วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ข้อมูลจากสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับพระอาการและการเสด็จไปศิริราชโดยเฮลิคอปเตอร์หรือรถยนต์,น่าสงสัยทำไมสื่อไทยต้องโกหก?


แปลจาก น.ส.พ.Asia Sentinel ตีพิมพ์ใน Thai E-News
อ้างอิง: Thai King in Health Crisis?

บทความโพสต์ที่: สุขภาพพระอาการของของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวทรงอยู่ในขี้นวิกฤตอย่างนั้นหรือ?


เห็นเพื่อนๆ หลายท่าน ส่งข้อความหลังไมค์มาถามถึงบทความเรื่องนี้ ดิฉันก็เลยแปลคร่าวๆ ให้อ่านกัน

(ไม่ทราบว่า บทความนี้ ถูกบล๊อกในประเทศไทยหรือไม่ แต่ขอแปลแบบกลางๆ ไม่ได้ไปหมิ่นประมาทใครต่อใครกัน ภาษาอังกฤษบางประโยค ไม่ขอแปลไว้ เพราะมีเรื่องแบบ sensitive อยู่ในนั้น)

แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือ สื่อหลักๆ ของไทย ต่างรายงานกันแบบมืดมนกันหมด เกี่ยวกับการเสด็จสู่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเสนอให้เห็นว่า พระอาการของพระองค์ทรงอยู่ในขั้นวิกฤต ตามที่ Asia Sentinel ลงไว้


ท่านก็พิจารณากันเองก็แล้วกันว่า บทความนี้ มีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน...
แต่ที่เห็นแน่ๆ คือ ทางต่างประเทศได้เห็นความชัดเจนหลายอย่าง และบทความสามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ได้ทั่วโลก ในเวลาไม่นานนัก มันถึงเวลาหรือยัง ที่เราควรจะทำความเข้าใจกับเรื่องของ "Elephant in the Room" กัน แทนที่จะปฎิเสธมาเป็นเวลานานมากแล้ว??
-----------------------



-----------------------
สรุปบทความ:
เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์นำพระองค์ออกมาจากพระราชวังไกลกังวลอย่างรีบด่วน


1. มีการข่าวยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม โดยทรงเสด็จประทับเครื่องเฮลิคอปเตอร์จากพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน


2. ทางสำนักพระราชวัง ไม่ได้มีการประกาศอย่างละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพที่แท้จริงของพระองค์เลย บทความกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระราชินีทรงมีพระอาการประชวรเท่าๆ กัน และดูเหมือนกับว่าทั้งสองพระองค์ ทรงอยู่ในพระอาการ ใกล้เคียงกับการปราศจากความรู้สึกตัว (Comatose)
3. แหล่งข่าวซึ่งมีความสัมพันธ์กับทางฝ่ายวังกล่าวว่า "ในหลวงของตนเพิ่งจะเสด็จพระราชดำเนินกลับมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่มีสิ่งเลวร้ายใดๆ เกิดขึ้นกับพระองค์"
4. บทความให้การคาดการณ์ว่า เมื่อเริ่มการเปลี่ยนรัชสมัยเกิดขึ้น มีการคาดหวังว่า จะมีการไว้ทุกข์เป็นเวลานานนับเดือน พระอาการของพระองค์เป็นเรื่องของกำลังขวัญกำลังใจที่สำคัญมากๆ สำหรับประชาชนพสกนิกรจำนวน 67 ล้านคน และตามคำแถลงการณ์ของฝ่ายรัฐบาลนั้น พระองค์ไม่เคยทรงเสด็จนิวัติออกนอกประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว และพระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างถ่อมตน ถึงแม้ว่าจะมีข่าวเรื่องของความร่ำรวยอย่างมหาศาลออกมาจากทางวังก็ตาม


5. รายงานข่าวกล่าวว่า การเสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์จากพระราชวังไกลกังวลที่อำเภอหัวหินนั้น ได้สร้างความหวาดกลัวขึ้นมาอย่างฉับพลันเกี่ยวกับ โอกาสที่จะมีการเปลี่ยนรัชสมัย และบุคคลผู้ใดจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจตามมา และข้อสำคัญที่สุดคือ สถาบันพระมหากษัตริย์เองจะอยู่รอดตลอดฝั่งหรือเปล่า เมื่อมีการเปรียบเทียบบุคลิกภาพของตัวบุคคลที่จะสืบทอดตำแหน่งต่อไป รวมไปถึงการต่อสู้อย่างสุดขั้วภายในวังเองเกี่ยวกับเรื่องการครองราชย์ที่กำลังก้าวเข้ามาอย่างช้าๆ


6. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเข้าสู่โรงพยาบาลเมื่อ 8 เดือนที่แล้ว ในการผ่าตัดถุงน้ำดี (Gall Bladder) พระองค์ทรงประทับอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานานถึง 4 ปี ก่อนที่จะทรงเสด็จพระราชดำเนินออกไปที่พระราชวังไกลกังวล ในระยะเวลาสั้นๆ


7. เป็นเรื่องที่น่าเชื่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินี ทรงประสบกับพระอาการในเรื่องหลอดเลือดในสมองตีบตัน (Strokes) มาเป็นระยะๆ แล้ว ซึ่งทำให้ทั้งสองพระองค์ ทรงอยู่ในอาการเสมือนบุคคลที่ไร้ความสามารถ (Incapacitated)
8. เมื่อสุขภาพของทั้งสองพระองค์ยังย่ำแย่อยู่ ก็มีรายงานข่าวรั่วออกมาจากวังเป็นระยะๆ ในเรื่องของเพทุบาย ลับลวงพราง และแผนการเล่ห์กลต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ทางสาธารณะเองก็เริ่มมีความหวาดหวั่นในเรื่องของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทางฝ่ายทหารเองก็พยายามที่จะรักษาความศักดิ์สิทธิ์อันน่าเกรงขามของสถาบันฯ เอาไว้ ในขณะที่ตัวพลเอกประยุทธ จันทร์โอชายังอยู่ในอำนาจ ก็พยายามกำชับกวดขันในการควบคุมเรื่องสิทธิ์ของความเป็นพลเมืองและสิทธิ์มนุษยชน


9. มีการคาดคะเนกันว่า บุคคลที่จะเป็นตัวแทนของพระองค์ ก็คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ซึ่งมีพระชนมายุ 62 พรรษาแล้ว แต่ฝ่ายรัฐบาลทหารเองก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการก่อการรัฐประหาร ที่ได้รับการรับรอง (Ratified) จากทางฝ่ายวัง มีความเชื่อมาแต่ก่อนว่า สมเด็จพระบรมฯ ทรงมีความใกล้ชิดกับ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกรัฐประหารออกจากตำแหน่งไปเมื่อปี พ.ศ. 2549 แต่เมื่อปลายปีที่แล้ว แหล่งข่าวกล่าวว่า สมเด็จพระบรมฯ ทรงเปลี่ยนพระทัย ด้วยการให้การสนับสนุนกับฝ่ายพลเอกประยุทธและฝ่ายรัฐบาลทหารแทน..
10. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปรากฏตัวให้กับพสกนิกรได้เห็นกันบนเก้าอี้เข็น (Wheelchair) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล ครบรอบการขึ้นครองราชย์สมบัติ 69 ปี และพระองค์ไม่ได้ทรงตรัสถ้อยคำอะไรให้กับทางประชาชนได้ฟังกัน รวมไปถึง สมเด็จพระบรมราชินีอีกด้วย เนื่องจากว่า พระอาการทรงมีความอ่อนแอเป็นอย่างยิ่ง พระราชดำรัสที่ทรงมอบให้กับประชาชนในวันปีใหม่นั้น ได้กลายมาให้สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นผู้อ่านเอง บทความกล่าวต่อว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลกิจการภายในวังอยู่ทุกๆ วัน ในขณะที่สมเด็จพระบรมฯ เอง ทรงประทับอยู่ที่ประเทศเยอรมนี แหล่งข่าวยังกล่าวต่อว่า บุคคลภายในวังเอง ต้องการที่จะเห็นสมเด็จพระเทพฯ ขึ้นมาเป็นกษัตรีย์ (Queen) ถึงแม้ว่า จะไม่เคยมีเรื่องนี้ปรากฏขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย


11.ในขณะที่ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้ถูกนำออกมาใช้เพื่อปิดปากการวิพากย์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตาม ทางฝ่ายรัฐบาลเองก็ยังต้องพึ่งกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้อยู่ ซึ่งยินยอมให้มีการลงโทษจำคุกได้นานถึง 15 ปี สำหรับใครก็ตาม ที่ทำการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และกฎหมายนี้ ก็ตีความกันอย่างกว้างขวางมาก เพราะใครก็ได้ ก็สามารถฟ้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่า กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกัน นักวิจารณ์หลายๆ คนกล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ ถูกนำมาใช้ให้เป็นอาวุธกับศัตรูทางการเมือง โดยไม่เพียงแต่กลุ่มอำมาตย์ชนชั้นสูงเท่านั้น แต่ทางฝ่ายกองทัพเองซึ่งบริหารประเทศอยู่ในเวลานี้ ก็ทำการแบบนี้ด้วยเช่นกัน


12. ยังมีเรื่องที่น่าหัวเราะเยาะเป็นอย่างยิ่งในเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่การไล่ล่าผู้คนต้องมาถึงจุดๆ นี้ นั่นก็คือ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ทางศาลไทยได้ตัดสินให้ผู้หญิงอายุ 65 ปีที่มีอาการวิกลจริต ต้องถูกจำคุก เนื่องจากไปสบประมาทรูปของกษัตริย์ ในตอนแรกนั้น นางฐิตินันท์ แก้วจันทรานนท์ ได้ถูกตัดสินจำคุก 3 ปี แต่ทางศาลศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา หลังจากที่อัยการสั่งฟ้องต่อ ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากมาย และอาจจะถึงนับร้อยคน ที่ยังอยู่ในคุกตารางเกี่ยวกับเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่จำนวนแท้จริงนั้น ไม่มีใครทราบว่า มีเท่าไรแน่


13. ในขณะเดียวกัน ดูเหมือนกับว่า พลเอกประยุทธ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีความตั้งใจที่จะให้สัญญาว่าจะส่งอำนาจกลับคืนสู่รัฐบาลพลเรือนในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม ตารางเวลาในอนาคตก็ยังร่นเลื่อนลงไปเรื่อยๆ การโต้เถียงด้วยความกังขานั้น ก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการร่างและการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยังไม่แน่ใจว่า จะมีการทำประชามติกันหรือไม่ แต่เมื่อมองเห็นความจงเกลียดจงชังที่ทางฝ่ายรัฐบาลทหารและฝ่ายอำมาตย์ชนชั้นสูงในกรุงเทพฯ แล้ว มันก็ยังเป็นปัญหาอยู่ว่า ถ้าหากการทำประชามติเกิดผ่านขึ้นมา (ซึ่งตัวบทของมันนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อขัดขวางต่อต้าน (Thwart) การอ้างถึงการกลับมาของระบอบประชาธิปไตย) แต่เมื่อกล่าวถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลและของสื่อแล้ว สิทธิเหล่านี้ก็ยังคงเหี่ยวแห้งลงไปเรื่อยๆ ทางองค์กรสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) เองก็กล่าวเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า สิทธิ์ของประชาชนอยู่ในสภาวะ “ดิ่งเหว” (Free fall) อยู่ในเวลานี้...
**********************
Doungchampa Spencer-Isenberg 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น