ศุลี ศรีอีสาน
มีนาคม 2558
กลางเดือนกุมภาพันธ์
2558 บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยชื่อ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) หรือ
SAMCO ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ได้แจ้งรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท
ที่จะมีผลใช้บังคับในเดือนมีนาคม 2558 เป็นต้นไป
เอกสารระบุว่า
บริษัทอาร์พีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ RPC ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เช่นกัน ปัจจุบันถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 25.25 ของสัมมากร
จะซื้อหุ้นจำนวน 135,564,380 หุ้น
หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 23.00 ของผู้ถือหุ้นลำดับที่1 และลำดับที่ 3 ภายในเดือนมีนาคม 2558 ส่งผลให้มีสัดส่วนการถือหุ้นเป็นร้อยละ 48.25
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าในสมุดทะเบียนล่าสุดของ
RPC มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดคือ นายวิชัย
ทองแตง นักกฎหมายชื่อดัง และเป็นนักลงทุนที่มีพฤติกรรมล่ากิจการคนสำคัญร่วมสมัย
ที่คนทั่วไปเรียกเขาว่า “ทนายทักษิณ”
การซื้อขายดังกล่าว ทำให้สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า
“SAMCO พุ่งชนเพดาน 29.31% รับวิชัย ทองแตงนำ RPC ถือหุ้นเพิ่ม”
และชื่อของวิชัย ทองแตง ก็มีผลทำให้ราคาหุ้นวิ่งชนเพดานติดต่อกัน 3 วันรวด
ก่อนจะโรยตัวลงเมื่อข้อเท็จจริงใหม่ระบุว่า ไม่มีชื่อของวิชัย เกี่ยวข้องอีกแล้ว
ข้อมูลผู้ถือ บริษัท อาร์พีซีจี จำกัด (มหาชน)
หรือ RPC ณ
วันที่ 27/02/2558
ส่วนผู้ขายตามที่ระบุในเอกสารชี้แจงนั้น
หากดูสมุดทะเบียนของ SAMCO จะพบว่า ได้แก่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ภูมิพล) ที่เดิมถือหุ้น 171,219,800 หุ้นหรือ 29.05% และ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย
ศรสงคราม (หลานสาว ลูกของอดีตพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์)
ที่เคยถือหุ้น 40,891,400 หุ้น หรือ 6.94 %
เข้อมูลผู้ถือหุ้น บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน)
หรือ SAMCO ณ วันที่ 27/02/2558
ผลลัพธ์จากการซื้อขายดังกล่าว
ทำให้ หลังจากการซื้อขายแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นของ RPC ใน SAMCO จะเปลี่ยนไปจากเดิม 25.25% มาเป็น 48.25% ในขณะที่ สัดส่วนของกษัตริย์ภูมิพล จะลดลงจาก 29.05% เป็น 8.26% และหลานสาว จะลดจาก 6.94% เป็น 4.73% ซึ่งเท่ากับในทางปฏิบัติ แล้ว RPC จะเข้าไปถือหุ้นที่เข้าไปบริหารกิจการใน SAMCO
ได้อย่างเต็มที่ หลังจากวันที่ตกลงในสัญญา
ความน่าสนใจของการซื้อขายหุ้น SAMCO
ครั้งนี้อยู่ที่ว่า มีเงื่อนไขระบุชัดถึงความได้เปรียบที่ผู้ขายมีต่อผู้ซื้ออย่างชัดเจนว่า
การซื้อหุ้นครั้งนี้ ผู้ซื้อคือ RPC จะไม่ได้รับเงินปันผลจำนวน
0.15 บาท/หุ้น เนื่องจาก SAMCO ประกาศกำหนดสิทธิการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ปรากฏรายชื่อ
ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล ในวันที่ 26 ก.พ.58 เท่ากับว่า คนขายหุ้นของภูมิพลกับหลานสาว
นอกจากขายหุ้นได้ราคาดีแล้ว ยังได้แถมพอรับเงินผันผลต่อแก
ทั้งที่ไม่ได้ถือหุ้นอยู่ในมืออีกแล้ว
เรียกว่า ภูมิพล และหลานสาว ใช้อภิสิทธิ์จนหยดสุดท้าย
ก็ว่าได้
คำถามที่คนไทยอยากถาม
แต่ไม่กล้าเอ่ยปากในประเทศไทยอย่างเปิดเผย คือ
1) การซื้อขายหุ้นดังกล่าว
มีแรงจูงใจอะไร ทั้งฝั่งของผู้ซื้อและผู้ขาย
2) ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิพล
และหลานสาว กับวิชัย ทองแตง(ในนามของ RPC)
3) เหตุใดสัดส่วนการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นหมายเลข 4 ของ SAMCO
จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เพื่อทำความเข้าใจกับเงื่อนงำดังกล่าว
จะต้องย้อนกลับไปทบทวนความเป็นมาของกิจการทั้งของ SAMCO และ RPC เสียก่อน
SAMCO
เดิมเป็นบริษัทส่วนตัวเพื่อรับจัดการหารายได้จากที่ดินในมือของทรัพย์สินส่วนกระองค์
โดยพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บ้านสัมมากร บนที่ดินที่เป็นทุ่งนาเดิม ที่ถนนสุขาภิบาลสาย
3 (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของถนนรามคำแหง)ในเขตสะพานสูง กทม.มายาวนานหลายทศวรรษ
ในปี 2536
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์ของไทยกำลังเฟืองฟูอย่างรุนแรงจากกระแสโลกาภิวัตน์หลังยุคสงครามเย็น
ผู้ถือหุ้นและกรรมการของSAMCO ได้ตัดสินใจนำแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนเพื่อระดมทุนจากตลาด
ไปขยายกิจการเพื่อให้ทันกับการแข่งขัน
การยื่นของเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนครั้งนั้น
ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอย่างง่ายดาย เพราะเพียงแค่เห็นชื่อของผู้ถือหุ้นใหญ่
และกรรมการของบริษัท(ซึ่งส่วนใหญ่ทราบกันดีว่าล้วนเป็นเครือข่ายราชสำนักทั้งสิ้น)
ได้เงินไปหลายร้อยล้านบาท แต่ก็ไม่ได้ทำการขายธุรกิจมากมายนักยังคงทำธุรกิจบนที่ดินแปลงเดิมที่มีอยู่มากมายต่อไป
ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อฟองสบู่เศรษฐกิจไทยแตกจนย่อยยับ
SAMCO ก็ตกอยู่ในสภาพ”ชักหน้าไม่ถึงหลัง”เช่นเดียวกัน เพราะรายได้หดหาย
ขาดสภาพคล่องทางการเงินรุนแรง ต้องประคองตัวให้รอดอย่างทุลักทุเล
บางปีไม่มีโครงการใหม่ๆเกิดขึ้นมาเลย มีรายได้ไม่ถึงปีละ 100 ล้านบาท
ต้องพึ่งพารายได้จากสถานีบริการน้ำมันในโครงการมาจุนเจือไม่ให้ขาดทุน
หลังจากผ่านวิกฤตครั้งนั้น SAMCO ที่เคยได้ชื่อว่าเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อเสียงรู้จักดี
ได้กลายเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีกิจกรรมในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น้อยมาก เพราะมีโมเดลธุรกิจที่พ้นยุคไปแล้ว
แม้ระยะหลังจะฟื้นตัวมาสร้างรายได้ระดับ 1 พันล้านบาทต่อปี ก็ไม่ได้ช่วยให้บริษัทมีกำไรมากมาย
ในช่วง 10 ปีมานี้ ราคาหุ้นของ SAMCO
ไม่เคยขึ้นสูงกว่าหุ้นละ 3 บาทเลย เพราะมีผลประกอบการที่ย่ำแย่มาโดยตลอด
เหตุผลสำคัญ สามารถเข้าใจได้ไม่ยากเพราะ กรรมการและผู้บริหารบริษัทนั้น
ล้วนเป็น”เด็กเส้น”ในเครือข่ายราชสำนักทั้งสิ้น
ไม่ใช่ผู้ช่ำชองทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มืออาชีพ แม้กระทั่งในปัจจุบัน
รายชื่อกรรมการล่าสุด SAMCO
รายชื่อกรรมการ
|
ตำแหน่ง
|
นายกิตติพล ปราโมช ณ
อยุธยา
|
กรรมการผู้จัดการ
|
นายพงส์ สารสิน
|
กรรมการ
|
พ.ต.ต.ชินภัทร สารสิน
|
กรรมการ
|
นายธวัช อึ้งสุประเสริฐ
|
กรรมการ
|
นายกวี อังศวานนท์
|
กรรมการ
|
นายสัจจา เจนธรรมนุกูล
|
กรรมการ
|
นายพิพิธ พิชัยศรทัต
|
กรรมการ
|
นายพารณ อิศรเสนา ณ
อยุธยา
|
กรรมการอิสระ
|
นายอนุทิพย์ ไกรฤกษ์
|
กรรมการอิสระ
|
นายสิทธิชัย จันทราวดี
|
กรรมการอิสระ
|
นายธวัชชัย ช่องดารากุล
|
กรรมการอิสระ
|
นายพารณ อิศรเสนา ณ
อยุธยา
|
ประธานกรรมการตรวจสอบ
|
นายสิทธิชัย จันทราวดี
|
กรรมการตรวจสอบ
|
นายธวัชชัย ช่องดารากุล
|
กรรมการตรวจสอบ
|
ทางด้าน RPC
ก็มีที่มาค่อนข้างแปลก บริษัทดังกล่าว อาศัยสายสัมพันธ์กับผู้บริหารกลุ่ม
ปตท.ในอดีต ก่อตั้งบริษัทมาในปี 2538 โดยมีข้อตกลงว่า
จะให้ปตท.เป็นผู้ป้อนวัตถุดิบสำหรับโรงงานกลั่นน้ำมันชนิดพิเศษ
ที่ไม่ได้ซื้อน้ำมันดิบมากลั่น แต่ใช้วัตถุดิบเหลือใช้จากโรงงานปิโตรเคมีในกลุ่มปตท.
ที่เรียกว่า กากคอนเดนเสท (Condensate Residue หรือ CR)
การพึ่งพาวัตถุดิบจากบริษัทในกลุ่ม
ปตท. ดำเนินการมีกำไรมาได้ด้วยดีมากกว่า15 ปี
มีเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันใต้เครื่องหมายการค้า PURE นับ
100 แห่ง จนกระทั่งสามารถแต่งตัวเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี
2546
ในปี
2555 กลุ่มปตท. ได้บอกเลิกสัญญาจัดส่งกากคอมเดนเสทซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสาหรับโรงกลั่นน้ามันของ
RPC ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ทำให้ RPC ไม่สามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้
ต้องปิดโรงงานทิ้งไป เหลือแต่ชื่อของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
และบริษัทจำต้องดิ้นรนเพื่อให้มีทรัพย์สินเพื่อสร้างรายได้ต่อไป
โดยอาศัยเงินสดเดิมที่มีอยู่ในกิจการเพื่อดำเนินการต่อไป
RPC ได้เจรจากับกับ
SAMCO เพื่อเข้าถือหุ้นบางส่วน
หวังรักษาที่มาของรายได้ต่อไปให้ได้ โดย SAMCO ทำการเพิ่มทุนในปี
2556 จาก 450 ล้านบาท เป็น 589.41 ล้านบาท เพื่อขายให้กับ RPC กลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2
เงินที่ได้รับจาก RPC ทำให้ SAMCO สามารถเพิ่มโครงการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่อไปได้
เติบโตสร้างรายได้และกำไรให้เห็นชัดเจน แม้จะไม่มากนัก
ต่อมาในปี
2557 คณะกรรมการของ RPC ได้ทำการเพิ่มทุนครั้งใหญ่จาก 802.87 ล้านบาท เป็น
1,304.66 ล้านบาท เพื่อขายให้กลุ่มนายวิชัย ทองแตง
จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยนายวิชัยตั้งเป้าหมายว่า จะทำให้ RPC ที่ขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปี
กลับมาทำกำไรด้วยการปรับธุรกิจมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานทางเลือกหรือพลังงานไฟฟ้า
นายวิชัยถือหุ้น
RPC มาได้ไม่นานก็ประกาศว่า
มีความขัดแย้งในเป้าหมายธุรกิจกับกลุ่มผู้ถือหุ้นอื่นของ RPC จึงได้ประกาศขายหุ้นทิ้งไปทั้งหมด โดยขายในตลาดชนิดที่”ตัดขาดทุน”
ข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงชัดเจนว่า
การซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ SAMCO เพื่อให้ RPC
เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดดังกล่าว จึงไม่เกี่ยวข้อกับนายวิชัย ทองแตง
แม้แต่น้อย แม้ว่าจะมีชื่อของนายวิชัยติดอยู่โดยนิตินัยที่ RPC อยู่
ปริศนาของการขายหุ้นของภูมิพลและหลานสาว
โดยที่ลูกสาวไม่ได้ขายออกด้วยจึงเป็นปริศนาที่ชวนให้ตั้งคำถามเช่นกันว่า
เกิดจากอะไรกันแน่ ซึ่งกุญแจที่จะไขความลับนี้
อยู่ที่รายชื่อของผู้ถือหุ้นใหญ่สุดคนใหม่ของ RPC ที่ถือต่อจากนายวิชัย
ทองแตง เป็นสำคัญ ซึ่งจนถึงวันนี้ ยังไม่ปรากฏตัวออกมา
ปริศนาของการขายหุ้นนี้
ทำให้เกิดคำถามตามว่า การปิดบังรายชื่อผู้ซื้อที่แท้จริง
โดยซ่อนอยู่ในรูปของนิติบุคคลอย่าง RPC
จะเป็นนิติกรรมอำพรางเพื่อซ่อนเร้นทรัพย์สินของภูมิพลกับเครือข่ายราชสำนัก
ในช่วงเวลาที่ใกล้หมดอายุขัย หรือไม่
ความเป็นไปได้ทางหนึ่งคือ
การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น
หากจะมีการถ่ายโอนความมั่งคั่งส่วนตัวไปให้กับบุคคลอื่น การอำพรางว่าเป็นการซื้อขายหุ้น
จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
เพราะนับแต่กฎหมายมรดกผ่านมามีผลบังคับใช้ในหลายเดือนมานี้ มีการโอนทรัพย์สินในรูปขายหุ้นอย่างมากมาย
กรณีนี้อาจจะเป็นข้อสังเกตได้ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน
คำตอบของเงื่อนงำในกรณีนี้ เป็นสิ่งที่ต้องค้นหา
แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาบ้าง
อะไรตาสว่าง ไม่เห็นจะมีอะไร ก็ทำให้มีอะไรได้ เพราะแค่ชื่อท่านเป็น ผถห รายใหญ่ก็แค่นั้นใช่ป่ะ อุบาทว์จริงๆ คนเขียน
ตอบลบบิดเบือน
ตอบลบ