ให้เป็นแนวร่วมที่กว้างใหญ่และทรงพลัง รวบรวมมวลชนที่กระจัดกระจายให้กลายเป็นกองทัพอันเกรียงไกร (ไม่ได้หมายถึงกองทัพแบบพวกทะเหี้ยนะ  แนวรบเรื่องใช้ความรุนแรง คงละไว้ก่อน) ศัตรูที่ทำท่าขึงขังก็จะกลายเป็นเป็ดง่อย เป็นจำอวดหน้าม่าน ตัวสั่นงันงกอยู่กลางวงล้อมของกองทัพประชาชนที่พวกเขามองไม่เห็น หาไม่เจอ แต่สัมผัสได้ถึงพลังแห่งการเปลี่ยนระบอบที่เข้มแข็งดุดัน เกิดขึ้นที่โน่น ที่นี่ ที่นั่น ปะทะตอบโต้โจมตีพวกเขาทุกหนแห่ง ทุกรูปแบบ
 ทำลายแนวปิดกั้นของพวกเขาไม่ว่าข่าวสาร การสื่อสาร การจัดตั้ง การประสานงาน

เมื่อภาววิสัยเปลี่ยน
ศัตรูเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใช้บทกร้าวร้าวกดหัว ปราบปรามประชาชน
ประชาชนก็ต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ให้ทัน
ต้องปรับเหตุปัจจัยภายในของเราให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย

การแบ่งเขตยุทธศาสตร์ภาคประชาชนออกเป็น 4 เขตยุทธศาสตร์ เป็นหนึ่งในหลักการปรับตัวของเราที่สอดคล้องกับเหตุปัจจัยภายนอกที่เป็นจริง
เพราะเราไม่สามารถระดมมวลชนเป็นแสนเป็นล้านได้เหมือนช่วงรัฐบาลประชาธิปไตย การเลือกตั้งก็มิใช่คำตอบทางยุทธศาสตร์อีกแล้วภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับมีชัย หากยังเปลี่ยนระบอบไม่ได้ เลือกตั้งไปก็ไร้ประโยชน์

ตามหลักคิดแบบ 4 เขตยุทธศาสตร์นี้ จะเกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงขึ้นในแต่ละส่วน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ผู้นำเดิม ๆ ที่มีข้อจำกัดในการต่อสู้ในเมืองแบบเปิดเผยในอดีต 
แต่ถ้าอดีตผู้นำทั้งหลายพร้อมจะก้าวไปข้างหน้า มาร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประชาชน  ขบวนประชาชนก็ยินดีต้อนรับเสมอ ผู้นำที่เปิดเผยได้ ส่วนมากจะอยู่ในแนวรบต่างประเทศ  ส่วนผู้นำในเขตเมืองและชนบทต้องปิดลับอย่างเข้มงวด ทั้งตัวบุคคล องค์กรจัดตั้ง และงานการจัดตั้งที่เป็นรูปธรรม

ปัจจุบัน
ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการเปลี่ยนระบอบคือ
1. รวบรวมมวลชนคนก้าวหน้าตาสว่าง ผู้รักประชาธิปไตย เกลียดชังเผด็จการราชาธิปไตย ให้เป็นกลุ่มก้อน ด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่นการเปิดห้องต่าง ๆ ในไลน์ ก็เป็นตัวอย่างที่ดี
2. คัดกรองนักสู้ตัวจริง แยกแยะสปายสายลับที่ปลอมปนเข้ามาอย่างรัดกุม
3. สร้างหน่วยจัดตั้งขึ้นตามระดับความตื่นตัวทางการเมือง สร้างงานตามสภาพที่เป็นจริงด้วยความคิดรวมหมู่ของสมาชิกในหน่วยซึ่งมีจำนวน 3-9 คน ถ้ามากกว่านี้ต้องแยกหน่วยเพื่อความคล่องตัว

ในหน่วยจัดตั้ง ต้องมีประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ ขบคิด อภิปราย แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แล้วสรุปเป็นมติของที่ประชุม มอบหมายให้สมาชิกไปปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งอาจรับไปแค่ 1 คน 3 คน หรือทั้งหมดก็ได้ สุดแท้แต่ความเหมาะสม

มีวาระการพบปะเป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อสรุปสถานการณ์ ยกระดับความรับรู้ เชื่อมมิตรสัมพันธ์ สรุปงาน และกำหนดภารกิจใหม่ เป็นต้น

ในหน่วยต้องเลือกผู้ประสานงานหรือหัวหน้าหน่วยขึ้นไปประสานกับหน่วยอื่น ๆ  เน้นว่าเลือกนะ มิใช่ให้ใครตั้งขึ้นมา

หน่วยจัดตั้งลักษณะนี้ จะสื่อสารได้สองทาง มิใช่รับคำสั่งใคร ผู้ประสานงานหรือหัวหน้าหน่วยจะต้องเสียสละมากกว่า เหนื่อยมากกว่า ความรับผิดชอบสูงกว่า อันตรายมากกว่า ยิ่งมีหลายหน่วยก็ยิ่งหนักหน่อย
นี่เป็นภารกิจเพื่อการเปลี่ยนระบอบ ต้องอาศัยความเสียสละ ความกล้าหาญ ภาวะผู้นำ ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ ต้องดำเนินการด้วยความลับ เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกทุกคน มิใช่เพื่อความโก้เก๋ โอ้อวด หวังคะแนนเสียง ชื่อเสียงส่วนตัว ลาภยศสรรเสริญ
เพราะจะไม่มีใครรู้ว่าคุณหรือใครทำ คุณอาจจะถูกศัตรูทำลายเมื่อไหร่ก็ได้ และไม่มีใครจ้างคุณมาทำด้วย  
คุณจะเป็นนักสู้นิรนาม ที่ต่อสู้ด้วยอุดมการณ์และความเสียสละอย่างสูง เพื่อภารกิจทางประวัติศาสตร์ ที่มีความทรหดอดทนเป็นเลิศ ไม่ระย่อท้อถอย มีหัวใจที่มุ่งมั่น ฝังศพเพื่อน เช็ดคราบเลือดที่เกรอะกรัง แล้วก้าวต่อไปด้วยหัวใจที่ไม่แพ้ ไปสร้างความฝันให้เป็นจริง
โค่นล้มศัตรู เปลี่ยนระบอบ สร้างประชาธิปไตย สร้างประเทศที่ก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่
เพื่อลูกหลาน เพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติ และเพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง

ที่ประเทศเวียดนาม ตลอดเส้นทางที่นั่งรถไปเที่ยวเมืองฮอยอัน รถจะผ่านเมืองกวางตรี เมืองเว้ เมืองดานัง  สองข้างทางจะมีสุสานวีรชนนิรนามเต็มไปหมด  ถ้าเขาเหล่านั้นไม่กล้าต่อสู้ ไม่กล้าเสียสละ ไม่มีอุดมการณ์อันสูงส่ง คงจะไม่มีเวียดนามในวันนี้ และแน่นอนถ้ามองข้ามเข้าไปในประเทศจีน กว่าจะมีประเทศจีนในวันนี้ ก็ต้องผ่านช่วงประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด ที่วีรชนนิรนามจำนวนมากได้ยอมเสียสละชีวิต เลือดเนื้อ ความเหน็ดเหนื่อยแสนสาหัสเพื่อชาติบ้านเมืองมาก่อน

ประวัติศาสตร์ของประเทศเรากำลังมาถึงจุดนี้ จุดที่ศัตรูของประชาชนกำลังบ้าคลั่งและพังทลาย  จุดที่พวกเขากำลังเปลี่ยนหัวขบวน กลไกแขนขาก็จ้องโกงกินกอบโกยเพราะรู้ว่านาทีทองมีไม่นานนัก หรือไม่ก็เกียร์ว่างวางเฉย รอเจ้านายใหม่เผย ตัวให้ชัดเสียก่อน เป็นจุดอ่อนที่หาไม่ได้ง่าย ๆ
ยิ่งมีนายกฯ ตัวตลกหน้าม่านที่มือเปื้อนเลือด ยิ่งนำ ม.44 มาใช้เพื่อกดหัวปิดปากประชาชน
บอกได้เลยว่า โอกาสของการเปลี่ยนแปลงมาถึงแล้ว  เร่งศึกษา เร่งจัดตั้งกันเถิดพี่น้อง
จัดวางกำลังคนของเราให้พร้อมในเขตยุทธศาสตร์ทั้ง 4 
เชื่อมร้อยด้วยการจัดตั้งที่ปิดลับและเข้มแข็ง
ประสานกับองค์กรผู้รักประชาธิปไตยทั้งปวง แสวงหาความร่วมมือและใช้พลังทุกอย่างทั้งในประเทศและต่างประเทศ ใช้นักรบไซเบอร์เป็นกองกำลังเผยแพร่ ทั้งข้อมูลข่าวสารความคิดและสติปัญญาต่าง ๆ ไปสู่หน่วยงานจัดตั้งอื่น ๆ ทั้งในเมือง ในชนบท และต่างประเทศ

จับมือประสานกันให้มั่นคง สามัคคีกันสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชน

เอกภาพ ปทุม&team - 1123

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยแบบ'สหพันธรัฐ'จากปรากฏการณ์ 'ทรัมป์' โดย ดวงจำปา สเปนเซอร์ ไอเซนเบิร์ก



เช้านี้ ตั้งใจไว้ว่า จะเขียนบทความง่ายๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจกัน ในเรื่อง Electoral Votes และทำไมมันถึงไม่สามารถนำมาใช้กับเรื่อง Popular Votes ได้ในเวลานี้

ก่อนที่จะอ่านบทความ อย่างแรกคือ ท่านต้องทำคือ ต้อง “กำจัด” ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง “ประเทศ” (หรือ “รัฐเดี่ยว”) กับ “จังหวัด” ออกไป เพราะไม่อย่างนั้น ท่านจะ ไม่เข้าใจหลักการที่ใช้กัน

“สหรัฐอเมริกา” คือ “ประเทศ” ที่ประกอบไปด้วย “รัฐ” 50 รัฐ (States) บวกกับ อีก 6 ”เขตปกครองพิเศษ” (Territories) และ 1 ใน 6 ของเขตปกครองพิเศษ ชื่อว่า District of Columbia  ซึ่งมีเมืองอยู่เมืองเดียวคือ กรุงวอชิงตัน  และกรุงวอชิงตัน ก็เป็น เมืองหลวงของ “ประเทศ”  เราเรียกว่า ระดับ Federal  ประมุขฝ่ายบริหารของ “ประเทศ” เรียกว่า ประธานาธิบดี (President)

--------------------------------------------

** หมายเหตุ: ถ้าจะให้เขียนแบบลึกๆ นะคะ US มีเขตปกครองพิเศษ (Territories) อยู่ 6 แห่ง และแต่ละแห่ง มีตัวแทนหรือ Delegate ใน House of Representatives เช่นเดียวกัน  เชตละ 1 คน แต่ออกเสียงไม่ได้ เขตปกครองพิเศษนี้ คือ Washington, DC; Puerto Rico; U.S. Virgin Islands; Northern Mariana Islands; Guam และ American Samoa

----------------------------------------------

“รัฐ”แต่ละ”รัฐ” (State)  ต่างก็มี “เมืองหลวง” หรือ Capital City  มีรัฐธรรมนูญปกครองเป็นของตนเอง มีศาลสูงสุด สภานิติบัญญัติ วุฒิสภา ออกใบขับขี่ ออกอัตราภาษีเอง ทุกๆ อย่างใช้โครงสร้างเหมือนกันกับระดับ Federal เราเรียกว่า ระดับ State ซึ่งประมุขฝ่ายบริหารของ State เรียกว่า Governor หรือ ผู้ว่าการรัฐ  แถมยังมีกองกำลังปกป้องมาตุภูมิ เรียกว่า National Guards ซึ่งติดอาวุธเหมือนกับฝ่ายทหารอยู่ในทุกๆ รัฐ

----------------------------------------------

และลงไปตามเมืองใหญ่ ก็มีระบบแบบนี้เช่นกัน เรียกว่า ระดับ “Local” หรือท้องถิ่น  ประมุขฝ่ายบริหารของเมือง เรียกว่า Mayor หรือเป็นภาษาไทยเรียกว่า นายกเทศมนตรี มีศาล มีกฎหมายการปกครอง (Ordinances) เหมือนกับระดับใหญ่ๆ  มีสภาผู้แทนของเมือง ประชุมกันเหมือนระดับบนๆ การปกครองต่างๆ เป็นอิสระ ตัดสินใจเองได้

----------------------------------------------

กลับไปที่เรื่องของ Electoral Votes กัน

Electoral College ประกอบด้วยตัว Electors ทั้งหมด 538 คน ซึ่งมาจาก:

• 435  Congressional Districts (รัฐทุกรัฐรวมกัน มี เขตผู้แทนฯ อยู่ทั้งหมด 435 เชต ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้แทนทั้งหมดใน สภาล่าง หรือ House of Representatives)  บางรัฐก็มี เขต Congressional ตั้งแต่ หนึ่ง ไปจนถึงหลายสิบ  แต่ละเขตก็มี ผู้แทน หรือ เทียบได้กับ สส ในระบบของรัฐสภา หรือ Parliamentary System นั่นแหละ  เพราะฉะนั้น ทุกๆ รัฐรวมกัน ก็มีจำนวน 435 เขต

• 100 Senates รัฐแต่ละรัฐ จะได้รับการปันส่วนจำนวนวุฒิสมาชิก รัฐละ 2 คน โดยไม่จำเป็นว่า จะเป็นรัฐใหญ่หรือเล็ก  50 รัฐ คูณ 2 ก็เท่ากับ 100 คน

• 435 + 100 = 535  และอีก 3 เพื่อที่จะทำให้เป็น 538  ก็คือ 3  เสียงจากเขตปกครองพิเศษของ Washington, DC นั่นเอง

----------------------------------------------

ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน Washington, DC ไม่มีตัวแทนของตนเองในทั้งสองสภา คือ House of Representatives และ ในสภา Senate (มีแต่ตัวแทนหรือ Delegate ซึ่งเข้าประชุมในสภาได้ แต่ไม่สามารถมีสิทธิ์ออกเสียงได้)  ดังนั้น เราจึงเห็นป้ายบ่อยครั้งที่นั่นว่า ประชาชนเสียภาษี แต่ไม่มีตัวแทนของตนในสภานิติบัญญัติเลย  (Taxation without Representation)

----------------------------------------------

ตามหลักการของ Electoral Votes จะใช้การนับที่นั่งของ House of Representatives บวกกับ Senate ซึ่งมีดังนี้:

1. รัฐแต่ละรัฐ จะได้รับ ที่นั่ง จาก Senate 2 ที่ และได้รับ  1 ที่ใน House of Representatives โดยอัตโนมัติ  ดังนั้น จำนวนของ ที่นั่ง ที่ได้รับ "โดยอัตโนมัติ" ทั้งหมด คือ 100 + 50  เท่ากับ 150

คำว่า "อัตโนมัตินี้" ไม่จำเป็นว่า ประชากรจะมีอยู๋เท่าไรภายในรัฐ  จะเป็นหกแสน หรือ หกล้าน ก็ได้ที่นั่งเท่ากัน

2. ตัวแทนในเขต Washington, DC ไม่มีสิทธิ์มีเสียงในสภา (แต่สามารถได้รับ 3  Electors อย่าง โดยเสมอไป   150+3  = 153

3. ที่เหลือคือ 538-153  เท่ากับ 385  ที่นั่ง

4. 385 ที่นั่งที่เหลือนี้ จะต้องมาทำการจัดสรรปันส่วน หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า apportionment

5. ทุกๆ 10 ปี  จะมีการสำรวจสำมะโนประชากร หรือ Population Census กัน  ตัวเลขของประชากรในแต่ละรัฐ จะถูกนำมาใช้ในการคำนวณ การแบ่งสันปันส่วนที่นั่งที่เหลืออยู่นี้ว่า จะลงตัวกันอย่างไร

(การสำรวจสำมะโนประชากรใน US ไม่คำนึงถึงเรื่อง สถานะหรือสัญชาติของผู้อยู่อาศัย หลักการคือ จะต้องนับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่อย่างถูกหรือผิดกฎหมาย และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ในการจัดสัดส่วนประชากร)

6. อย่าลืมว่า การจัดสรรปันส่วนนี้ ไม่ได้อยู่เพียงแต่จำนวนประชากรว่า สส หนึ่งคน ต้องมีประชากรเท่าไร  เนื่องจากเรากำลังกล่าวถึงระดับ Federal  ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการคำนวณเรื่องรัฐที่มีคนน้อย กับ รัฐที่มีคนน้อยกว่า เพื่อที่จะทำการแบ่งสันปันส่วนกันอย่างไรด้วย

(ถ้าเราคิดแบบของไทย มันจะเป็นตัวเลขที่เห็นง่าย เพราะไทยเป็น “รัฐเดี่ยว”)  เมื่อแต่ละรัฐ มีการปกครองภายในแตกต่างกัน จะมาระบุจำนวน Representatives เท่ากับประชากรเท่าไรนั้น มันเป็นไปไม่ได้ เพราะถือว่า อำนาจอธิปไตย มีอยู่กับรัฐทุกๆ รัฐ  จึงต้อง "คิด" แบบระดับ "Federal"

7. การดำเนินการปันส่วน  (Apportionment) จาก 385 ที่นั่ง จะเริ่มจากรัฐที่มีประชากรมากที่สุดก่อน คือ California จากนั้นก็ไปที่ Texas, New York เรื่อยไปตามลำดับ  วิธีการนี้เรียกว่า ระบบ  Huntington-Hill Method  ซึ่งท่านสามารถไปอ่านเพิ่มความรู้เองได้ที่ลิงค์ข้างล่าง คอมเม้นท์ที่ 1

8. การแบ่งสันปันส่วนที่นั่ง จะต้องเป็นตัวเลขสมบูรณ์ โดยไม่มีจุดทศนิยม

9. ใช้หลักการคำนวณการจัดสรรปันส่วนแล้ว เราจะเห็นจำนวนที่นั่งที่เหลือทั้ง 385 ที่นั่ง ใน House of Representatives ว่าถูกแบ่งออกไปเท่าไร  และจะไปลงที่รัฐใดบ้าง จากลิงค์ข้างล่าง คอมเม้นท์ที่ 2)  

10. ทุกๆ 10 ปี รัฐบางรัฐจะได้ที่นั่งเพิ่ม  และ บางรัฐจะได้ที่นั่งลดลง ในเขต Congressional Districts ของตนเอง เพราะประชากรในรัฐของตน อาจจะเพิ่มขึ้น หรือ น้อยลง เรื่องขึ้นอยู่กับการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุด  จากลิ้งค์นี้ เราจะเห็นว่า รัฐไหน ได้ที่นั่งใน House of Representatives เพิ่มขึ้นเท่าไร และรัฐไหน ถูกลดที่นั่งออกไป  จำนวนที่นั่งเพิ่ม กับจำนวนที่นั่งที่สูญไป จะต้องเป็นตัวเลขเท่ากัน

(ดูลิ้งค์ข้างล่าง คอมเม้นท์ที่ 3)

----------------------------------------------

เพราะฉะนั้น รัฐที่มี Electors 3 คน อย่างเช่น Wyoming (586,107);  Montana (1,032,949), North Dakota (756,927), South Dakota (858,469);  Delaware (945,934), Washington – DC (672,228);  Vermont (626,042) และ Alaska (738,432)  เราก็เห็นแล้วว่า แต่ละรัฐล้วนมีประชากรต่างกันพอสมควร แต่จำนวน Electors มีเท่ากัน คือรัฐละ 3 คน

ถ้าจะให้เทียบว่า ประชากรต้องเฉลี่ยเท่าไรต่อหนึ่งที่นั่งใน House of Representatives ก็เทียบได้อย่างเช่น California ก็ตกประมาณ 738,581 คน  แต่รัฐ Montana หนึ่งที่นั่งต้องใช้ประชากร 1,032,949 คน

รัฐ Wyoming ต้องใช้ประชากรเฉลี่ย 586,107ต่อหนึ่งที่นั่ง ในขณะที่รัฐ Montana ใช้ประชากรต่างกันกับหนึ่งเท่าตัว แต่ก็มี Elector เท่ากัน คือ 3 คน  ต่างกันมากใช่ไหม? แต่เพราะนี่คือ concepts ของ “Federal Level” แล้ว

ยิ่งรัฐใหญ่เท่าไร จะได้เปรียบในจำนวนของ Electors  เพราะมันมีสัดส่วนและความสัมพันธ์กันกับ Popular Votes ด้วย

ค่าเฉลี่ยต่อประชากร ถ้าใช้จำนวนทั้ง 50 รัฐ ก็ตกประมาณ  737,348 คน   ซึ่งรัฐเล็กๆ อย่าง Wyoming มีไม่ถึงแน่นอน

----------------------------------------------

เพราะฉะนั้น เมื่อมีการเลือกตั้งใหญ่เกิดขึ้น  รัฐแต่ละรัฐ จะมาใช้ Popular Votes กับ เรื่องที่เกิดขึ้นภายในรัฐตนเอง อย่างเช่น การเลือก Governor, Senator, House of Representatives เนื่องจาก เสียงส่วนใหญ่จะเป็นตัวตัดสินภายในรัฐตนเองทุกอย่าง

แต่เมื่อเลื่อนระดับขึ้นไปสู่ Federal Level แล้ว  รัฐเล็กๆ อย่าง Wyoming จะเสียเปรียบรัฐใหญ่อย่าง California หรือ Texas มาก ถ้าใช้หลักการของ Popular votes

ดังนั้น การใช้ Electors 3 เสียง ให้กับผู้ชนะคะแนนภายในรัฐ ก็ถือว่า Fair พอสมควรทีเดียว เพราะคะแนนของ Electors จะต้องไปรวมกันใน Electoral College ว่า เมื่อไรจะถึงครึ่งหนึ่ง (นั่นก็คือ Popular votes ภายใน Electoral College อีกครั้งหนึ่ง และ เกินครึ่งก็คือ 270 เสียง)

----------------------------------------------

ภายใน 100 ปีที่ผ่านมา มีการเสนอวิธีการแบบใหม่ในการใช้นับคะแนน เพื่อเลือกตัวประธานาธิบดีอย่างที่ทำอยู่นี้กัน หลายร้อยวิธีการ  แต่เพราะว่า ความแตกต่างของแต่ละรัฐ มันทำให้การคำนวณ ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และรวมกับเป็นที่ยอมรับของประชาชนด้วย หลักการของ Electoral College จึงยังคงอยู่ เพราะเป็นเรื่องที่ “เกือบแฟร์” ที่สุดแล้ว

เพื่อนๆ ที่เก่งเรื่องสถิติการคำนวณ น่าจะเสนอวิธีการที่คิดว่า แฟร์ที่สุดแล้วด้วย ในการเลือกผู้นำของประเทศจากหลายๆ รัฐ บางที ถ้าหลักการดี มีคนสนับสนุน ท่านก็อาจจะได้รับการบันทึกประวัติดีเด่นที่นี่ได้ด้วย

----------------------------------------------

ก่อนจะจบ ก็ขอเล่าให้ฟังเรื่องๆ หนึ่ง:

เมื่อ 16 ปีมาแล้ว คือ ครั้งที่ Al Gore ซึ่งเป็นตัวแทนของพรรค Democrats แพ้การเลือกตั้งให้กับ George W. Bush เมื่อปี 2000 ทั้งๆ ที่ Popular votes ของ Al Gore มากกว่า George W. Bush เกือบครึ่งล้านเสียงก็ตาม

วุฒิสมาชิกใหม่เอี่ยมของรัฐ New York (Junior Senator) จาก พรรค Democrats โมโหในเรื่องนี้มากๆ และให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อถึงวาระการเปิดสมัยประชุมครั้งต่อไป จะเป็นผู้เสนอกฎหมายเรื่องนี้เข้าไปด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการนับคะแนนโหวต จาก Electoral Votes มาเป็น Popular votes ให้หมด

ในเวลานั้น มีคนเห็นชอบด้วยเป็นจำนวนมากที่ต้องการให้วิธีนี้เกิดขึ้น  แต่เมื่อสภาเปิดไปแล้ว ตัววุฒิสมาชิกท่านนี้ ก็ไม่ได้ดำเนินเรื่องนี้ต่อแต่อย่างใด  มันก็เลยเริ่มค่อยๆ จางหายไปจากกระแสข่าว และสุดท้าย ก็กลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งไปในเวลาต่อมา

ลืมบอกไปว่า วุฒิสมาชิกผู้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเสนอเรื่องการนับคะแนนด้วยการเปลี่ยน Electoral Votes ให้กลายเป็น Popular Votes ในเวลานั้น ชื่อ่ ฮิลลารี่ คลินตั้น

Happy Weekend ค่ะ

Doungchampa Spencer-Isenberg

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ขณะอเมริกาลุ้นเลือกตั้งแต่ไทยคลั่งเจ้าไม่ต้องรอลุ้น:ชมคลิปข่าวบ่งบอกสังคมงี่เง่าจากข่าวตาสว่างทางไกล


ปั่นข่าวจนชาวบ้านคลั่ง ส่วนลูกเจ้านั่งเครื่องไปเที่ยวสบายใจไม่มาคลั่งด้วย:น่าสงสารคนไทยที่ตั้งใจเป็นขี้ข้า

1.คนไทยถูกคำสั่งให้ไว้ทุกข์,กิจการสนุกรื่นเริงให้งด,ธุรกิจการค้าก็ซบเซา,แต่ดอกเบี้ยธนาคารไม่ได้ไว้ทุกข์ด้วยมันยังตามติดทุกวันไม่สนใจว่าในหลวงจะตายหรือไม่ตาย,ใครไม่ใช่ชุดดำ,ไม่เศร้าโศรกด้วยก็ถูกม๊อบบ้าคลั่งเล่นงานโดยรมว.ยุติธรรมหนุนหลังการให้พวกคลั่งเจ้าทำร้ายร่างกายคนที่นิ่งเฉยต่อการไว้ทุกข์โดยอ้างว่า"ถูกต้องและเป็นมาตรการทางสังคม" แต่ลองหันมาดูลูกในใส้ของเขากลับไม่มีใครเศร้าใจเห็นแต่ยิ้มแย้มสลับกันไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจสบายๆในต่างประเทศ,ตามภาพล่าสุดฟ้าหญิงอุบลรัตน์เสด็จเมืองแซนตามอนิกามลรัฐแคลิฟอเนีย,สหรัฐอเมริกา,ไพร่ฟ้าแอบถ่ายภาพนี้จากระยะไกลขณะทรงพระสำราญที่นครลองแองเจลีส,ศูนย์การค้าย่านมหาเศรษฐี Beverly Hill เมื่อ31ตุลา59


เสด็จต่างประเทศกันหลายพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ แต่ประชาชนต้องแสดงอาการโศรกเศร้าในลักษณะเหมือข้าทาสสมัยโบราณก่อนร.5ประกาศเลิกทาส,น่าสงสารคนไทยบางคนที่อยากแสดงตัวเป็นทาสและใช้อำนาจบังคับคนอื่นให้แสดงตัวเป็นทาสเหมือนตน




2)เรื่องจริงคลั่งถึงขนาดอยู่บนเครื่องบินกัปตันประกาศให้นั่งรัดเข็มขัดเพราะกำลังผ่านเขตที่อากาศแปรปรวน,ก็มีพวกคลั่งเจ้าลุกขึ้นมาเชิญชวนให้ผู้โดยสารร้องเพลงข่าววอฯเพื่อสรรเสริญกษัตริย์ซึ่งสร้างความกระอักกระอ่วนใจให้แก่พนักงานและผู้โดยสารบนเครื่อง,ตามภาพและคลิปนี้เป็นสายการบินนกแอร์เที่ยวบินกรุงเทพยะลา






3)สื่อนอกอัลจาซีร่าทำสกู๊ฟข่าวประจานไทยทั่วโลก"ระบอบกษัตริย์ไทยใช้กองกำลังบังคับให้ประชาชนรัก"...(ถ้าอัลจาซีลาเห็นข่าวประชาชนถูกปลุกให้บ้าคลั่งแต่ลูกหลานเจ้าแอบนั่งเครื่องบินไปเที่ยวต่างประเทศ ข้างต้นคงรู้สึกว่าข่าวพวกคลั่งเจ้าที่ตั้งใจอยากเป็นข้าทาสในเมืองไทยมีมากเหลือเกิน,ต้องบินกลับมาทำข่าวใหม่แน่ๆ)



อยู่ไทยตามไปดูFOXสดๆเลย

FOX Live Coverage of 2016 Presidential Election 



วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รวมภาพขบวนการทหารตอแหลช่วยชาวนา,งบช่วยชาวนาถูกนำไปใช้ซื้ออาวุธและจัดงานพระบรมศพ



จากภาวะวิกฤตราคาข้าวตกต่ำในประเทศไทยได้ทำให้เกษตรกรไทยได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากซึ่งเป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลเผด็จการทหารที่รับแนวพระราชดำริจากพระมหากษัตริย์ไทยเรื่อง"เศรษฐกิจพอเพียง"ไปเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ และสอดคล้องกับผลประโยชน์กองทัพไทยที่ได้ตัดงบประมาณความช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการพยุงราคาผลผลิตที่จำนวนปีหนึ่งไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาทโดยนำเงินงบประมาณส่วนนี้ไปเป็นงบประมาณทางทหารในการทำสัญญาซื้ออาวุธรอบใหม่และสนับสนุนการใช้จ่ายในราชสำนักรวมถึงนำไปใช้เป็นงบประมาณส่วนกลางของสำนักนายกฯและพลเอกประยุทธ์มีอำนาจลงนามนำไปใช้ในงานพระราชพิธีพระบรมศพด้วย จึงส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำทุกชนิด

จากความความเดือดร้อนเรื่องราคาข้าวตกต่ำอย่างมากติดต่อกันมา2ปีกว่าชาวนาจึงยากจนมากขึ้นก่อให้เกิดแรงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารมากขึ้น และถูกพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงข้ามเผด็จการทหารโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ตอบโต้ด้วยการลงไปดูแลช่วยเหลือชาวนา ทำให้พลเอกประยุทธ์  นายกรัฐมนตรี หมดปัญญาที่จะแก้ไขจึงสั่งการให้กองทัพภาคต่างๆออกไปช่วยเหลือชาวนาโดยใช้แนวปฏิบัติการทางจิตวิทยา เช่นให้ทหารทั้งชายและหญิงแต่งตัวเต็มยศลงไปในนาทำการไปเกี่ยวข้าวด้วยมือแล้วถ่ายรูป ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักในสื่อโซเชียลเพราะทุกวันนี้ชาวนาทั้งหมดเก็บเกี่ยวพืชผลด้วยเครื่องจักรทั้งหมดแล้ว และทหารหญิงบางคนก็ใส่กระโปรงสั้นลงนาทำท่าเหมือนประกวดนางงามซึ่งทำให้ต้นข้าวแยงเข้าไปในกระโปรงเกิดอาการแพ้และระคายเคืองที่ผิวหนังมาก
การปฏิบัติการจิตวิทยานี้กระทำไปเพื่อให้ชาวนาลดความเกลียดชังรัฐบาลเผด็จการทหารเพราะเงินงบประมาณจำนวนมากถูกนำไปใช้จ่ายทางการทหารและในราชสำนักหมดแล้ว









แค้นฝังใจในศิริราช,คณบดีไล่ออกหมอในคณะร่วมถวายรักษาร.9


ตามข่าวที่ได้เคยเสนอไปแล้วว่าการถวายการรักษากษัตริย์ไทยในศิริราชที่มีเวลายาวนานเกือบ10ปีได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในคณะแพทย์และปะทุออกท่ีหมอนิพนธ์ พวงวรินทร์ ตามข่าวที่เคยรายงานไปแล้วนั้น ปรากฏว่า เหตุการณ์ยังไม่ยุติและล่าสุดได้มีมติการประชุมคณะแพทย์ศาสตร์ให้ไล่ออกหมอนิพนธ์ หลักฐานตามเอกสารนี้ และเป็นที่น่าสังเกตุว่าเหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในข่าวเกี่ยวกับการตายของรัชกาลที่9ที่สื่อสิ่งพิมพ์และสำนักข่าวต่างๆในประเทศไทยไม่กล้าลงข่าว


(กดดูตามลิ้งค์)ความขัดแย้งในรพ.ศิริราช,ปะทุที่หมอนิพนธ์ (คลิป)

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชมคลิปประวัติศาสตร์ในยุคเผด็จการไทยปลายรัชกาลที่9กับต้นรัชกาลที่10


พี่น้องผู้รักประชาธิปไตยมีจิตใจเทอดทูนเสรีภาพถึงที่สุดไม่ยอมก้มหัวให้แก่อำนาจเผด็จการ พวกเขาได้แสดงการขัดขืนอำนาจเผด็จการทุกรูปแบบน่านับถือน้ำใจจริงๆ ดูคลิปงานกฐินในภาวะที่ถูกบังคับให้ใส่เสื้อดำแล้วผู้รักประชาธิปไตยต้องตบมือให้...และคลิปนี้ต้องถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของประชาชนและประดับไว้ในหอเกียรติยศของประชาชนในอนาคตอย่างแน่นอน


วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ความขัดแย้งในรพ.ศิริราช,ปะทุที่หมอนิพนธ์ (คลิป)


คนในโรงพยาบาลศิริราชกำลังวุ่นวายกับเรื่องของนายแพทย์นิพนธ์ ที่ถูกรอง คณบดี คณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดล คนรุ่นหลังกำลังทำให้เป็นเรื่องใหญ่ต่อกรณีที่หมอนิพนธ์ออกคลิปโชว์ความภูมิใจที่ตนได้เป็นแพทย์ผู้ถวายการรักษาการประชวรของในหลวง,โดยนำเรื่องพระอาการก่อนในหลวงสิ้นพระชนม์ไปเล่าที่วัดแห่งหนึ่งอย่างละเอียดยิบตั้งแต่ประชวรจนถึงสิ้นลม
 พอคลิปออกมาพวกหมอในศิริราชที่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันอยู่แล้วก็เสนอหน้าไปทูลฟ้องสมเด็จพระเทพฯซึ่งเป็นเรื่องปกติประจำวันของผู้คนในวังที่มีแต่เรื่องฟ้องเอาหน้ากันทั้งวัน,พอได้ยินพระเทพฯก็เกิดพระอารมณ์ขึ้นทรงกริ้วมาก,เพราะท่านเป็นคนจัดการเรื่องพระการประชวรของในหลวงทั้งหมดและทรงกำชับแล้วเรื่องการปิดข่าวพระอาการรวมถึงการสวรรคต
 ขบวนการเพ็ดทูลเสนอหน้าของเหล่าหมอพญาบาลที่ไม่ชอบขี้หน้าหมอนิพนธ์และแก่งแย่งตำแหน่งคนใกล้ชิดกันครั้งนี้เล่นเอาหมอนิพนธ์ทรุดเพราะก่อนหน้านี้ก็เคยเว่อเรื่องเค็กวันเกิดหมา"คุณทองแดง"มาแล้ว,มาคราวนี้หมอนิพนธ์ถูกเรียกร้องให้ต้องแสดงความรับผิดชอบที่เล่าเรื่องวันสวรรคต แต่หมอนิพนธ์ก็ว่าอ้างมีคนอัดเทปไปออกสื่อเองโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัวเลยและก็ไม่ได้เป็นคนปล่อยคลิปแต่พระเทพฯก็ยังทรงกริ้วไม่หาย,จะเอากฎหมาย112มาจัดการก็จะโด่งดังกลายเป็นคนใกล้ชิดต้องถูก112แบบหมอหยอง
 หมอนิพนธ์ได้โพสต์บอกชาวบ้านถึงบทเรียนการรับใช้เจ้ามีแต่อันตรายว่า"เป็นบทเรียนราคาแพงมากในชีวิตของหมอที่เข้ามาถวายงานมาด้วยความจงรักภักดีแต่ต้องมาเจอปัญหานี้ทั้งๆที่น่าจะไม่มีปัญหา"
 ทางด้านรองคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับบทเสริมพระอารมณ์พระเทพโดยตัดสินใจตัดชื่อนายแพทย์นิพนธ์ออกจากรายชื่อผู้ที่จะไปร่วมพิธีพระบรมศพครบ15วันในคืนวันที่27ตุลาคม2559

หมอนิพนธ์ทราบเรื่องก็เจ็บปวดมากจนต้องออกมาคร่ำครวญโพสท์อีกครั้งว่า"เสียใจมากที่มีคนอัดคลิปคำพูดตนออกมาเล่าคงมีเจตนาร้ายกับตนแน่"
แต่ฝ่ายที่ไม่ชอบหมอนิพนธ์ก็บอกว่า"มีคนที่อยู่ในเหตุการณ์บอกว่าหมอนิพนธ์เองนั่นแหละสั่งให้ลูกน้องเป็นคนอัดเทปเอง
 ผู้ชมเหตุการณ์นี้ในโรงพยาบาลศิริราชบอกว่าไม่รู้จะเชื่อใครดี?
 แต่ที่แน่ๆคือหมอนิพนธ์คือตัวอย่างที่ดีของการรับใช้ใกล้ชิดในวัง,เมื่อเกิดเหตุทำให้เจ้านายไม่ชอบก็กลายเป็นหมาหัวเน่าทันทีและไม่มีใครกล้ามาช่วย มี่แต่ซ้ำเติม คนที่เคยชอบกันก็หันหลังให้

ก่อนจบข่าวก็ขอฝากบอกผู้คลั่งเจ้าทั้งหลายที่อยากเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไปเป็นบทเรียนแต่ถ้ายังชอบก็รีบๆไปสมัครเป็นผู้รับใช้ในวังเลยจะได้เรู้ว่า"นรกมีจริง"
-------------------------




วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ข่าวหลายวงดนตรีประกาศขายกิจการ


วงดนตรีและเครื่องเสียงเจ๊งทั่วหน้าไม่เห็นอนาคตหลังจากพ่อหลวงตายจึงประกาศขายกิจการ,เพราะตอนท่านอยู่ก็ทำรัฐประหารพอท่านตายงานก็ยิ่งไม่มีเพราะห้ามเล่นดนตรีรื่นเริงกันอีกเป็นปี หลังจากพ่อหลวงแล้วก็คงมีแม่หลวงลูกหลวงตายตามอีกแน่ ที่แน่ๆชาวบ้านตายแน่ ประกาศขายกิจการกันดีกว่าพวกเรา









วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ศ. ศิวรักษ์เขียนถึงธานินทร์กรัยวิเชียร มีวันนี้เพราะเป็นหมอดู


คนคงไม่รู้ว่า ธานินทร์ กรัยวิเชียร เขาเป็นหมอดู เขาคงดูว่าตัวเขาจะได้เป็นประธานองคมนตรี เพราะถ้าไม่ใช่หมอดูแล้ว ตำแหน่งนี้ไม่เหมาะสมกับเขาด้วยประการทั้งปวง  เมื่อเขาเป็นนายกรัฐมนตรีหลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

เขาก็ปกครองบ้านเมืองอย่างเลวร้ายที่สุด ทั้งๆ ที่อ้างว่าตัวเขาเองเปรียบเหมือนหอยที่อยู่ในกระดอง คือมีกองทัพเป็นกระดอง  แต่แล้วกองทัพก็ทนเขาไม่ได้ จนถูกถอดออกจากตำแหน่ง  

พระเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตาจะตั้งให้เขาเป็นองคมนตรี  คุณชายคึกฤทธิ์ ปราโมช ไปหาอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ขอให้กราบบังคมทูลยับยั้งอย่าตั้งธานินทร์ เพราะคนๆ นี้ไพร่บ้านพลเมืองเกลียดชังกันเป็นอย่างยิ่ง  ถ้าเขาได้เป็นองคมนตรี จะเสียหายไปถึงองค์พระมหากษัตริย์  อาจารย์สัญญาบอกคุณชายคึกฤทธิ์ว่า ให้คุณชายทำหนังสือกราบบังคมทูลคัดค้านการตั้งแต่ธานินทร์ให้เป็นองคมนตรี  เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเรื่องนี้มาหารือในคณะองคมนตรี  อาจารย์สัญญาจะสนับสนุนข้อเสนอแนะของคุณชายคึกฤทธิ์

แต่ที่ไหนได้ พอทรงรับหนังสือของคุณชายคึกฤทธิ์ก็โปรดเกล้าฯให้ธานินทร์เป็นองคมนตรีเลยทีเดียว  แม้ว่านั่นจะกระทบจิตใจของคนไทยที่รักอิสระ เสรีภาพ และรักประชาธิปไตย เพียงใดก็ตาม

บัดนี้ เปลี่ยนแผ่นดินไปแล้ว ยังยกย่องคนอย่างธานินทร์ กรัยวิเชียร กันอีก  แสดงว่าชนชั้นปกครองของไทย ไม่มีจิตสำนึกถึงราษฎรไทยที่ถูกปู้ยี้ปู้ย้ำมาเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ทั้งนั้นเลย  แล้วเราจะไปหวังอย่างไรได้กับพวก คสช. ที่จะถางทางให้เกิดเสรีประชาธิปไตยได้อย่างจริงจังในบ้านนี้เมืองนี้

ส. ศิวรักษ์
๒๑/๑๐/๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ข่าวลับ ข่าวลับกรองแล้ว 13ตุลาคม 2559 "ปู่เย็นตายล่วงหน้าแต่จะประกาศว่าตายจริง23 ตุลานี้"



***สืบความลับจับมาตีแผ่เผยแพร่เป็นประจำในขบวนการประชาธิปไตยไทยในสแกนดิเนียเวียโดยกลุ่มเสียงประชาชนไทย(สปท.)  http://thaiscandemo.blogspot.com/

*ปู่โรงเย็นมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่จะให้ตายง่ายๆไม่ได้เพราะลูกหลานและขุนทหารยังจะต้องใช้ร่างและพระบารมีใส่สีตีไข่สืบต่ออำนาจเผด็จการอีกนานจึงเตรียมจัดการกำหนดวันตายให้ยิ่งใหญ่โดยอาศัยวันตายเสด็จปู่ร.5มหาราชมาใช้ให้ตรงกันคือจะประกาศวันตายเป็นทางการ23 ตุลา 59

*ใครจะซื้อหวยให้ตรงกับวันตายจริงยิ่งจะยุ่งเพราะถ้านับวันตายทางสมองที่เริ่มหมดสภาพนอนนิ่งเป็นมาตั้งแต่เดือนสิงหาปีนี้แต่ทางการแพทย์ที่ถือว่าตายคือสมองตาย100%เป็นวันที่9กันยา59,ข่าวภายในหลุดรอดออกมาตลาดหุ้นไทยจึงตกรูดมหาราชในเช้าวันนั้นและหลังจากนั้นเสี่ยก็ใช้การตายทางสมองจัดการยกเครื่องวังครั้งใหญ่มาตลอดจนถึงเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารวังที่เรียกว่าชุด"คณะปฏิวัติวัง"จากเดิมมี49คนแต่เสี่ยจับมือปู่เซนต์ตั้งใหม่ให้เหลือ9คนโดยมีชื่อจิรายุเป็นเลขาธิการเมื่อ23กันยา59

*หลายคนงงกับข่าวกรองที่ว่าเสี่ยไม่ชอบขี้หน้าจิรายุแล้วทำไมจึงให้มานั่งเป็นเลขาธิการใหญ่ในวังควบกับผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ถือเป็นกองมหาสมบัติที่ทั้งเสี่ยและน้องเทพถ่างพร้อมบริวารถือเป็นเป้าหมายการช่วงชิง...สายข่าวรายงานมานานแล้วว่าเสี่ยกำลังทำพิธีปลดจิรายุแบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่กระเพิ่ม...แล้วสุดท้ายก็เป็นจริงตามข่าวลับเมื่อวันที่10ตุลาหลังวันที่ปู่โรงเย็นช็อคหัวใจหยุดเต้นเพียงวันเดียวจิรายุก็มีหนังสือลาพักถาวรจากตำแหน่ง ผอ.สำนักงานทรัพย์สินฯ

*หนังสือลาพักงานของจิรายุพิมพ์อย่างประหยัดกระดาษโดยใช้กระดาษA4เพียงครึ่งแผ่นด้วยข้อความสั้นๆขอลาพักงานตั้งแต่วันที่10ตุลาแต่ดันไม่บอกว่าจะกลับมาทำงานเมื่อไร?แล้วก็มอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการทำแทน...ผู้สันทัดกรณีวิเคราะห์ว่าที่ต้องทำแบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่กระเพิ่มไม่เหมือนกับกรณีของสายสกุลวัชโรทัยที่สั่งปลดและให้เข้าฝึกทหารตัดหัวเกรียนนั้นเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเงินๆทองๆเพราะถ้าทำตึงตังเดี๋ยวจะเบิกสตางค์ใช้ไม่ได้...แค่ทำเป็นหนังสือลาออกก็วุ่นแล้วเพราะ9ตุลาหมอดันเขียนแถลงการพระอาการว่าปู่โรงเย็นต้องหยุดงานลงนามอะไรไม่ได้แล้ว,ถ้าปล่อยให้เกิดน้ำกระเพิ่มเกิดจิรายุเซนต์ลาออกตรงไปตรงมาเห็นท่าจะยุ่งเพราะจะจับมือปู่เซนต์แต่งตั้งใครให้เป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินคนใหม่ก็ไม่ได้,จะต้องรอเสี่ยขึ้นเป็นกษัตริย์เองแล้วเซนต์แต่งตั้งก็ยังไม่รู้จะเป็นได้เมื่อไร,แม้จะเห็นตำแหน่งไม่ไกลแต่ยังมีอุปสรรคอีกหลายขุมโดยเฉพาะชุมนุมโจรสี่เสาที่เฝ้าดักปล้นอยู่

*คณะกรรมการวัง9คนที่เสี่ยรีบแต่งตั้งในนามของปู่โรงเย็นโดยใช้ตราลายเซ็นต์ปู่ประทับนั้นใครเห็นก็เป็นที่รูกันว่าเป็นคณะปฏิวัติวังที่มีหัวหน้าคณะคือพลอากาศเอกสถิตย์พงษ์ สุขวิมล รองเลขาธิการพระราชวังเป็นหัวหน้าคณะตัวจริงทำการแทนเสี่ย และเลขาธิการคณะปฏิวัติวังคือพลตำรวจเอก จุมพล มั่นหมาย เพื่อนเลิฟเสี่ยโดยมอบหมายหน้าที่ฝ่ายคุมกำลังและอาวุธซึ่งตามประวัติศาสตร์ไม่เคยมีตำแหน่งนี้เลย  คือ"รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายความมั่นคง"

*คณะนี้ละที่จะเข้ามาจัดการปูทางให้เสี่ยขึ้นเป็นรัชกาลที่10ให้ราบรื่นโดยต้องประสานงานทั้งบู้ทั้งบุ้นลุ้นกันต่อไป

*อีกตำแหน่งที่สำคัญคือแพทย์ประจำพระองค์ปู่โรงเย็นคือนายแพทย์สงคราม ทรัพย์เจริญ ซึ่งถ้าใครรู้ประวัติก็จะไม่กล้าให้รักษาเพราะมีอายุ89ปีแก่กว่าคนไข้ที่นอนนิ่งอยู่ที่ศิริราชที่จะต้องมาดูแลเสียอีก...ปู่โรงเย็นถูกจับมือเซ็นต์ตั้งมาเพียงเพื่อให้ช่วยเซนต์ชื่อบอกคนไทยทีว่า"ปู่ตายแล้ว"เพราะเวลาปู่ตายไม่มีหมอคนใหนกล้าเซนต์ชื่อเพราะกลัวลูกหลงเหลืองคลั่งเจ้าจะกล่าวหาว่าทำให้ปู่ตายเพราะคณะแพทย์ถูกบังคับให้รายงานว่าปู่นอนอยู่ศิริราชแข็งแรงดีวันดีคืน

*แถลงการณ์ฉบับที่37เป็นเรื่องใหญ่ที่คณะแพทย์กว่าจะออกได้ต้องปล้ำปู่โรงเย็นต่อเนื่องยาวนานตลอด24ชั่วโมงตั้งแต่บ่าย2โมงของวันที่8จนถึงสว่างของวันรุ่งขึ้นและต้องคอยเฝ้าเก็บงานจนเหงื่อกาฬหมอแตกถึงบ่าย3โมงด้วยใจคอไม่ดีเพราะท่านได้แน่นิ่งเป็นผักสมบูรณ์แบบแล้วและสุดท้ายต่างมีความเห็นร่วมกันว่าต้องระบุเอาตัวรอดได้แล้วว่าปู่โรงเย็นหมดสภาพที่จะให้ใครแอบอ้างลายเซนต์นำไปโกหกโลกได้อีกต่อไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆคือ"งดพระราชกิจ"เพราะร่างของปู่ไม่ไหวติงนิ่งสนิทตั้งแต่เมื่อคืนวันที่9ตุลาและแจ้งให้ลูกหลานของปู่ได้ทราบทั่วกันว่าจะยื้อต่อไปให้มีลมหายใจนั้นก็ยากแสนยาก

*อาการระยะสุดท้ายของปู่นั้นทั้งนายกฯ,องคมนตรี,ผู้นำเหล่าทัพ,ตำรวจระดับสูงและเสี่ยต่างรู้ความจริงตรงกันหมดแต่ปิดไม่บอกประชาชนเพราะยังมีวาระซ่อนเล้น,ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดวางแผนล่วงหน้าว่าจะกำหนดวันตายเป็นช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาเพื่อให้ตรงกับวันตายของปู่ร.5เพราะถ้าปล่อยให้ตายจริงโดยหยุดลมหายใจใครก็รู้ว่าน่าจะตรงกับช่วงเวลา6ตุลาหรือ14ตุลาก็จะเป็นประเด็นหวาดผวาทางประวัติศาสตร์ว่าผีนักศึกษาประชาชนที่ปู่สั่งฆ่ามาทวงวิญญานปู่พอดี...เมื่อหลอกผีไม่ได้ก็ให้หลอกคนก็แล้วกันว่าท่านตายอย่างยิ่งใหญ่วันเดียวกับเสด็จปู่ร.5

*แล้ววันสิ้นลมก็ถึงก่อนเวลาจนได้จนแพทย์ก็หมดปัญญาเมื่อบ่ายของวันที่12ตุลาจนทุกคนต้องมากันที่ศิริราช,แต่เมื่อแผนการวางแล้วก็จำต้องใช้เทคนิคทางการแพทย์ดึงต่อไปอีก10วัน

*10วันทางการแพทย์พอดึงไหวแต่ทางการข่าวและทางการทหารชักจะยุ่ง,ด้วยเหตุนี้ผู้อำนวยการสำนักข่าวทั้งหลายจึงถูกเรียกประชุมลับกับนายกฯและเสี่ยขอให้ฟังการแถลงข่าวจากสำนักพระราชวังเท่านั้นพร้อมทั้งสั่งให้ไก่อูปากมอมออกมาปรามชาวบ้านห้ามฟังข่าวจากชาวเนทที่แพร่สะพัดจนรัฐคุมไม่อยู่

*10วันต่อจากนี้เห็นทีจะยุ่งพิลึกเพราะสายตำรวจเปิดข่าวนำว่าจะมีการก่อวินาศกรรมและมีการระดมกำลังเตรียมพร้อมกันทุกฝ่ายทั้งตำรวจต้องที่,ทหารรวมไปถึงต.ช.ด.

*เรื่องเตรียมพร้อมดูภายนอกเหมือนดีแต่ภายในกลายเป็นประกาศกฎอัยการศึกซ้อนอำนาจประยุทธ์ ณ.ม44อย่างลับๆส่วนใครจะซ้อนแผนใครคงต้องติดตามตาไม่กระพริบ

*10วันต่อไปนี้ที่ยุ่งที่สุดและโกหกใครไม่ได้อีกแล้วก็คือจะกล่าวอ้างลายเซนต์ของปู่ต่อไปอีกไม่ได้เพราะมันขายขี้หน้าเพราะที่ผ่านมาก็พอจะเอาสีข้างเข้าถูได้แต่นับจากแถลงการณ์ฉบับที่37และ38และข่าวอึกถึกครึกโครมว่าปูหยุดหายใจจนคนมากันแน่นศิริราชเห็นทีจะโกหกว่าลุกมาเซ็นต์ชื่อได้คงไม่ไหว,แต่ครั้นเสี่ยจะตั้งตัวเองเซนต์แทนก็ยังไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์,ตรงนี้ละเป็นเรื่องยุ่งเพราะเฒ่าเปรมมันร่างรัฐธรรมนูญให้อำนาจตัวมันเองไว้ในมาตรา20ให้มันเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฯโดยโอโตเมติค,ครั้นเสี่ยจะยอมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญก็กลัวเฒ่าเปรมจะเชิดตำแหน่งรัชการที่10ไปถวายให้น้องสาว

*เรื่องยุ่งๆของวังยังไม่หมดไม่สิ้นไปง่ายๆเพราะปู่โรงเย็นแท้ๆที่เห็นแก่ตัวไม่ยอมแก้ปัญหาขณะที่ยังแข็งแรงและถืออำนาจจนนาทีสุดท้ายตายไปกับตัว,แถมยังให้ท้ายเฒ่าเปรมเข้าทำนองสุภาษิตไทย"เห็นขี้ดีกว่าใส้"ขี้มันจึงปั่นให้ลูกในใส้ต้องตีกันจนจะต้องพังกันไปทั้งคู่...แล้วสปท.จะเจาะติดข่าวนำมาเล่าต่อไป...จบ//

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

ทางเลือกของนักสู้เพื่อประชาธิปไตยไร้เดียงสา


ศิวา มหายุทธ์
กันยายน 2559

     ปรากฏการณ์ที่โดดเด่น หลังจากชัยชนะของกลุ่มแนวร่วมเผด็จการในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 อันสุดแสนอัปลักษณ์ทั้งสาระและกระบวนการ คือ
     1) การรุกคืบอย่างชนิด"ได้คืบเอาศอก"จากการใช้อำนาจผ่านรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบให้เป็นเผด็จการมากขึ้น และปฏิบัติการกระชับอำนาจเผด็จการที่ขยายวงเชิงปริมาณ และคุณภาพอย่างเข้มข้นมากขึ้น
     2) เส้นทางการต่อสู้แบบจำกัดวงของผู้รักประชาธิปไตยและเสรีภาพด้วยแนวทางสันติวิธีในเวทีรัฐสภาและบนท้องถนนเดินทางมาถึงจุดจบแบบเป็นทางการ เหลือแต่แนวทางและเวทีอื่นที่รออยู่แต่ยังไม่มีใครหาญกล้านำเสนอ และไม่พร้อมจะเลือกยอมรับ ด้วยเหตุและข้ออ้างต่างๆกัน สุดแท้จะสรรหาขึ้นมาโดยไม่ยอมออกจากหลุมดำ
     ความฮึกเหิมของแนวร่วมเผด็จการภายใต้กองทัพเป็นแกนนำ เพื่อเป้าหมายใช้อำนาจเบ็ดเสร็จกดสังคมให้อยู่ใต้อำนาจนำด้วยเครื่องมือทุกอย่างที่มี เพื่อสร้างภาพ"รัฐที่ปลอดการเมือง"ซึ่งไร้นักการเมืองฉ้อฉล ไร้ความวุ่นวายจากประชาธิปไตยที่ขาดสงบสันติ มีความรู้รักสามัคคีบนความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชอบด้วยเหตุผล มีอัตลักษณ์ไทยที่โดดเด่น และมีความมั่นคงของสถาบันหลัก เป็นปรากฏการณ์ที่ดำเนินไปทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ท่ามกลางความพยายามซุกซ่อนปัญหาทุกอย่างไว้ใต้พรม อันเป็นพฤติกรรมที่ถนัดเข้มข้นของอำนาจรัฐรวมศูนย์ที่ถูกออกแบบมายาวนานเมื่อ 100 ปีก่อน
     ความพยายามของแนวร่วมเผด็จการที่ต้องการให้รัฐราชการร่วมมือกับกลุ่มทุนผูกขาดใหญ่จำนวนน้อย ในนาม "ประชารัฐ"  ตามที่แกนนำอย่างประเวศ วะสี ร่วมกับอานันท์ ปันยารชุน และ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ออกแบบตามการชี้นำของกองทัพ เพื่อจะปรับเปลี่ยนให้เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หวังนำไปสู่การก้าวกระโดดใหญ่ทางทุนนิยม ในแนวทางจีนปัจจุบัน หรือเกาหลีใต้ยุคก่อนประชาธิปไตย เพื่อให้คนยอมสยบและเชื่อว่า แม้ไม่ต้องเป็นประชาธิปไตย แต่เผด็จการเบ็ดเสร็จหรือ ประชาธิปไตยครึ่งใบ ก็สามารถขับเคลื่อนทำให้ประเทศพัฒนาและมั่งคั่งกว่ารัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้ง ถูกขับเคลื่อนอย่างบูรณาการควบคู่ไปกับการกระชับอำนาจในกลุ่มคนจำนวนน้อยภายใต้เครือข่ายราชสำนักที่มีกองทัพเป็นแกนนำ
     เป้าหมายของแนวร่วมเผด็จการนี้ ได้ทำให้เวทีของผู้รักเสรีภาพ ความยุติธรรมทางสังคม และประชาธิปไตย ถูกปิดล้อมเสียจนกระดิกตัวไม่ได้ เพราะกลไกควบคุมอำนาจทั้งทางการและไม่เป็นทางการผ่านช่องทางต่างๆถูกนำมาใช้อย่างเบ็ดเสร็จไม่ต่างจากเผด็จการขวาจัดที่มีแนวร่วมมวลชนหนุนหลังในยุคของ ฮวน และ เอวา เปรองแห่งอาร์เจนติน่า หรือ กองทัพญี่ปุ่นยุคหลังปฏิรูปเมจิ รวมทั้ง ฟาสซิสต์ในอิตาลียุคก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และจีนยุคปฏิวัติทางวัฒนธรรม
    การใช้อำนาจปิดกั้นคุกคามอย่างเบ็ดเสร็จนี้ได้ผลค่อนข้างสูงมาก อย่างน้อยการกระทำภายใต้ข้ออ้าง"ถอยห่างจากการเมือง"ก็สามารถควบคุมสถานการณ์เหนือสังคมอย่างไร้ผู้ต่อต้านที่เข้มแข็ง
    ล่าสุด ท่าที่แปรเปลี่ยนของสหรัฐฯที่หันมาคืนดีกับแนวร่วมเผด็จการที่มีกองทัพเป็นแกนนำ ถือเป็นการประทับความชอบธรรมอย่างเป็นทางการ ให้กับอำนาจนำของแนวร่วมเผด็จการโดยปริยาย
    ความมั่นใจว่าการสถาปนาอำนาจนำเหนือสังคมไทยของแนวร่วมเผด็จการเช่นนี้ สะท้อนจากการยกเลิกศาลทหารล่าสุด ด้วยความเชื่อมั่นสูงสุดว่า กลไกและเครื่องมือของพลังแนวร่วมเผด็จการเหนือรัฐไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นเอกภาพ หลังประชามติผ่าน สามารถรับมือกับพลังของแรงต่อต้าน อย่างมีประสิทธิผลและชอบธรรมไปอีกยาวนานตามต้องการได้
    สถานการณ์แปรเปลี่ยนนี้ ขบวนแถวของผู้รักและนักสู้เพื่อประชาธิปไตย (ไม่นับกลุ่มการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ที่เปิดตัวเองล่อนจ้อนว่ายอมตนเป็นเครื่องมือเผด็จการในนามของพรรคการเมืองภายใต้เวทีประชาธิปไตยอย่างฉกฉวยโอกาส) กลับเกิดปรากฏการณ์ที่รวนเรไร้เอกภาพ และมีลักษณะของนักประชาธิปไตยไร้เดียงสากันอย่างชัดเจน ถึงขั้นที่มีบางคนสรุปอย่าสุดขั้วว่า ยามนี้และอนาคต ไม่เพียงภาพรวมของการเมืองแบบเปิดจะถอยหลังเข้าคลองเท่านั้น แต่ขบวนแถวประชาธิปไตยกลับยิ่งถอยหลังกว่าลงคลองด้วยซ้ำ
    ภายใต้สถานการณ์คุกคามเสรีภาพรุนแรงอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองในรอบ 84 ปี นับแต่ พ.ศ. 2475 ช่องทางการต่อสู้ของขบวนแถวประชาธิปไตยถูกล้อมกรอบให้จำกัดอย่างมาก จนกระทั่งแทบจะหาโอกาสและช่องทางขับเคลื่อนอย่างเปิดเผยไม่ได้
     เวทีของผู้รักเสรีภาพ ความยุติธรรมทางสังคม และประชาธิปไตย ถูกปิดล้อมด้วยกลไกควบคุมอำนาจทั้งทางการและไม่เป็นทางการผ่านช่องทางต่างๆอย่างเบ็ดเสร็จ เวทีของการต่อสู้ทางรัฐสภา และการชุมนุม (แม้กระทั่งการเสวนาเชิงวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย) ถูกปิดตาย กลายเป็นเส้นทางต้องห้าม และ"ปลอดการเมือง"
     สถานการณ์ที่ แนวร่วมเผด็จการภายใต้กองทัพเป็นแกนนำเช่นนี้ บ่งบอกท่าทีชัดเจนของแกนนำแนวร่วมเผด็จการว่า ความขัดแย้งทางอำนาจและผลประโยชน์ในสังคมไทย ระหว่างพลังเผด็จการ และพลังประชาธิปไตย จะสิ้นสุดลงต่อเมื่อถึงขั้นแตกหัก จนพลังประชาธิปไตยพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงไปแล้วด้วยข้ออ้างของ"ผลกรรมของความไม่จงรักภักดีและไม่รักชาติเพียงพอ"
    สถานการณ์อันบีบคั้นอย่างที่สุดนี้กลับมีปรากฏการณ์ที่ย้อนแย้งกันขึ้นมาในบรรดากลุ่นคนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งหลายที่ทำให้ขบวนแถวไม่สามารถเปล่งพลังในการต่อสู้ใดๆขึ้นมาใน"เชิงรุก"เพื่อช่วงชิงโอกาสทั้งตอบโต้ หรือ ยันการรุกคืบของแนวร่วมเผด็จการได้เลย หนำซ้ำยังมีการถอยร่นไม่เป็นส่ำด้วยซ้ำ
     บรรยากาศเช่นนี้ มีความจำเป็นต้องหันกลับมาทบทวนการต่อสู้ของพลังประชาธิปไตยที่เป็นมากกว่าคำขวัญ"อนาคตสดใส แต่หนทางคดเคี้ยว"อย่างจริงจัง

 หลุมดำของนักประชาธิปไตยไร้เดียงสา

        หากไม่นับกลุ่มนักสู้ตามรอย ทักษิณ ชินวัตร และ นปช. ที่เป็นส่วนหนึ่งในขบวนแถวพลังประชาธิปไตย(จากการเลือกตั้ง และนักเลือกตั้ง) ที่เลือกเส้นทาง"สู้ไป กราบไป"ตลอดมาอย่างไม่สามารถพึ่งพิงได้เลยว่าจะเป็นความหวังในฐานะแกนนำของพลังประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในอนาคตได้แล้ว มีจุดอ่อนสำคัญของกลุ่มนักสู้ประชาธิปไตยที่จำกัดตัวเองกับ"ความไร้เดียงสาหลายรูป" ซึ่งทำให้เส้นทางสู่การต่อสู้ตีบตันภายในหลุมดำ เพราะท่าทีและแนวทางการต่อสู้เสมือน"ล่ามโซ่ตรวนที่ข้อเท้าตนเอง" อยู่ 2กลุ่ม ที่ชัดเจน
1)กลุ่มที่ยึดมั่นกับลัทธิยอมจำนนอย่างดื้อรั้นและอับจน ยอมจมปลักกับความพ่ายแพ้และทางตีบตันของข้อจำกัด ด้วยจิตวิทยาแบบ"มะนาวหวาน"ผ่านคำขวัญ "ประชาธิปไตยต้องมีวิธีการที่สอดรับกับเป้าหมาย"ในลักษณะของการพายเรือในอ่าง
บางคนในกลุ่มนี้ เลยเถิดไปไกลถึงขั้นนำเสนออย่างสุดขั้วว่า”หากไม่สามารถสร้างฉันทามติให้เกิดขึ้นกับคนทั่วทั้งสังคมได้ อย่าหวังเลยว่าจะเกิดประชาธิปไตยได้” ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ว่า ทุกสังคมประชาธิปไตยทั้งหลายในโลก ล้วนถือกำเนิดจากครรภ์ของสังคมที่มีความขัดแย้งเป็นพื้นฐาน
           2) กลุ่มที่ต้องการสถาปนาอำนาจรัฐประชาธิปไตยภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐรวมศูนย์แบบเดิมที่คณะราษฎรทั้งซากเดิมเป็นมรดกบาปเอาไว้ เพราะแยกไม่ออกว่า เมล็ดพันธุ์ของพลังประชาธิปไตยที่แท้จริงจะงอกงามขึ้นได้ ต้องการโครงสร้างอำนาจรัฐกระจายศูนย์ที่เปิดช่องให้กับการมีส่วนร่วมในอำนาจรัฐหลายระดับ
     กลุ่มแรก เริ่มปรากฏตัวชัดเจนยิ่งขึ้นหลังผลการลงประชามติออกมาเรียบร้อย ภายใต้คำขวัญคร่ำครึในขบวนแถวจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ว่าด้วย"ซุ่มซ่อนยาวนาน สะสมกำลัง รอคอยโอกาส" โดยเชื่อมั่นว่า ในยามที่ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แล้ว จำต้องทนอยู่ร่วมและ"วิสาสะ"ในสังคมใต้อุ้งเท้าเผด็จการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการเวลา ตามหลักจิตวิทยา "มะนาวหวาน" แม้บางคนเชื่ออย่างเข้าข้างตนเองว่า จะแข็งแกร่งกับจุดยืนที่ไม่ถึงขั้นยอมตน "เลียนมที่หกไปแล้ว"จนสูญเสียอหังการของนักสู้เพื่อประชาธิปไตยจนหมดสิ้น
     กลุ่มนี้ เชื่อว่า พลังเผด็จการที่ไร้ความชอบธรรมย่อมทำลายตนเองจากภายในในอัตราเร่ง ดังนั้นการ"นั่งบนภู ดูเสือ(หรือ สุนัข)กัดกัน" และสะสมพลัง ย่อมมีโอกาสกลับมาสู่ชัยชนะครั้งใหม่ได้
     คำถามที่คนกลุ่มนี้ตอบไม่ได้คือ ชัยชนะที่(เชื่อว่า)กลับคืนมา(โดยไม่ต้องลงมือกระทำใดๆ) นั้น จะเป็นเมื่อใด หรือจริงแท้แค่ไหน
     กลุ่มหลังคือกลุ่มคนที่ยึดติดและชูคำขวัญว่า ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ต้องมีวิธีการที่สอดรับกับเป้าหมาย ไม่หลงทิศทางไปกับเส้นทางการต่อสู้ในเส้นทางอื่นที่"นอกลู่นอกทาง"
     ท่าทีดังกล่าว มีเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่า การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยนั้น แยกไม่ออกจากการยึดอำนาจนำเหนือรัฐด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมผ่านการลองผิดลองถูก ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
     เส้นทางของ"นักสู้เพื่อประธิปไตยสันติวิธี" ที่หลายคนยกย่องเกินเลยและด้านเดียว อย่าง โมหันดาส คานธี หรือ เนลสัน แมนเดล่า หรือ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ หรือ ฯลฯ ในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมไม่เคยปราศจากความรุนแรง ทั้งในสาระ และในทางกายภาพ บนพื้นฐานของรากเหง้าวัฒนธรรม และการเลือกใช้เครื่องมือรูปธรรมในการต่อสู้ ถูกเพิกเฉยที่จะมีการศึกษาอย่างจริงจัง
    การยึดติดกับสูตร"สันติวิธี ไม่มีแพ้"(ซึ่งเป็นเพียงข้อเสนอเชิงยุทธวิธี ไม่ใช่คำขวัญทางยุทธศาสตร์) จึงเป็นการล่ามโซ่ข้อเท้าตัวเองที่บรรดาศัตรูของพลังประชาธิปไตย ฉกฉวยและยินดีรับสมอ้างด้วยความปลื้มปิติอย่างยิ่ง เพราะเส้นทางอื่นของการต่อสู้(พื้นที่สื่อ และ เวทีต่างประเทศ) ไม่สามารถเป็นปัจจัยแห่งชัยชนะได้เลย
    เส้นทางสุดท้าย การต่อสู้ด้วยการจัดตั้งกองกำลัง เป็นทางเลือกสุดท้ายที่ถูกปฏิเสธจากนักประชาธิปไตยไทยมานานกว่า 30 ปี โดยการอ้างถึงฝันร้ายของขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยและอีกหลายประเทศ ในขณะที่คนบางกลุ่มคิดถึงภาพการ"ก่อการร้าย"ไปเลย ทั้งที่มีสาระและกระบวนการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
   ถ้าหากความรุนแรงที่บรรดาคนในขบวนแถวแนวร่วมเผด็จการกระทำต่อผู้รักประชาธิปไตยซ้ำซาก กลายเป็น"ความชั่วร้ายที่ชอบธรรม" แต่การหยิบอาวุธสร้างกองกำลังขึ้นมาเพื่อป้องกันการต่อสู้ถูกปฏิเสธในฐานะแนวทางที่ชั่วร้ายแล้ว ก็มีคำถามตามว่า ปัจจัยแห่งชัยชนะของพลังประชาธิปไตย จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    กลุ่มหลัง เป็นกลุ่มคนที่เชื่อว่า พลังประชาธิปไตยที่ยั่งยืนใต้รัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งนั้น สามารถเกิดขึ้นและเติบโตขึ้นมาได้ ภายใต้อำนาจรัฐแบบรวมศูนย์ ที่มีโครงสร้างรัฐซ้อนรัฐแอบแฝงอยู่ตลอดเวลา
    84 ปีของความล้มเหลวสถาปนาประชาธิปไตยไทย ได้ยืนยันชัดเจนว่าโครงสร้างอำนาจรัฐไทยรวมศูนย์ปัจจุบัน ต้องถูกล้มล้าง และแทนที่ด้วยโครงสร้างรัฐใหม่ที่กระจายอำนาจไปยังคนหลากหลายกลุ่ม อาชีพ ชาติพันธุ์ ภาษา และ วัฒนธรรม เพื่อเปิดทางให้การมีส่วนร่วม กระจายความมั่งคั่ง โอกาส เสรีภาพ และความยุติธรรมขึ้นมา
   พลังประชาธิปไตยภายใต้อำนาจรัฐรวมศูนย์แบบรัฐซ้อนรัฐ เปิดทางให้แนวร่วมเผด็จการสถาปนาอำนาจนำได้ง่ายดาย ฉันใด พลังประชาธิปไตยภายใต้อำนาจรัฐกระจายศูนย์ ย่อมสร้างกระบวนการทำลายหน่อเชื้อของแนวร่วมเผด็จการให้ล่มสลาย และยากจะผุดเกิดได้มาก ฉันนั้น
   ผู้เขียนขอย้ำอีกครั้งว่า สหพันธรัฐสยาม (ที่นักสู้เพื่อประชาธิปไตยสยาม เห็นพ้องด้วยมากขึ้นต่อเนื่อง) คือ คำตอบของโครงสร้างที่จำเป็น ซึ่งจะถือกำเนิดและหล่อเลี้ยงพลังประชาธิปไตยได้ดีที่สุด ในเวลานี้และในอนาคต
   นักสู้เพื่อประชาธิปไตย ที่สามารถเปิดกระบวนทัศน์ใหม่ พ้นจากหลุมดำของพลังประชาธิปไตยได้ และเลิกไร้เดียงสา จนสามารถมีความหวังได้ว่า พลังประชาธิปไตยโดยรวม จะสามารถตอบโต้ หรือยันการรุกคืบของแนวร่วมเผด็จการได้ และมีโอกาสสถาปนาอำนาจนำเหนือรัฐสยามได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
   จุดสำคัญคือ นักประชาธิปไตย จะกล้าหาญทางความคิด และจริยธรรม มากน้อยแค่ไหน เพื่อขับเคลื่อนพลังประชาธิปไตยที่ยั่งยืนให้งอกงามขึ้น

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

3บทความตาสว่างสร้างไทยให้เป็นสหพันธรัฐ บทที่3: สองก้าวข้าม เพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ ยุทธวิธีที่หลากหลาย


Sun, 2010-01-03 21:32
ศิวะ รณยุทธ์
28 ธันวาคม 2552

                ความคลี่ คลายของสถานการณ์ของการต่อสู้ของผู้รักประชาธิปไตยในหลายเดือนมานี้ ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวที่จะจัดขบวนใหม่ของการต่อสู้ให้เหมาะสม เพราะปรากฏการณ์ที่ชัดเจนได้ยืนยันว่า กลุ่มอำมาตย์(พันธมิตรข้าราชการ+ทุน อภิสิทธิ์ ที่หนุนหลังโดยราชสำนัก) ยังคงดื้อรั้นที่จะยึดกุมอำนาจเผด็จการซ่อนรูปแบบ ‘โต๊ะแชร์’ เพื่อแบ่งปันผลระโยชน์ต่างตอบแทนกันในคนจำนวนน้อยนิดเอาไว้ในกำมือต่อไป ภายใต้โครงสร้างรัฐซ้อนรัฐอันซับซ้อนในนาม ‘ประชาธิปไตยรู้รักสามัคคี’ ที่ลวงโลก
ถึง แม้ว่า สถานการณ์จะเอื้ออำนวยให้การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประชาชน แต่คำถามเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่เหมาะสมในการต่อสู้เพื่อเอาชนะ ศัตรูของประชาธิปไตยยังดำรงอยู่มิได้ขาดว่า จะดำเนินการขับเคลื่อนกันต่อไปอย่างไรเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพลังประชาธิปไตย จากปริมาณสู่คุณภาพ แล้วแปรเปลี่ยนไปบรรลุชัยชนะเหนือพลังเผด็จการทุกรูปแบบ

ข้อ เขียนชิ้นนี้ ถือเป็นการให้คำอธิบายกับข้อเสนอเดิมที่ว่าด้วยการสร้าง ‘ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ ยุทธวิธีที่หลากหลาย’ เมื่อหลายเดือนก่อน โดยสาระสำคัญที่ต้องการย้ำให้เห็นว่า การจะบรรลุเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ยุทธวิธีดังกล่าวได้ จะต้องผ่านการก้าวข้าม 2 อุปสรรคสำคัญของขบวนการประชาธิปไตยให้ได้เสียก่อนนั่นคือ

1)    ก้าวข้ามทางอุดมการณ์
2)    ก้าวข้ามทางการจัดตั้ง

ข้อเสนอ 2 ก้าวข้ามนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากข้อสรุปของอันโตนิโอ กัมชี่ที่ว่าด้วย อำนาจนำ ที่มีข้อเสนอสำคัญคือ การ เปลี่ยนแปลงสังคมที่แท้จริง จำเป็นต้องเปลี่ยนจิตสำนึกของสังคมในทางการเมืองและวัฒนธรรมด้วย นอกเหนือจากการยึดครองอำนาจรัฐทางการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการบังคับกดขี่ ซึ่งจะทำได้จะต้องเอาชนะในสงคราม 2 ด้านพร้อมกันไปคือ สงครามอุดมการณ์(และวัฒนธรรม) กับ สงครามขับเคลื่อนทางการจัดตั้ง ซึ่งสอดคล้องกับ เหมา เจ๋อ ตง ในส่วนที่ว่า “หากจะปฏิวัติต้องมีทฤษฎีปฏิวัติ และมีองค์กรจัดตั้งเพื่อปฏิวัติ” นั่นเอง


ก้าวข้ามทางอุดมการณ์
            แม้ว่านักสู้เพื่อประชาธิปไตยไทยจะได้ผ่านบทเรียนมาครั้งแล้วครั้งเล่าในการ ต่อสู้กับเผด็จการหลากรูปแบบ แต่ย่างก้าวของประชาธิปไตยที่ยั่งยืนก็ยังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอุปสรรคทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งยังไม่สามารถก้าวข้ามได้

            อุปสรรคทางด้านอุดมการณ์(และวัฒนธรรม)ที่ยังแฝงเร้นและยังไม่อาจก้าวข้ามได้ พ้นดังที่ได้สรุปอย่างย่นย่อต่อไปนี้คือ สิ่งที่เราต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ก่อนจะนำไปสู่เรื่องของการจัดตั้งที่จะส่งผลเป็นรูปธรรม

มายาคติเรื่องประชาธิปไตยคือสิ่งแปลกปลอม(การชิงสุกก่อนห่าม - เอาความคิดฝรั่ง ที่ไม่เหมาะกับสังคมไทยมาใช้-เป็นการกระทำของกลุ่มโดยประชาชนไม่มีส่วนร่วม - รัชกาลที่ ๗ เป็นบิดาแห่งการปกครองประชาธิปไตยไทย) สร้างความแตกแยกทางสังคม (ทำให้ไม่รู้รักสามัคคีซึ่งมีคุณค่าเหนือกว่าความยุติธรรมของสังคม ไม่ได้คนดีปกครองบ้านเมืองแต่มีรัฐบาลเลือกตั้งสามานย์ ทำให้ทุนครอบรัฐ และเกิดวัฒนธรรมซื้อเสียง) ทั้งที่ข้อเท็จจริงแล้ว ประชาธิปไตยคือ วัฒนธรรมที่เปิดโอกาสให้มวลชนในสังคมแสดงความหลากหลายทางความคิดเพื่อสะท้อน ข้อเท็จจริงของตนอย่างเปิดเผย และได้รัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพซึ่งบั่น ทอนการลงทุน และทำให้เศรษฐกิจทรุดโทรม ทั้งที่มีหลักฐานสนับสนุนย้ำว่า ชาติที่มีประชาธิปไตยเต็มรูปและประชาชนมีหลักประกันเสรีภาพ/เสมอภาคนั้น สามารถแปรพลังของรัฐให้กลายเป็นพลังการผลิตใหม่ๆได้เหนือกว่าชาติ ประชาธิปไตยครึ่งใบหรือเผด็จการที่มีข้อจำกัดในการสร้างพลังทางเศรษฐกิจ

   มายาคติว่าด้วยความบริสุทธิ์ของอุดมการณ์ (หรือ ชุดความคิดสำเร็จรูปชี้นำมวลชน) สังคมที่ไม่สามารถแยกแยะสภาพที่แท้จริงทางสังคมออกจากความเชื่อเรื่อง อุดมการณ์ที่บริสุทธิ์อันกระด้างต่อความเป็นจริงทางสังคม ย่อมตกเป็นเหยื่อของ ‘ความจริงสำเร็จรูปที่ถูกปรุงแต่งขึ้น’ ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อของสงครามทางการเมือง โดยเชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่บริสุทธ์ทางความเชื่อได้ โดยปฏิเสธสัจธรรมที่ว่า ทุกความเชื่อและทฤษฏีทางสังคมใดๆล้วนมีด้านสว่างและด้านมืดเสมอ ดังจะเห็นได้จาก ข้ออ้างเรื่องเอกลักษณ์ความเป็นไทยเพื่อเชิดชูอำนาจราชสำนักและความคิดชาติ นิยมสำเร็จรูปของพวกอำมาตย์ ทั้งที่ความจริงแล้วสังคมไทยประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมจนไม่จำ เป็นต้องนิยามอย่างยัดเยียดในเรื่องเอกลักษณ์ไทย หรือ ทฤษฎีที่เชื่อว่าสังคมต้องมีเป้าหมายในตัวเองเพื่อมุ่งไปสู่สังคม คอมมิวนิสต์และมีวิวัฒนาการเป็นเส้นตรง หรือ การปฏิวัติต้องมีพรรคชี้นำหลักที่มีทฤษฎีปฏิวัติชี้นำเป็นต้นซึ่งได้รับการ พิสูจน์มาแล้วว่า มีข้อบกพร่องที่ต้องทบทวนอยู่มาก

มายาคติว่าด้วยประชาธิปไตยจากเบื้องบน เชื่อ มั่นว่า พวกอำมาตย์นั้นมีกระบวนทัศน์และจิตใจประชาธิปไตยมากเพียงพอที่จะก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยโดยสันติวิธีได้ด้วยข้อเสนอปฏิรูปทางการ เมือง ซึ่งโดยข้อเท็จจริง แม้ประชาธิปไตยจากเบื้องบน(ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการได้มาของประชาธิปไตยจาก เบื้องล่าง)เช่นว่านี้ จะมีตัวอย่างจำนวนน้อยในโลกนี้ (เช่น ญี่ปุ่น สวีเดน หรือ ภูฏาน) แต่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้ยืนยันมากว่าร้อยปีนับแต่มีการเปลี่ยนสังคม ไทยให้ทันสมัยแบบตะวันตกแล้วว่า พวกอำมาตย์ที่ครองอำนาจผูกขาด ล้วนถือประชาธิปไตยเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับสังคมไทยเสมอมา อาทิเช่น หลังจากการอภิวัฒน์ของคณะราษฎร พ.ศ.2475 พวกอำมาตย์ก็สร้างนิทานโกหกว่า หาอะไรดีไม่ได้และเป็นการ ‘เอาหมามานั่งเมือง’ ซึ่งยืนยันขัดเจนว่า พวกเขาจะไม่มีวันยอมให้มวลชนได้เข้ามาส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของสังคม และตนเองอย่างเด็ดขาด การรัฐประหาร 2549 ที่นำร่องโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกติกาของรัฐธรรมนูญ2550 ยืนยันชัดเจนให้ประจักษ์อยู่แล้ว

มายาคติว่าด้วยทุนสามานย์ มอง เห็นแต่ด้านมืดของทุนนิยมว่า เป็นระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา และหากทุนครอบงำรัฐ จะทำให้กลุ่มทุนผูกขาดหาประโยชน์จากการมีอำนาจทางการเมืองเหนือประชาชนกลุ่ม อื่นๆ ทั้งที่โดยหากใช้วิภาษวิธีวิเคราะห์กันแล้ว ทุนนิยมเช่นเดียวกันกับระบบเศรษฐกิจการเมืองอื่นๆของมนุษย์ นั่นคือก็มีทั้งด้านมืดและสว่างดำรงอยู่ควบคู่กันไป จุดเด่นของทุนนิยมโดยเฉพาะทุนนิยมเสรี อยู่ที่มันสามารถสร้างพลังการผลิตด้วยกระบวนการของคนกลุ่มต่างๆให้หลากหลาย รูปแบบอย่างไม่จำกัดได้ดีกว่ากระบวนการผลิตด้วยระบบอื่นๆโดยเปรียบเทียบ แม้จะมีด้านมืดที่ภายในระบบนี้จะมีปัญหาความผันผวนเป็นวงจรขาขึ้นและขาลงที่ สร้างปัญหาเชิงโครงสร้างและผลกระทบต่อชีวิตผู้คนเป็นระยะๆ รวมถึงปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เกิดการกระจุกตัวของความ มั่งคั่งโดยกลุ่มทุนผูกขาดจำนวนน้อย แต่ก็ยังคงสามารถวิวัฒน์ให้ก้าวหน้าท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างทุนผูกขาดกับ ทุนเสรีก็เป็นสิ่งที่ดำเนินตลอดเวลาซึ่งรองรับเสียงเรียกร้องต้องการของผู้ คนในสังคมได้ดีกว่าระบบเศรษฐกิจอื่นๆอย่างยากปฏิเสธได้ ตัวอย่างเช่นสังคมไทยยุคหลังกรณีการลุกฮือของชนชั้นกลาง 2535 ทำให้ทุนใหม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับธุรกิจและช่องหารายได้นอกจารีต เดิมของทุนผูกขาดดั้งเดิมที่เกาะติดอำนาจเผด็จการมายาวนาน แต่เมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งอันเป็นผลจากความไม่พร้อมในการเข้าร่วมวงไพบูลย์ ของกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้กลุ่มอำมาตย์วิตกจริตกับอนาคตที่ตนเองไม่เข้าใจและเริ่มควบคุมไม่ได้จน กระทั่งสร้างกระแสทวนประวัติศาสตร์ด้วยการยอมให้อดีตกลับมาหลอกหลอนผู้คนใน สังคมครั้งใหม่ หวังเกาะกุมยึดอำนาจรัฐเพื่อรักษาอำนาจและประโยชน์ของตนอย่างเหนียวแน่น เดินสวนทางกับกลุ่มทุนใหม่ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ฉกฉวยโอกาสใช้เครื่องมือเก่าคร่ำครึอย่างกองทัพเข้ามา หวังกระชากโครงสร้างสังคมให้ถอยหลังกลับอย่างเพ้อฝันว่า จะสามารถสร้างแดนสนธยาของทุนผูกขาดที่รวมศูนย์และแจกจ่ายผลประโยชน์ในกลุ่ม อำมาตย์จำนวนน้อย ปฏิเสธทั้งการโอนกิจการเป็นของรัฐ (เพราะกลัวเสียอำนาจในการครอบครองปัจจัยการผลิตด้วยถูกยึดความมั่งคั่งแบบ รัฐสังคมนิยม) และการเปิดเสรีทางธุรกิจเต็มรูป(เพราะรู้ดีว่าไม่สามารถแข่งขันได้ใน บรรยากาศเปิด)

มายาคติว่า กองทัพเท่านั้นเป็นกำลังหลักของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในชาติกำลังหรือด้อยพัฒนา ข้อ สรุปหยาบๆว่าการเมืองไทยต้องมีทหารและกองทัพกำกับและแทรกแซง และรัฐบาลต้องรักษาสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพซึ่งเป็นเสาหลักพิทักษ์ราชบัลลัง ค์ และความมั่นคงของชาติ จึงเป็นข้ออ้างที่ใช้ทำรัฐประหารมาโดยตลอด ทั้งที่โดยข้อเท็จจริง รัฐบาลทหารหรือรัฐบาลทหารตั้งนั้นได้พิสูจน์ถึงการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพ และฉ้อฉลทุกรูปแบบสูงกว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งหลายเท่ามาตลอด อีกทั้งผู้นำของกองทัพซึ่งทำตนเป็นทหารการเมืองมากกว่าทหารอาชีพในปัจจุบัน ก็ขาดคุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำรัฐในยุคที่สังคมเรียกร้องการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว เพราะพวกเขาไม่สามารถเข้าใจสภาวะที่แท้จริงทางสังคมในประเทศและพลวัตของการ เปลี่ยนทางด้านภูมิศาสตร์การเมืองของโลกได้ แต่พวกเขายังดื้อรั้นหวังจะฉวยโอกาสหาประโยชน์เข้าส่วนตัวและพรรคพวกจากการ ผูกขาดอำนาจทางการเมืองต่อไปไม่สิ้นสุด กลายเป็นกาฝากหรือโจรการเมืองอย่างชัดเจน

มายาคติเรื่องคนเดือนตุลา ตราประทับแบบเหมาโหลต่อกลุ่มคนที่เรียกตัวว่าคนเดือนตุลา หรือพวกที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวขับเคลื่อนสังคมก่อนและหลัง 14 ตุลาคม 2516 เป็นพวก ‘ก้าวหน้า’ เปิดช่องให้กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่พลัดหลงกับกระแสดังกล่าว โดยที่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ทางทฤษฎี และไม่ได้ดัดแปลงตนเองอย่างถึงที่สุดฉวยโอกาสนำไปสร้างภาพลักษณ์หลอกลวงผู้ คนที่ไม่รู้จำแนกแยกแยะ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วจะต้องพิจารณาพฤติกรรมในปัจจุบันเป็นสำคัญว่า ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อขับเคลื่อนขบวนประชาธิปไตยของมวลชนมากน้อย เพียงใดและนักสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงย่อมถือเอาความรุนแรงเป็นแค่ เครื่องมือ มิใช่เป้าหมาย

มายาคติว่า การใช้ความรุนแรง ไม่ใช่วิถีประชาธิปไตย ข้อเท็จจริงก็คือ การใช้ความรุนแรงเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับการต่อสู้ทางการเมือง กับการใช้ความรุนแรงแบบลัทธิทหารอย่างพร่ำเพรื่อ มีความแตกต่างกันเพราะในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อได้มาเพื่อประชาธิปไตย ของสังคมต่างๆในโลก ล้วนแสดงให้เห็นว่า หากชนชั้นปกครองดื้อรั้นสร้างระบอบผูกขาดอำนาจเผด็จการในกลุ่มอภิสิทธิ์ชน จำนวนน้อย โดยปฏิเสธประชาธิปไตยจาก เบื้องล่าง(ซึ่งมีตัวอย่างจำนวนน้อยเต็มที) มวลชนที่รักประชาธิปไตยก็ไม่มีทางเลือกที่ต้องผสมการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ เป็นหนึ่งในยุทธวิธีเพื่อการต่อสู้

การก้าวข้าม อุปสรรคทางด้านอุดมการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะช่วยให้สามารถมองทะลุไปถึงความหมายที่ชัดเจนของข้อเรียกร้อง ‘ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ ยุทธวิธีที่หลากหลาย’ เพื่อช่วยให้สามารถมุ่งไปสู่การก้าวข้ามทางจัดตั้งอย่างเป็นระบบในการต่อสู้ เพื่อขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้าอย่างพลิกแพลงได้



ก้าวข้ามทางการจัดตั้ง
ขั้นตอนของ การก้าวข้ามทางการจัดตั้ง คือ การขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมของการต่อสู้ ซึ่งหากคนในขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยเกิดความเข้าใจเพียงพอในรูปฉันทามติร่วม (ไม่ใช่ประชาธิปไตยรวมศูนย์แบบเดิม)ว่า ยุทธวิธีขับเคลื่อนทุกอย่างที่ถูกนำมาใช้ จะต้องสามารถสร้างแรงเหวี่ยงเพื่อเอาชนะทางการเมืองให้ได้ทางใดทางหนึ่ง

การเอาชนะ ทางการเมืองคืออะไร? ลดขวัญกำลังใจ ทำให้ศัตรูไม่กล้าปราบปรามกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวอย่างถูกกฎหมายและกึ่งถูกกฎหมาย ทำให้ศัตรูจำต้องเปลี่ยนเกมเล่นที่ไม่ถนัด บีบให้ศัตรูต้องยอมรับเงื่อนไขบางประการที่เราเสนอ และเปลี่ยนฐานะจากการตั้งรับทางการเมืองของฝ่ายเราเป็นการรุกทางการเมืองต่อ ศัตรู

การรุกทาง การเมือง คืออะไร? ชุดของยุทธวิธีเพื่อสร้างปลุกระดมมวลชน สร้างความปั่นป่วนให้ศัตรู การโฆษณาชวนเชื่อ การล้มล้างความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมของอำนาจรัฐ การกัดกร่อนความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ การโจมตีด้วยกำลังอาวุธ การลุกฮือและประท้วง การเจรจาเพื่อหาทางออก และปฏิบัติการนอกแบบอื่นๆ

ขั้นตอนของ การขับเคลื่อนที่สำคัญ เริ่มต้นที่กลุ่มจัดตั้งของผู้รักประชาธิปไตยที่กระจัดกระจายกันในที่ต่างๆ ที่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคทางอุดมการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นได้บางส่วนหรือทั้ง หมด จัดการปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างฉันทามติร่วมเพื่อกำหนดเข็มมุ่งของการต่อสู้ ในรูปพหุภาคีใต้หลักการ ‘หนึ่งแนวร่วมในหลากแนวร่วมที่เสมอภาค’ โดยไม่ถือว่ากลุ่มใดชี้นำ แต่ให้ถือเอาข้อเสนอที่เป็นไปได้ และมีพลังมากที่สุดในการเอาชนะทางการเมืองเป็นธงนำ ซึ่งเมื่อได้ฉันทามติร่วมแล้ว ก็จะเกิดเอกภาพทางยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา

จากนั้นก็ เข้าสู่ขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติการผ่านยุทธวิธีเพื่อรุกทางการเมืองที่แต่ ละกลุ่มจัดตั้ง(ทั้งในรูปองค์กรเปิด หรือ กึ่งเปิดกึ่งปิด หรือ ปิด) มีความถนัดบนสถานการณ์ที่เป็นจริง ซึ่งเพื่อให้เข้าใจถึงการใช้ยุทธวิธีที่หลากหลายในการต่อสู้ มีต้นแบบที่ประสบความสำเร็จมาแล้วให้พิจารณาเพื่อประยุกต์ใช้เข้ากับ สถานการณ์อย่างยืดหยุ่น ซึ่งมี 3 โมเดลดังนี้

1. นิคารากัวโมเดล กลุ่มซานดินิสต้า(ชื่อย่อภาษาสเปนคือ FSLN- Frente Sandinista de Liberación Nacional) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1961 มีเป้าหมายหลักคือ ให้เจตจำนงของออกุสโต่ ซานดิโน่ อดีตผู้นำนักปฏิรูปที่ถูกลอบสังหารบรรลุนั่นคือ โค่นล้มอำนาจของเผด็จการโซโมซ่า และลดการครอบงำของสหรัฐฯแต่เนื่องจากความซับซ้อนของสังคม และมุมมองของแกนนำที่มีวิธีการจัดตั้งและต่อสู้แตกต่างกัน รวมทั้งมีอุดมการณ์ย่อยที่ขัดแย้งกันภายใน จึงตกลงกันให้มีรูปแบบการจัดตั้งตาม ‘ร่วมทางยุทธศาสตร์ แยกทางยุทธวิธี’ ผสมเข้ากับการหาทางสร้างแนวร่วมกับศาสนจักรโรมันคาธอลิก เกิดเป็นขบวนที่แยกแนวทางการต่อสู้ทางยุทธวิธี 3 แนวคือ

- สู้รบนอกแบบยาวนานในชนบท (GPP-guerra popular prolongada)หาการสนับสนุนและสร้างฐานที่มั่นจากชาวนาในชนบทเพื่อรบยืดเยื้อแบบลัทธิเหมา ผสมลัทธิเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ของนักบวชคาธอลิกนอกคอก นำโดยกลุ่มนักปฏิวัติที่มีเชื้อสายพื้นเมืองที่พยายามประยุกต์คำสอนและวิถี ชีวิตของพระเยซูเข้ากับลัทธิมาร์กซ โดยมีคำขวัญง่ายๆคือ ‘พระเยซูคือมาร์กซิสท์ที่แท้จริงคนแรก’ ถือว่าภารกิจของนักบวชคริสต์และศาสนจักร ไม่ใช่การยกระดับจิตวิญญาณหรือไถ่บาป แต่ต้องช่วยปลดปล่อยมวลชนผู้ถูกกดขี่ให้ได้รับความยุติธรรมทางสังคมพร้อมไป ด้วย ผลของแนวคิดนี้ถือการปฏิวัติไม่ขัดแย้งกับศาสนาจักรโรมันคาธอลิก

- ทำสงครามและลุกฮือในเขตเมือง(TP- tendencia proletaria) ยึดแนวทางทรอตสกี้และเลนินสร้างฐานมวลชนจากกรรมกรและปัญญาชนในเมืองหลัก กลุ่มนี้เชื่อมโยงเครือข่ายเข้ากับค่ายโซเวียต/ยุโรปตะวันออก

- สร้างแนวร่วมหลากหลาย/ลุกฮือฉาบฉวยหากมีจังหวะ หรือ ‘ทางสายที่สาม’ (TI- tercerista/insurrecctionista) นำโดย 3 พี่น้องออร์เตก้า ประสานการต่อสู้ระหว่างกลุ่มกำลังต่างๆในประเทศ แม้กระทั่งพวกที่แสวงหาแนวทางรัฐสภา รวมทั้งประสานข้ามชาติกับปัญญาชนเสรีนิยมและซ้ายสากล เน้นยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์ผ่านปฏิบัติการครึกโครมเพื่อสะท้อนความเหลวแหลก ของรัฐบาลโซโมซ่า กลุ่มนี้เชื่อมโยงและได้รับการฝึกอาวุธจากคิวบา

            การต่อสู้ของทั้งสามแนวทางพร้อมกันโดยไม่มีส่วนใดชี้นำ (แม้จะมีการประชุมเพื่อประสานกันเป็นระยะอย่างไม่ต่อเนื่องเพื่อประเมิน สถานการณ์) ในระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จมากนัก  โดย เฉพาะศาสนจักรคาธอลิกกระแสหลักซึ่งมีอิทธิพลและขึ้นต่อวาติกัน ไม่ยอมรับแนวทางของกลุ่มเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ยกเว้นกลุ่มที่สามที่สามารถสร้างผลสะเทือนจากการลักพาตัว ยึดสถานที่ราชการบางแห่ง และลอบสังหารคนของรัฐบาลบางคน เพื่อแลกกับการออกอากาศและตีพิมพ์โฆษณาอุดมการณ์ของตน แต่ก็ต้องเผชิญกับการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลโซโมซ่าเช่นกัน

            จุดผกผันของซานดินิสต้า  เกิดขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ค.ศ. 1972 ในเมืองหลวง มานากัว ทำให้มีคนตายและบาดเจ็บจำนวนมาก เงินและสิ่งของบรรเทาทุกข์จากนานาชาติถูกแปรเป็นความร่ำรวยของเจ้าหน้าที่ รัฐและตระกูลโซโมซ่าอย่างเต็มที่ ทำให้ตระกูลที่มีอำนาจทางการเมืองใหญ่ๆ และ ศาสนจักรคาธอลิก หันมาโจมตีโซโมซ่า แต่ถูกตอบโต้ด้วยการลอบสังหารคนของตระกูล และคุมขังนักบวชคาธอลิก ผลักดันให้ซานดินิสต้ามีพันธมิตรใหม่ที่สำคัญเพิ่มขึ้น และเพิ่มปฏิบัติการลักพาตัว และลอบสังหารในเขตเมืองรุนแรงมากขึ้น

            ในปลายปี  ค.ศ. 1974 กลุ่มปฏิบัติการของซานดินิสต้าบุกเข้ายึดงานเลี้ยงของกระทรวงเกษตรและยึดตัว ประกันรวมทั้งคนในตระกูลโซโมซ่าด้วย ยิงทิ้งรัฐมนตรีเกษตร และได้รับเงินค่าไถ่ตัวประกัน 2 ล้านดอลลาร์ ต่อรองให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองสำคัญของกลุ่ม 14 คน และได้ออกอากาศแถลงการณ์ของกลุ่มเต็มฉบับผ่านทางวิทยุ และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศ แต่ที่สำคัญ ทำให้รัฐบาลโซโมซ่ารับปากว่าจะเพิ่มเงินเดือนให้ทหารชั้นผู้น้อยในกองทัพคน ละอย่างต่ำ 500 คอร์โดบา(มาตราเงินท้องถิ่น)

            ผลของปฏิบัติการดังกล่าว คือการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว กลุ่มศาสนจักรคาธอลิก กลุ่มทุนใหญ่ของประเทศ(กลุ่ม 12) และกลุ่มทหารชั้นผู้น้อย ได้เริ่มต้นใส่ ‘เกียร์ว่าง’ กับรัฐบาลโซโมซ่าอย่างจริงจังนับแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งยิ่งทำให้แนวร่วมซานดินิสต้าเพิ่มมากขึ้น สามารถปฏิบัติการเชิงรุกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ

            ท้ายสุดโซโมซ่าก็ถูกโดดเดี่ยว  จนต้องพาครอบครัวหนีไปลี้ภัยในปารากวัย  ใน ค.ศ. 1979 และถูกกลุ่มไล่ล่าตามไปวางระเบิดเสียชีวิตในรถยนต์

            เมื่อสิ้นรัฐบาลโซโมซ่า ซานดินิสต้าที่แตกกลุ่มทางยุทธวิธีได้กลับมาเจรจาเพื่อรวมตัวกัน เตรียมพร้อมสำหรับยุทธศาสตร์ใหม่มุ่งเข้าสู่การเมืองแบบประชาธิปไตยในเวที รัฐสภาและการเลือกตั้งในทุกระดับ ในฐานะพรรคการเมืองแบบเปิด พร้อมกับยกเลิกรูปแบบการจัดตั้งที่มุ่งใช้ความรุนแรงอันเป็นยุทธวิธีเดิมที่ เคยใช้ต่อสู้กับเผด็จการ เพราะธาตุแท้พวกเขาคือ เป็นมากกว่านักปฏิวัติ แต่มุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมที่ดีกว่า

            นิคารากัวประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่บนรากฐานความคิดปฏิรูปของซานดิโน่แต่ เดิม พร้อมกับประกาศเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งผลลัพธ์ปรากฏว่า กลุ่มซานดินิสต้าได้รับคะแนนนิยมล้นหลาม เข้ายึดกุมอำนาจรัฐทั้งในรัฐสภาและในตำแหน่งบริหาร จนกระทั่งอเมริกาประกาศคว่ำบาตรทางการค้ากับนิคารากัวทุกชนิด พร้อมสนับสนุนเจ้าที่ดินให้ก่อตั้งกองกำลังอาวุธคอนตร้าต่อสู้กับ รัฐบาล ทำให้มีคนตายจำนวนหลายหมื่นคน ทำให้เศรษฐกิจประเทศเริ่มทรุดโทรมอย่างรุนแรง แต่นิคารากัวก็ไม่หวนกลับไปสู่เส้นทางการรัฐประหารหรือยึดอำนาจเผด็จการอีก เพราะยังคงเปิดช่องทางเปลี่ยนอำนาจผ่านการเลือกตั้ง ที่แม้กลุ่มซานดินิสต้าจะแพ้เลือกตั้งหลายครั้งในการเป็นรัฐบาล แต่ก็ยังคงใช้เวทีรัฐสภาผลักดันนโยบายสำคัญของตนเองต่อมาโดยไม่หวนกลับไปใช้ ความรุนแรงอีก จนกระทั่งกลับมาครองอำนาจอีกครั้งผ่านกระบวนการเลือกตั้งในปัจจุบัน

            การสนับสนุนอันแข็งขันของมวลชนต่อซานดินิสต้า และการสร้างพันธมิตรกับต่างชาติอย่างได้สมดุลของรัฐบาลนิคารากัว  ทำให้ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯถูกบีบให้ลดปฏิบัติการต่อต้านนิคารากัวลงเกือบ ทั้งหมด

2.โมเดลเนปาล นับแต่คริสต์ศักราช1960 เป็นต้นมา ราชสำนักเนปาลใช้ยุทธศาสตร์หลอกล่อประชาชนที่รักประชาธิปไตยโดยให้มีการ เลือกตั้งแบบลักปิดลักเปิดสลับการยึดอำนาจคืนโดยอาศัยช่องโหว่รัฐธรรมนูญ หลายครั้ง ทำให้บรรดาผู้รักประชาธิปไตยส่วนหนึ่งสรุปได้ว่า กษัตริย์เนปาลใช้ระบอบสมบูรณายาสิทธิราช จะไม่มีวันยอมให้เกิดประชาธิปไตยจากเบื้องบนแน่นอน พวกเขาส่วนหนึ่งจึงมองเห็นว่า ราชสำนักคือปัญหาความล้าหลังของชาติ ดำเนินการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสท์แห่งเนปาล-CPN(UC) ขึ้นมาใน ค.ศ. 1990 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการต่อสู้ด้วยอาวุธในชนบท โดยยึดหลักความคิดเหมา เจ๋อ ตงที่ว่า อำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืน แต่เนื่องจากมองเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังไม่พร้อมยอมรับการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธเต็มที่ จึงจัดตั้งพรรคลูกขึ้นมาเป็นกองหน้าในเขตเมืองชี่อพรรคSJM เพื่อต่อสู้ในรัฐสภาอย่างถูกกฏหมาย ทั้งสองพรรคชูคำขวัญเดียวกันคือ ชาตินิยม ประชาธิปไตย และ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (nationalism, democracy and livelihood)

ต่อมา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการต่อสู้ 2 เวที CPN(UC) กับ SJM จึงแยกตัวเป็นอิสระจากกันใน ค.ศ.1996 โดย CPN เปลี่ยนชื่อเป็น CPN(Maoist) ดำเนินการทำ ‘สงครามประชาชนในเขตชนบทอย่างเต็มรูป ส่วน SJM ทำการต่อสู้ในรัฐสภาอย่างเดียวเพื่อทำการเปิดโปงสภาพรัฐล้มเหลว’ ภายใต้บงการของราชสำนักที่ยอมสิโรราบต่ออินเดียอย่างชัดเจน

ประจันดา ผู้นำพรรค CPN(Maoist) ได้ประกาศแผนงานการเมืองเรียกว่า ลัทธิมาร์กซ-เลนิน ความคิดเหมาเจ๋อตง ตามแนวทางประจันดา พร้อมกับประกาศยุทธศาสตร์การต่อสู้ 5 ช่องทางเพื่อสร้างแรงเหวี่ยงทางการเมือง ภายใต้ยุทธวิธีที่ไม่ยึดถือแนวทาง ‘ป่าล้อมเมือง’ แบบเหมา แต่เรียกว่า กลยุทธ์กิ้งก่าเปลี่ยนสี ที่ประกอบด้วย

แนวทางมวลชน (กิจกรรมทางการเมือง) ปลุกระดมมวลชนในชนบทเพื่อเตรียมต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ สร้างฐานที่มั่นและอำนาจรัฐของประชาชนต่อต้านราชสำนัก โดยมุ่งการสร้างฐานสนับสนุนจากมวลชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อสู้ด้วย อาวุธ

สร้างแนวร่วม(เครือ ข่ายพันธมิตรประชาธิปไตย) ส่งผู้ปฏิบัติงานเข้าไปร่วมต่อสู้กับมวลชนในประเด็นการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับจิตสำนึกทางการเมืองของมวลชนผ่านรูปแบบหลากหลาย เช่นสหพันธ์นักเรียน สหกรณ์สินเชื่อ สหกรณ์เกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ

กองกำลังอาวุธ(โจม ตีด้วยความรุนแรง) ทำการโจมตีสำนักงานรัฐโดยเฉพาะสถานีตำรวจในชนบท โดยยกเว้นการโจมตีกองทหารในกรณีจำเป็น แต่ไม่เน้นการทำสงครามยืดเยื้อ หากหวังใช้ความรุนแรงเป็นการสร้างแรงเหวี่ยงทางการเมืองในระดับประเทศ ทั้งการเผยความอ่อนแอของรัฐบาล และการปกป้องผู้ร่วมต่อสู้ในแนวทางอื่นๆ

สงครามการเมือง(ปลุก ระดมมวลชนสร้างการเมืองบนท้องถนนและนอกรัฐสภาในเขตเมืองด้วยความไม่รุนแรง เช่นปิดถนนชุมนุมอภิปราย) เพื่อปลุกเร้ามวลชนให้มองเห็นความอ่อนแอของอำนาจรัฐ พร้อมกับเสนอแนวทางเจรจาเพื่อสันติภาพร่วมไปด้วยเป็นระยะๆ

ต่อสู้ทางสากล สร้างพันธมิตรกับพรรคหรือชาติหรือกลุ่มการเมืองหรือสื่อมวลชนในต่างประเทศ อย่างกว้างขวาง เพื่อเผยแพร่แนวทางการต่อสู้ให้เกิดความชอบธรรม และต่อต้านการช่วยเหลือจากต่างประเทศที่มีต่อรัฐบาลเนปาลของราชสำนัก

กลยุทธ์กิ้งก่าเปลี่ยนสีของCPN(Maoist) ที่สอดประสานกับการต่อสุ้ทางรัฐสภาของSJM ได้บั่นทอนอำนาจรัฐของรัฐบาลใต้ราชสำนักอย่างรุนแรง จนกระทั่งราชสำนักต้องดำเนินการขั้นแตกหักนั่นคือกระชับอำนาจเบ็ดเสร็จโดย การยึดอำนาจและล้มรัฐธรรมนูญเก่าสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งถือเป็นการเร่งฆ่าตัวตายเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะทำให้มวลชนมองเห็นความเลวร้ายของราชสำนักอย่างโดดเด่นในฐานะปัญหาหลัก ของชาติชัดเจน ทำลายความชอบธรรมในอำนาจจนหมดสิ้น

CPN(Maoist) จับมือกับ SJM ได้พยายามสร้างกระแสรุกทางการเมือง ด้วยการยื่นข้อเสนอเจรจาสันติภาพกับราชสำนักหลายครั้งโดยให้มีคนกลางเข้ามา ร่วมด้วย แต่ถูกปฏิเสธ ทำให้ CPN(Maoist)ตัดสินใจรุกฆาตด้วยการลงมือโจมตีกองทหารอย่างจริงจัง จนกระทั่งสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในชนบทเอาไว้ได้ และเมื่อมวลชนในเขตเมืองเริ่มกระแสต่อต้านราชสำนักมากขึ้นจนถึงระดับปฏิเสธ อำนาจของราชสำนักถึงขั้นลุกฮือเดินขบวนต่อต้านอย่างกว้างขวางในเมืองหลวง กองกำลังของ CPN(Maoist)จึงประกาศเข้าล้อมเมืองหลวงเพื่อหวังเผด็จศึก

หลังจากการต่อสู้ที่มีความสูญเสียจำนวนมาก พรรค CPN(Maoist) ก็เห็นพ้องกับข้อเสนอของพรรค SJM ในการสร้างแนวร่วมกับกลุ่มการเมืองถูกกฎหมายอื่นๆ จัดตั้งแนวร่วมประชาชน หลังการประชุมหารือที่เมืองหลวงของอินเดีย ในปลายปี ค.ศ. 2005 เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง 12 ประการให้เนปาลมีประชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จ โดยปราศจากการแทรกแซงของราชสำนัก

ข้อเรียกร้องดังกล่าวนอกจากนำมาซึ่งบทอวสานของราชสำนักเนปาลในอำนาจการเมืองแล้ว ยังหมายถึงการสิ้นสุดการใช้ความรุนแรงทุกชนิดของ CPN(Maoist) ด้วย

ประจันดา ประกาศว่า การใช้ความรุนแรงเป็นยุทธวิธีที่จำเป็นระยะหนึ่งกับพวกเผด็จการ และเมื่อหมดความจำเป็นก็พร้อมสำหรับการต่อสู้ในทางรัฐสภา ดังนั้นพรรค CPN(Maoist) จึงรวมตัวกับพรรคSJM เพื่อเตรียมการเลือกตั้งโดยมีสหประชาชาติเป็นสักขีพยาน ซึ่งผลลัพธ์ออกมา ปรากฏว่า พรรค CPN(Maoist) ได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา และแม้ว่าต่อมา ประจันดาที่ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีจะลาออกจากตำแหน่งเพราะขัดแย้งทางการ เมือง แต่ก็ยังคงยืนกรานต่อสู้ในแนวทางสันติวิธีต่อไป ไม่กลับไปสู่การต่อสู้ด้วยอาวุธอีกต่อไป

3. โมเดลเครือข่ายสังคม (social networks) รูปแบบการจัดตั้งนอกจารีตที่ถูกประดิษฐ์ใหม่ของยุคหลังปฏิวัติสื่อสารโทร คมนาคมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ถือเป็นรูปแบบการจัดตั้งที่ยืดหยุ่นและมีพลังมากที่สุดสำหรับคนร่วมสมัย ผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันสามารถเขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการที่ประกอบด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป และ บล็อก

บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในโลกร่วมสมัย ได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดย เว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น ไฮไฟฟ์เป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ส่วนบริการเครือข่ายสังคม ที่ทำขึ้นมาสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ คือ บางกอกสเปซ

โครงสร้างง่ายๆของเครือข่ายสังคม เรียกกันว่า เครือข่ายว่าว (ดูรูปประกอบ)


 


เครือข่าย สังคม ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักคือ สมาชิกส่วนบุคคล และ สายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในรูปเครือข่าย (เครือข่ายส่วนตัว หรือ เครือข่ายองค์กร) โดยยอมรับเอาความหลากหลายของสมาชิกแต่ละคนว่า สามารถที่จะสร้างเครือข่ายส่วนตัวได้มากกว่า 1 เครือข่ายที่มีลักษณะแตกต่างกัน แต่ละเครือข่ายจะเชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้นใกล้ชิดได้อย่างน้อย 6 ราย และไม่เกิน 159 ราย โดยมีตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ 114 ราย

ความแน่น แฟ้นของเครือข่าย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาระและเป้าหมายที่เครือข่ายใช้สื่อสารสัมพันธ์ กันว่าต้องการเปิด หรือ ปิด ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานพิจารณา ‘ทุนทางสังคม’ของเครือข่ายต่างๆได้ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ละเครือข่ายก็สามารถที่จะตัดสินใจว่าจะยินยอมให้เชื่อมต่อเข้ากับเครือ ข่ายอื่นๆได้มากน้อยเท่าใด จึงถือได้ว่า เครือข่ายดังกล่าวถือเป็นประชาธิปไตยทางตรง มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบพหุนิยมอย่างเต็มที่ นอกเหนือจากประชาธิปไตยแบบตัวแทนตามจารีตเดิม

โดยทั่วไป แล้ว เครือข่ายที่ประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่สมาชิกทั้งหมดร่วมวางกันเอาไว้ จะพร้อมที่จะเปิดรับหรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งเท่ากับแต่ละเครือ ข่ายสังคม สามารถที่จะเป็นองค์กรจัดตั้งกึ่งเปิดกึ่งปิดได้อย่างสะดวก และสามารถแยกแยะมิตรหรือศัตรู (หรือเราและคนอื่น) ได้ง่ายและเร็ว เพราะสามารถตรวจสอบข้อมูล เพิ่มเติมข้อมูล และลบทิ้งข้อมูลได้สะดวกทั้งทางตรงและอ้อม ถือเป็นรูปองค์กรจัดตั้งเคลื่อนที่เร็วที่มีประสิทธิภาพสูง

ทั้ง 3 โมเดลดังกล่าว สามารถนำมาผสมผสานใช้ได้ในเชิงยุทธวิธีอย่างหลากหลายเป็นรูปธรรมภายใต้สาระ ของการเอาชนะทางการเมือง และออกแบบสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืนพร้อมกันไปเพื่อเตรียม พร้อมสำหรับการสถาปนาสังคมประชาธิปไตยพหุนิยมและนิติรัฐที่สอดคล้องกับแนว ทาง ‘ยุติธรรมอย่างเสมอหน้า  ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม’ ที่เป็นรูปธรรมและมีการเตรียมให้รอบคอบล่วงหน้า โดยไม่ต้องรอ ‘ท่านผู้นำ’ ที่ประทานจากฟากฟ้าที่ไหนๆเพื่อป้องกันสภาพหนีเสือปะจระเข้  อันหมายถึงการที่มีชนชั้นปกครองใหม่ ทรยศต่อการต่อสู้และ สวมรอยนำเอาชุดความคิดหรือกระบวนทัศน์เก่ามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรูปแบบการ กดขี่ปวงชั้นที่ไม่ต่างจากเดิม เสมือนผีเก่าเข้าสิงร่างใหม่

เงื่อนไข สำคัญของการก้าวข้ามเพื่อปฏิวัติประชาธิปไตยที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้ ถือเป็นแนวทางที่สามารถ ยกระดับทางด้านจิตสำนึกและอุดมการณ์เข้ากับการต่อสู้กระบวนการขับเคลื่อนที่ จัดตั้งเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาสมรรถนะจากปริมาณสู่คุณภาพ แสวงหาโอกาสในการต่อสู้ในทุกปริมณฑล ทั้งถูกกฎหมาย กึ่งถูกกฎหมาย ผิดกฎหมาย และทางสากล ไม่ปฏิเสธรูปแบบที่เป็นไปได้ที่จะแสวงหาความยืดหยุ่นในการต่อสู้โดยไม่หลง เข้าสู่กับดัก ‘เป้าหมายสำคัญกว่าวิธีการ’ หรือ ‘วิธีการดี สู่เป้าหมายที่ดี’อย่างเถรตรง

ความสามารถ ของผู้รักประชาธิปไตยในการก้าวข้ามเพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย ตามแนวทางนี้ คนส่วนใหญ่ก็ได้ยอมรับกันแล้วว่า ประชาธิปไตยเป็นสาระของความสัมพันธ์เชิงอำนาจและผลประโยชน์ของสังคมที่ก้าว หน้าที่สุด ตราบใดที่กระบวนทัศน์หลักของสังคมยึดมั่นในหลักการเรื่องความเสมอภาคทาง สังคม ที่ตั้งบนฐานรากของการเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกันของชนชั้นต่างๆ โดยยอมรับว่าสังคมมีชนชั้นได้ แต่ก็สามารถทำให้สมาชิกเลื่อนชนชั้นได้หลักการเรื่อง เสรีภาพของการมีส่วนร่วม ความยุติธรรม เสมอภาค และความสามารถในการปรับปรุงตนเอง ซึ่งจะทำให้ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนทั้งที่เป็นแบบตัวแทนหรือทางตรงให้เกิด ขึ้นได้ เพราะมีการเตรียมการอย่างรอบคอบล่วงหน้า เพื่อป้องกันสภาพหนีเสือปะจระเข้  (อันหมายถึงการที่มีชนชั้นปกครองใหม่ ทรยศต่อการต่อสู้และ สวมรอยนำเอาชุดความคิดหรือกระบวนทัศน์เก่ามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรูปแบบการ กดขี่ปวงชั้นที่ไม่ต่างจากเดิม เสมือนผีเก่าเข้าสิงร่างใหม่) ที่จะนำสังคมถอยหลังกลับสู่สภาพการผูกขาดอำนาจแบบ ‘โต๊ะแชร์’ ของกลุ่มอำมาตย์

การต่อสู้เพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย ถือเป็นสงครามที่เป็นธรรม และสงครามที่เป็นธรรม ย่อมนำชัยชนะเป็นผลตอบแทนในท้ายที่สุด ขอเพียงทุ่มเทอย่างเข้าถึงและสร้างพลังที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังเท่านั้น