วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความตลบตะแลงของเผด็จการทหาร คสช.ถูกบรรยายอย่างเป็นวิชาการ

(บางตอนจากอ.ธงชัย วนิจกุลUSA)
พฤหัสบดี, มิถุนายน 11, 2558



รัฐบาลทหารไทยกับการพูดอย่างทำอย่าง
●ที่มา ประชาไทWed, 2015-06-10 15:18
ธงชัย วินิจจะกูล และ Tyrell Haberkorn
แปลโดย พิภพ อุดมอิทธิพงศ์

สำหรับคสช.การสมานฉันท์หมายถึงการขจัดความขัดแย้งทางสังคมหรือการเมืองในภายนอก
การปรับทัศนคติหมายถึงการยอมรับความเห็นตามที่กำหนดโดยรัฐบาลทหารอย่างดุษฎี ส่วนปฏิรูปหมายถึงการย้อนเวลากลับไปก่อนจะมีระบอบประชาธิปไตย การพูดอย่างทำอย่างแบบที่ออแวลล์กล่าวไว้เกิดขึ้นในประเทศไทยภายใต้ระบอบคสช.

การพูดอย่างทำอย่างไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่หรือเกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย ในปี 2553 รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะสั่งปราบปรามอย่างรุนแรงต่อการประท้วงของคนเสื้อแดงใจกลางกรุงเทพฯเขาเรียกการปราบปรามครั้งนั้นว่าเป็น“การขอคืนพื้นที่”
ภายใต้ “ระบอบใหม่ - NewOrder”รัฐบาลอินโดนีเซียในช่วงปี 2508-2541สั่งคุมขังประชาชนหลายหมื่นคนในคุกที่อยู่บนเกาะพวกเขาเรียกว่าเป็น“โครงการด้านมนุษยธรรม - Humanitarian Project” จะในอดีตหรือปัจจุบัน การใช้วาทศิลป์เหล่านี้ไม่สามารถปกปิดความรุนแรงที่อยู่เบื้องหลังความจำเป็นที่ต้องการสร้างคำที่มีความหมายคลุมเครือเลย
การพูดอย่างทำอย่างของรัฐบาลทหารไทยในปัจจุบันแตกต่างจากการใช้วาทศิลป์ในยุคเดิมอยู่บ้างบางประการ

ประการแรก การพูดอย่างทำอย่างของรัฐบาลทหารประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เพราะมีผู้สนับสนุน พวกเขาเป็นผู้มีอิทธิพลและร่ำรวยในสังคมไทย,คนเหล่านี้มีความเข้าใจคล้ายคลึงกันในแนวคิดหลักๆสำหรับรัฐบาลทหารและบรรดาผู้สนับสนุนประชาธิปไตยของพวกเขาหมายถึงระบอบปกครองของคนดีที่ไม่โกงเป็นผู้ที่สามารถทำให้เกิด“ความสามัคคี”ซึ่งเป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมไทย พวกเขาเชื่อมั่นในเอกลักษณ์ของ“ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”การมีรัฐบาลของ“คนดี”ที่ปกครองประเทศในพระปรมาภิไธยของกษัตริย์ผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ,พวกเขาให้ความใส่ใจกับวิธีการปกครองน้อยกว่าศีลธรรมจรรยาตรงข้ามกับประชาธิปไตยแบบตะวันตกซึ่งพวกเขามองว่าส่งผลให้เกิดระบอบที่ชาวบ้านที่โง่เขลาเลือกตั้งนักการเมืองเข้ามาโกงกินบ้านเมืองถือว่าเป็นมรดกของการเมืองโบราณแบบพุทธ อย่างไรก็ดีคำว่า“ธรรมภิบาล”ในภาษาไทยซึ่งแปลมาจาก “good governance”มีความหมายว่า“การกำกับดูแลโดยธรรม”หรือการกำกับดูแลโดยกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ “ความสามัคคี” ซึ่งหมายถึงการรักษาระเบียบสังคมและการปราศจากความขัดแย้งร้ายแรงกลายเป็นหลักการสำคัญของการกำกับดูแลโดยธรรมภายใต้กรอบความคิดเช่นนี้ความสมานฉันท์ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความจริงหรือความยุติธรรมแต่กลับหมายถึงความสามัคคีที่เห็นได้จากภายนอกโดยมีการกลบเกลื่อนเสียงที่เห็นต่างและซุกอยู่ใต้พรม

ประการที่สอง มีช่องว่างใหญ่หลวงในแง่ความเข้าใจถ้อยคำเหล่านี้ เปรียบเทียบระหว่างผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารฝ่ายหนึ่งกับผู้ที่เห็นต่างและประชาคมนานาชาติอีกฝ่ายหนึ่ง รัฐบาลทหารทราบดีว่าประชาชนจำนวนมากต่อต้านการปกครองของตนเองและไม่ได้หลงเชื่อไปกับการพูดอย่างทำอย่างของพวกเขาแม้เพียงชั่วขณะเดียว

รัฐบาลทหารตระหนักดีถึงความบกพร่องเช่นนี้ แต่ยังคงใช้วิธีพูดอย่างทำอย่างเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับผู้สนับสนุนฝ่ายตนเองเป็นเหตุให้รัฐบาลทหารต้องหาทางจัดการกับช่องว่างระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนตนเองกับฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะประชาคมนานาชาติฝ่ายที่ส่งเสียงวิจารณ์ในประเทศต้องเผชิญกับการคุกคาม การจับกุมและการคุมขัง,เมื่อต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์กับทั้งองค์การสหประชาชาติ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล,ฮิวแมนไรท์วอทช์และรัฐบาลจากทั่วโลก,รัฐบาลทหารทำได้แค่ปฏิเสธอย่างรวบรัดว่าไม่เคยละเมิดสิทธิมนุษยชน,ไม่เคยจำกัดเสรีภาพและไม่เคยแทรกแซงประชาธิปไตย
การปราบปรามภายในประเทศอย่างเข้มงวดพร้อมกับการเพิกเฉยต่อเสียงวิจารณ์ของประชาคมนานาชาติต่างมุ่งตอบสนองความต้องการที่จะกระชับและตอกย้ำความสนับสนุนในประเทศของตนเอง

ประการที่สามและสำคัญสุด การพูดอย่างทำอย่างอย่างต่อเนื่องและซ้ำซาก ประกอบกับการใช้กฎหมายเอาผิดผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารเป็นการปิดกั้นไม่ให้เกิดความจริง,ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ก่อความรุนแรงลอยนวลพ้นผิด,ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันใช้ถ้อยคำบิดเบือนอ้างว่าการควบคุมตัวและทรมานเป็น“การปรับทัศนคติ”เป็นการใช้แนวทางเดิมแบบที่เคยเป็นมาซึ่งในอดีตรัฐไทยได้เคยปราบปรามพลเมืองมาในหลายเหตุการณ์รวมทั้งการสังหารประชาชนโดยไม่ต้องกังวลว่าต้องรับผิด,ล่าสุดในกระบวนการประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเหตุให้มีการฟ้องคดีอาญานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและพรรคพวกเมื่อปลายปี2556ต่อศาลอาญาในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาจากการปราบปรามนองเลือดเมื่อปี2553,พวกเขาอ้างว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งให้ปราบปรามผู้ชุมนุมเพียงแต่มุ่ง“ขอคืนพื้นที่”ของผู้ชุมนุมแต่ตามเงื่อนไขกฎหมายที่ยังคลุมเครือศาลอาญามีคำสั่งยกฟ้องคดีต่อพวกเขา ภายหลังรัฐประหารล่าสุด

รัฐบาลทหารในปัจจุบันยังคงยืนยันว่าพวกเขาเป็นนักปฏิรูปที่ทำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อสร้างความสมานฉันท์และคืนความสุขให้กับคนไทยและอ้างว่าตนเองไม่ได้เป็นเผด็จการ พวกเขารู้ดีว่าระบบตุลาการถือหางพวกเขาอยู่ หรือไม่ก็สามารถใช้ประโยชน์เพื่อทำให้การพูดอย่างทำอย่างของพวกเขาชอบด้วยกฎหมาย และสามารถปลดเปลื้องความรับผิดใดๆ

แต่ในขณะที่เสียงต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการประท้วงอย่างสงบในโอกาสครบรอบหนึ่งปีของรัฐประหารซึ่งนำไปสู่การจับกุมและควบคุมตัวนักศึกษากว่า50คนเริ่มทำให้เห็นรอยร้าวบนฉากหน้าแห่งความปรกติที่รัฐบาลทหารใช้วาทศิลป์แบบพูดอย่างทำอย่างสร้างเอาไว้,แม้จะมีการปล่อยตัวนักศึกษาโดยไม่ตั้งข้อหาแต่เพิ่งมีการตั้งข้อหาในตอนนี้ การชะลอการออกหมายเรียกนักศึกษาอย่างน้อย11คนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาต่อพวกเขาในวันที่8มิถุนายนก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นรูปธรรมของการพูดอย่างทำอย่าง รัฐบาลทหารคงหวังว่าจะลดกระแสความไม่พึงพอใจลงได้บ้าง,พวกเขาอาจหวังว่าประวัติศาสตร์การลอยนวลพ้นผิดที่ผ่านมาคงทำให้เขามีเวลาเหลือเฟือที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไป

รัฐบาลทหารปัจจุบันใช้การพูดอย่างทำอย่างเป็นยุทธศาสตร์หลักในการปกครองประเทศและเปลี่ยนให้เป็นศิลปะแห่งความเหลวไหล,คนที่ใส่ใจต่อคนไทยอย่างพวกเราคงต้องให้ความหมายที่แท้จริงต่อคำว่า“ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”ซึ่งไม่มีอะไรต่างไปจากคำที่ใช้เรียกขานเผด็จการแบบในอดีตนั่นเอง

หมายเหตุ:
ธงชัย วินิจจะกูลเป็นศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ที่ University of Wisconsin-Madison
Tyrell Haberkorn เป็นอาจารย์สอนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมที่ Australian National University

แปลจาก
The Thai junta’s doublespeak, New Mandala

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น