วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทศึกษางานจัดตั้งหน่วยเคลื่อนไหวในเมือง

กรณีมีสมาชิกออกจากห้องต่าง ๆ กันมาก โดยเฉพาะในสภาวะที่ฝ่ายเผด็จการราชาธิปไตยใช้ปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาอย่างแข็งกร้าว การจัดตั้งที่ปิดลับ-ใต้ดิน คือคำตอบที่ถูกต้องของการแก้ปัญหาเหล่านี้  ทั้งนี้เกิดจากเหตุผลหลายประการ เช่น
1. มีการกลั่นกรองก่อนเข้าร่วมการจัดตั้งอย่างเข้มงวด
2. ทุกคนที่เข้าร่วมต่างก็ได้พิสูจน์ตนเองท่ามกลางการต่อสู้จนจิตใจกล้าแกร่ง 
3. การปิดลับที่ถือเป็นกฎเหล็ก จะช่วยป้องกันภัยจากพวกเผด็จการราชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี
4. การอยู่ในหน่วยจัดตั้ง จะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเชิงลึก จากหน่วยงานที่ศึกษาสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
5. องค์กรจัดตั้งทั้งหมด มีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสม ทำให้ทุกส่วนต่างก็มองเห็นความก้าวหน้าของการงาน (ปฏิวัติ) ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้กันและกัน
6. ทุกคนในองค์กรจัดตั้ง ร่วมกันผลักดันให้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วขึ้น และไปในทิศทางเดียวกัน
7. หากมีข้อขัดแย้ง ความเห็นที่แตกต่างกัน ก็น้อมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน  มิใช่โกรธ ว่าอะไรไม่ได้  ออกจากกลุ่มก็ได้ ไม่ง้อ ฯลฯ ซึ่งถือว่าเอาความคิดเห็นตนเป็นใหญ่  ไม่ใช่การมาร่วมกันด้วยความคิดที่ต้องการแก้ปัญหาของประเทศชาติและประชาชน อันเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าความไม่พอใจส่วนตัว ฯลฯ
8. การเข้าร่วมจัดตั้งแบบปิดลับใต้ดิน ถือเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งในชีวิต เป็นความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสรับใช้ประเทศชาติ ประชาชน และร่วมสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชนขึ้นบนแผ่นดินนี้

การต่อสู้จะเริ่มเมื่อไหร่

จะเปลี่ยนระบอบได้ "เหตุปัจจัยภายใน" ต้องพร้อมและสอดคล้องกับ "เหตุปัจจัยภายนอก" ที่เอื้ออำนวย

การใช้ระบอบเผด็จการ การใช้ ม.44 การกดหัวเหยียบย่ำประชาชนทุกรูปแบบ  พวกอำมาตย์ขัดแย้งกับพวกขุนศึก พ่อตายแม่เป็นบ้า ครอบครัวแตกแยก น้องจ้องแย่งเก้าอี้พี่ที่มัวเมาแต่อิสตรี การโกงกินคอรัปชั่นในทุกระดับ ปัญหาบ้านเมืองไม่มีใครแก้ไขไม่ว่าน้ำท่วม ฝนแล้ง  สภาวะผลผลิตการเกษตรราคาตกต่ำ สินค้าส่งออกไม่ได้ นักลงทุนหนีไปต่างประเทศ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของเหตุปัจจัยภายนอก ที่พวกเราผู้รักประชาธิปไตยและต้องการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมยังไม่มีอำนาจที่จะไปกำหนดควบคุมอะไรได้ แต่เหตุปัจจัยภายนอกเหล่านี้กำลังเป็นผลดีกับการเปลี่ยนระบอบ ถือเป็นโอกาสที่ดีของเรา

แม้กระนั้นโอกาสที่ดีเหล่านี้อาจจะผ่านเลยไป ถ้าเราไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพราะเหตุปัจจัยภายในไม่พร้อม
เช่น คนไม่พร้อม ยังไม่ได้จัดตั้ง ยังไม่รู้หลักการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคม ฯลฯ เราก็จะทำได้แค่วิพากษ์วิจารณ์  พวกมันก็ทำหูทวนลม ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน การเปลี่ยนระบอบก็ยังไม่เกิดขึ้น
ยิ่งเราช่วยกันทำให้เหตุปัจจัยภายในของเรามีความพร้อมมากขึ้นเท่าไร  ก็จะใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วได้มากขึ้นเท่านั้น ยิ่งการจัดตั้งเข้มแข็งขึ้น ขยายตัวมากขึ้นเท่าไร ก็จะสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ ที่มีพลังได้มากขึ้นเรื่อย ๆ
ดุลย์อำนาจของฝ่ายประชาธิปไตยจึงค่อย ๆ สะสมกำลังจนเอาชนะฝ่ายเผด็จการได้

ฉะนั้น ขณะที่ด้านหนึ่งเปิดโปงวิพากษ์วิจารณ์ระบอบเผด็จการราชาธิปไตยในด้านต่าง ๆ 
แต่อีกด้านหนึ่งที่ชี้ขาดชัยชนะจริง ๆ นั้นคือ "การจัดตั้งกำลังของประชาชนให้เข้มแข็ง"
เอาแต่เปิดโปงศัตรู แม้จะทำได้ง่าย  แต่ไม่ชนะหรอก
การจัดตั้งหรือจัดกำลังของเราให้พร้อมรบ (ทุกรูปแบบ) ต่างหากคือปัจจัยชี้ขาดชัยชนะ

เราอยู่ต่างที่ต่างถิ่นจะทำอะไรได้บ้าง

นักสู้ที่อยู่ต่างประเทศ เน้นบทบาทเปิดโปง ชี้ให้มวลชนเห็นเป้าของการปฏิวัติที่คนในประเทศถูกจำกัดด้วย 112 หามิตรต่างประเทศ ใช้ประโยชน์จากองค์กรระหว่างประเทศ ระดมปัจจัยต่าง ๆ หนุนช่วยภายในประเทศ

นักสู้ในประเทศเขตเมือง เน้นงานมวลชน จัดตั้งและขยายบทบาทผู้ใช้แรงงาน นักศึกษา นักวิชาการ งานสตรี แม่บ้าน  ผู้นำทางความคิด ฯลฯ เน้นต่อสู้ทางความคิด กระจายข้อมูล เตรียมงานเศรษฐกิจรองรับ เตรียมสถานที่ฝึกอบรม ประชุม การประสานงาน หนุนช่วยนักต่อสู้ในเขตยุทธศาสตร์อื่น ฯลฯ 

นักสู้ในชนบท เน้นงานมวลชน จัดตั้งเกษตรกร เยาวชน สตรี ฯลฯ ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารสู่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในหมู่นักสู้เสื้อแดงตาสว่าง เตรียมสถานที่ เตรียมอาหาร ที่พักพิง การประสานงาน ฯลฯ

นักสู้ในโลกไซเบอร์ เน้นการต่อสู้ทางด้านข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่วิธีคิด วิธีทำงาน เพื่อการเปลี่ยนระบอบ
 รวบรวม ประสาน เชื่อมร้อยนักสู้ทั้งในต่างประเทศ เขตเมืองและในชนบท ส่งต่อให้กับหน่วยงานด้านการจัดตั้ง 

นักรบทั้ง 4 เขตยุทธศาสตร์ ประสานเชื่อมร้อยด้วยระบบการจัดตั้งที่เข้มแข็ง ปิดลับ ไร้ร่องรอย มีตัวแทนประชุมหารือ กำหนดขั้นตอนจังหวะก้าว ตอบโต้ รุกรบ ฯลฯ อย่างเป็นรูปธรรม
ประสานกับองค์กรอื่น ๆ ให้เป็นแนวร่วมที่กว้างใหญ่และทรงพลัง รวบรวมมวลชนที่กระจัดกระจายให้กลายเป็นกองทัพอันเกรียงไกร (ไม่ได้หมายถึงกองทัพแบบพวกทะเหี้ยนะ  แนวรบเรื่องใช้ความรุนแรง คงละไว้ก่อน) ศัตรูที่ทำท่าขึงขังก็จะกลายเป็นเป็ดง่อย เป็นจำอวดหน้าม่าน ตัวสั่นงันงกอยู่กลางวงล้อมของกองทัพประชาชนที่พวกเขามองไม่เห็น หาไม่เจอ แต่สัมผัสได้ถึงพลังแห่งการเปลี่ยนระบอบที่เข้มแข็งดุดัน เกิดขึ้นที่โน่น ที่นี่ ที่นั่น ปะทะตอบโต้โจมตีพวกเขาทุกหนแห่ง ทุกรูปแบบ
 ทำลายแนวปิดกั้นของพวกเขาไม่ว่าข่าวสาร การสื่อสาร การจัดตั้ง การประสานงาน

เมื่อภาววิสัยเปลี่ยน
ศัตรูเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใช้บทกร้าวร้าวกดหัว ปราบปรามประชาชน
ประชาชนก็ต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ให้ทัน
ต้องปรับเหตุปัจจัยภายในของเราให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย

การแบ่งเขตยุทธศาสตร์ภาคประชาชนออกเป็น 4 เขตยุทธศาสตร์ เป็นหนึ่งในหลักการปรับตัวของเราที่สอดคล้องกับเหตุปัจจัยภายนอกที่เป็นจริง
เพราะเราไม่สามารถระดมมวลชนเป็นแสนเป็นล้านได้เหมือนช่วงรัฐบาลประชาธิปไตย การเลือกตั้งก็มิใช่คำตอบทางยุทธศาสตร์อีกแล้วภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับมีชัย หากยังเปลี่ยนระบอบไม่ได้ เลือกตั้งไปก็ไร้ประโยชน์

ตามหลักคิดแบบ 4 เขตยุทธศาสตร์นี้ จะเกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงขึ้นในแต่ละส่วน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ผู้นำเดิม ๆ ที่มีข้อจำกัดในการต่อสู้ในเมืองแบบเปิดเผยในอดีต 
แต่ถ้าอดีตผู้นำทั้งหลายพร้อมจะก้าวไปข้างหน้า มาร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประชาชน  ขบวนประชาชนก็ยินดีต้อนรับเสมอ ผู้นำที่เปิดเผยได้ ส่วนมากจะอยู่ในแนวรบต่างประเทศ  ส่วนผู้นำในเขตเมืองและชนบทต้องปิดลับอย่างเข้มงวด ทั้งตัวบุคคล องค์กรจัดตั้ง และงานการจัดตั้งที่เป็นรูปธรรม

ปัจจุบัน
ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการเปลี่ยนระบอบคือ
1. รวบรวมมวลชนคนก้าวหน้าตาสว่าง ผู้รักประชาธิปไตย เกลียดชังเผด็จการราชาธิปไตย ให้เป็นกลุ่มก้อน ด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่นการเปิดห้องต่าง ๆ ในไลน์ ก็เป็นตัวอย่างที่ดี
2. คัดกรองนักสู้ตัวจริง แยกแยะสปายสายลับที่ปลอมปนเข้ามาอย่างรัดกุม
3. สร้างหน่วยจัดตั้งขึ้นตามระดับความตื่นตัวทางการเมือง สร้างงานตามสภาพที่เป็นจริงด้วยความคิดรวมหมู่ของสมาชิกในหน่วยซึ่งมีจำนวน 3-9 คน ถ้ามากกว่านี้ต้องแยกหน่วยเพื่อความคล่องตัว

ในหน่วยจัดตั้ง ต้องมีประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ ขบคิด อภิปราย แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แล้วสรุปเป็นมติของที่ประชุม มอบหมายให้สมาชิกไปปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งอาจรับไปแค่ 1 คน 3 คน หรือทั้งหมดก็ได้ สุดแท้แต่ความเหมาะสม

มีวาระการพบปะเป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อสรุปสถานการณ์ ยกระดับความรับรู้ เชื่อมมิตรสัมพันธ์ สรุปงาน และกำหนดภารกิจใหม่ เป็นต้น

ในหน่วยต้องเลือกผู้ประสานงานหรือหัวหน้าหน่วยขึ้นไปประสานกับหน่วยอื่น ๆ  เน้นว่าเลือกนะ มิใช่ให้ใครตั้งขึ้นมา

หน่วยจัดตั้งลักษณะนี้ จะสื่อสารได้สองทาง มิใช่รับคำสั่งใคร ผู้ประสานงานหรือหัวหน้าหน่วยจะต้องเสียสละมากกว่า เหนื่อยมากกว่า ความรับผิดชอบสูงกว่า อันตรายมากกว่า ยิ่งมีหลายหน่วยก็ยิ่งหนักหน่อย
นี่เป็นภารกิจเพื่อการเปลี่ยนระบอบ ต้องอาศัยความเสียสละ ความกล้าหาญ ภาวะผู้นำ ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ ต้องดำเนินการด้วยความลับ เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกทุกคน มิใช่เพื่อความโก้เก๋ โอ้อวด หวังคะแนนเสียง ชื่อเสียงส่วนตัว ลาภยศสรรเสริญ
เพราะจะไม่มีใครรู้ว่าคุณหรือใครทำ คุณอาจจะถูกศัตรูทำลายเมื่อไหร่ก็ได้ และไม่มีใครจ้างคุณมาทำด้วย  
คุณจะเป็นนักสู้นิรนาม ที่ต่อสู้ด้วยอุดมการณ์และความเสียสละอย่างสูง เพื่อภารกิจทางประวัติศาสตร์ ที่มีความทรหดอดทนเป็นเลิศ ไม่ระย่อท้อถอย มีหัวใจที่มุ่งมั่น ฝังศพเพื่อน เช็ดคราบเลือดที่เกรอะกรัง แล้วก้าวต่อไปด้วยหัวใจที่ไม่แพ้ ไปสร้างความฝันให้เป็นจริง
โค่นล้มศัตรู เปลี่ยนระบอบ สร้างประชาธิปไตย สร้างประเทศที่ก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่
เพื่อลูกหลาน เพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติ และเพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง

ที่ประเทศเวียดนาม ตลอดเส้นทางที่นั่งรถไปเที่ยวเมืองฮอยอัน รถจะผ่านเมืองกวางตรี เมืองเว้ เมืองดานัง  สองข้างทางจะมีสุสานวีรชนนิรนามเต็มไปหมด  ถ้าเขาเหล่านั้นไม่กล้าต่อสู้ ไม่กล้าเสียสละ ไม่มีอุดมการณ์อันสูงส่ง คงจะไม่มีเวียดนามในวันนี้ และแน่นอนถ้ามองข้ามเข้าไปในประเทศจีน กว่าจะมีประเทศจีนในวันนี้ ก็ต้องผ่านช่วงประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด ที่วีรชนนิรนามจำนวนมากได้ยอมเสียสละชีวิต เลือดเนื้อ ความเหน็ดเหนื่อยแสนสาหัสเพื่อชาติบ้านเมืองมาก่อน

ประวัติศาสตร์ของประเทศเรากำลังมาถึงจุดนี้ จุดที่ศัตรูของประชาชนกำลังบ้าคลั่งและพังทลาย  จุดที่พวกเขากำลังเปลี่ยนหัวขบวน กลไกแขนขาก็จ้องโกงกินกอบโกยเพราะรู้ว่านาทีทองมีไม่นานนัก หรือไม่ก็เกียร์ว่างวางเฉย รอเจ้านายใหม่เผย ตัวให้ชัดเสียก่อน เป็นจุดอ่อนที่หาไม่ได้ง่าย ๆ
ยิ่งมีนายกฯ ตัวตลกหน้าม่านที่มือเปื้อนเลือด ยิ่งนำ ม.44 มาใช้เพื่อกดหัวปิดปากประชาชน
บอกได้เลยว่า โอกาสของการเปลี่ยนแปลงมาถึงแล้ว  เร่งศึกษา เร่งจัดตั้งกันเถิดพี่น้อง
จัดวางกำลังคนของเราให้พร้อมในเขตยุทธศาสตร์ทั้ง 4 
เชื่อมร้อยด้วยการจัดตั้งที่ปิดลับและเข้มแข็ง
ประสานกับองค์กรผู้รักประชาธิปไตยทั้งปวง แสวงหาความร่วมมือและใช้พลังทุกอย่างทั้งในประเทศและต่างประเทศ ใช้นักรบไซเบอร์เป็นกองกำลังเผยแพร่ ทั้งข้อมูลข่าวสารความคิดและสติปัญญาต่าง ๆ ไปสู่หน่วยงานจัดตั้งอื่น ๆ ทั้งในเมือง ในชนบท และต่างประเทศ

จับมือประสานกันให้มั่นคง สามัคคีกันสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชน

เอกภาพ ปทุม&team - 1123

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยแบบ'สหพันธรัฐ'จากปรากฏการณ์ 'ทรัมป์' โดย ดวงจำปา สเปนเซอร์ ไอเซนเบิร์ก



เช้านี้ ตั้งใจไว้ว่า จะเขียนบทความง่ายๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจกัน ในเรื่อง Electoral Votes และทำไมมันถึงไม่สามารถนำมาใช้กับเรื่อง Popular Votes ได้ในเวลานี้

ก่อนที่จะอ่านบทความ อย่างแรกคือ ท่านต้องทำคือ ต้อง “กำจัด” ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง “ประเทศ” (หรือ “รัฐเดี่ยว”) กับ “จังหวัด” ออกไป เพราะไม่อย่างนั้น ท่านจะ ไม่เข้าใจหลักการที่ใช้กัน

“สหรัฐอเมริกา” คือ “ประเทศ” ที่ประกอบไปด้วย “รัฐ” 50 รัฐ (States) บวกกับ อีก 6 ”เขตปกครองพิเศษ” (Territories) และ 1 ใน 6 ของเขตปกครองพิเศษ ชื่อว่า District of Columbia  ซึ่งมีเมืองอยู่เมืองเดียวคือ กรุงวอชิงตัน  และกรุงวอชิงตัน ก็เป็น เมืองหลวงของ “ประเทศ”  เราเรียกว่า ระดับ Federal  ประมุขฝ่ายบริหารของ “ประเทศ” เรียกว่า ประธานาธิบดี (President)

--------------------------------------------

** หมายเหตุ: ถ้าจะให้เขียนแบบลึกๆ นะคะ US มีเขตปกครองพิเศษ (Territories) อยู่ 6 แห่ง และแต่ละแห่ง มีตัวแทนหรือ Delegate ใน House of Representatives เช่นเดียวกัน  เชตละ 1 คน แต่ออกเสียงไม่ได้ เขตปกครองพิเศษนี้ คือ Washington, DC; Puerto Rico; U.S. Virgin Islands; Northern Mariana Islands; Guam และ American Samoa

----------------------------------------------

“รัฐ”แต่ละ”รัฐ” (State)  ต่างก็มี “เมืองหลวง” หรือ Capital City  มีรัฐธรรมนูญปกครองเป็นของตนเอง มีศาลสูงสุด สภานิติบัญญัติ วุฒิสภา ออกใบขับขี่ ออกอัตราภาษีเอง ทุกๆ อย่างใช้โครงสร้างเหมือนกันกับระดับ Federal เราเรียกว่า ระดับ State ซึ่งประมุขฝ่ายบริหารของ State เรียกว่า Governor หรือ ผู้ว่าการรัฐ  แถมยังมีกองกำลังปกป้องมาตุภูมิ เรียกว่า National Guards ซึ่งติดอาวุธเหมือนกับฝ่ายทหารอยู่ในทุกๆ รัฐ

----------------------------------------------

และลงไปตามเมืองใหญ่ ก็มีระบบแบบนี้เช่นกัน เรียกว่า ระดับ “Local” หรือท้องถิ่น  ประมุขฝ่ายบริหารของเมือง เรียกว่า Mayor หรือเป็นภาษาไทยเรียกว่า นายกเทศมนตรี มีศาล มีกฎหมายการปกครอง (Ordinances) เหมือนกับระดับใหญ่ๆ  มีสภาผู้แทนของเมือง ประชุมกันเหมือนระดับบนๆ การปกครองต่างๆ เป็นอิสระ ตัดสินใจเองได้

----------------------------------------------

กลับไปที่เรื่องของ Electoral Votes กัน

Electoral College ประกอบด้วยตัว Electors ทั้งหมด 538 คน ซึ่งมาจาก:

• 435  Congressional Districts (รัฐทุกรัฐรวมกัน มี เขตผู้แทนฯ อยู่ทั้งหมด 435 เชต ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้แทนทั้งหมดใน สภาล่าง หรือ House of Representatives)  บางรัฐก็มี เขต Congressional ตั้งแต่ หนึ่ง ไปจนถึงหลายสิบ  แต่ละเขตก็มี ผู้แทน หรือ เทียบได้กับ สส ในระบบของรัฐสภา หรือ Parliamentary System นั่นแหละ  เพราะฉะนั้น ทุกๆ รัฐรวมกัน ก็มีจำนวน 435 เขต

• 100 Senates รัฐแต่ละรัฐ จะได้รับการปันส่วนจำนวนวุฒิสมาชิก รัฐละ 2 คน โดยไม่จำเป็นว่า จะเป็นรัฐใหญ่หรือเล็ก  50 รัฐ คูณ 2 ก็เท่ากับ 100 คน

• 435 + 100 = 535  และอีก 3 เพื่อที่จะทำให้เป็น 538  ก็คือ 3  เสียงจากเขตปกครองพิเศษของ Washington, DC นั่นเอง

----------------------------------------------

ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน Washington, DC ไม่มีตัวแทนของตนเองในทั้งสองสภา คือ House of Representatives และ ในสภา Senate (มีแต่ตัวแทนหรือ Delegate ซึ่งเข้าประชุมในสภาได้ แต่ไม่สามารถมีสิทธิ์ออกเสียงได้)  ดังนั้น เราจึงเห็นป้ายบ่อยครั้งที่นั่นว่า ประชาชนเสียภาษี แต่ไม่มีตัวแทนของตนในสภานิติบัญญัติเลย  (Taxation without Representation)

----------------------------------------------

ตามหลักการของ Electoral Votes จะใช้การนับที่นั่งของ House of Representatives บวกกับ Senate ซึ่งมีดังนี้:

1. รัฐแต่ละรัฐ จะได้รับ ที่นั่ง จาก Senate 2 ที่ และได้รับ  1 ที่ใน House of Representatives โดยอัตโนมัติ  ดังนั้น จำนวนของ ที่นั่ง ที่ได้รับ "โดยอัตโนมัติ" ทั้งหมด คือ 100 + 50  เท่ากับ 150

คำว่า "อัตโนมัตินี้" ไม่จำเป็นว่า ประชากรจะมีอยู๋เท่าไรภายในรัฐ  จะเป็นหกแสน หรือ หกล้าน ก็ได้ที่นั่งเท่ากัน

2. ตัวแทนในเขต Washington, DC ไม่มีสิทธิ์มีเสียงในสภา (แต่สามารถได้รับ 3  Electors อย่าง โดยเสมอไป   150+3  = 153

3. ที่เหลือคือ 538-153  เท่ากับ 385  ที่นั่ง

4. 385 ที่นั่งที่เหลือนี้ จะต้องมาทำการจัดสรรปันส่วน หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า apportionment

5. ทุกๆ 10 ปี  จะมีการสำรวจสำมะโนประชากร หรือ Population Census กัน  ตัวเลขของประชากรในแต่ละรัฐ จะถูกนำมาใช้ในการคำนวณ การแบ่งสันปันส่วนที่นั่งที่เหลืออยู่นี้ว่า จะลงตัวกันอย่างไร

(การสำรวจสำมะโนประชากรใน US ไม่คำนึงถึงเรื่อง สถานะหรือสัญชาติของผู้อยู่อาศัย หลักการคือ จะต้องนับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่อย่างถูกหรือผิดกฎหมาย และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ในการจัดสัดส่วนประชากร)

6. อย่าลืมว่า การจัดสรรปันส่วนนี้ ไม่ได้อยู่เพียงแต่จำนวนประชากรว่า สส หนึ่งคน ต้องมีประชากรเท่าไร  เนื่องจากเรากำลังกล่าวถึงระดับ Federal  ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการคำนวณเรื่องรัฐที่มีคนน้อย กับ รัฐที่มีคนน้อยกว่า เพื่อที่จะทำการแบ่งสันปันส่วนกันอย่างไรด้วย

(ถ้าเราคิดแบบของไทย มันจะเป็นตัวเลขที่เห็นง่าย เพราะไทยเป็น “รัฐเดี่ยว”)  เมื่อแต่ละรัฐ มีการปกครองภายในแตกต่างกัน จะมาระบุจำนวน Representatives เท่ากับประชากรเท่าไรนั้น มันเป็นไปไม่ได้ เพราะถือว่า อำนาจอธิปไตย มีอยู่กับรัฐทุกๆ รัฐ  จึงต้อง "คิด" แบบระดับ "Federal"

7. การดำเนินการปันส่วน  (Apportionment) จาก 385 ที่นั่ง จะเริ่มจากรัฐที่มีประชากรมากที่สุดก่อน คือ California จากนั้นก็ไปที่ Texas, New York เรื่อยไปตามลำดับ  วิธีการนี้เรียกว่า ระบบ  Huntington-Hill Method  ซึ่งท่านสามารถไปอ่านเพิ่มความรู้เองได้ที่ลิงค์ข้างล่าง คอมเม้นท์ที่ 1

8. การแบ่งสันปันส่วนที่นั่ง จะต้องเป็นตัวเลขสมบูรณ์ โดยไม่มีจุดทศนิยม

9. ใช้หลักการคำนวณการจัดสรรปันส่วนแล้ว เราจะเห็นจำนวนที่นั่งที่เหลือทั้ง 385 ที่นั่ง ใน House of Representatives ว่าถูกแบ่งออกไปเท่าไร  และจะไปลงที่รัฐใดบ้าง จากลิงค์ข้างล่าง คอมเม้นท์ที่ 2)  

10. ทุกๆ 10 ปี รัฐบางรัฐจะได้ที่นั่งเพิ่ม  และ บางรัฐจะได้ที่นั่งลดลง ในเขต Congressional Districts ของตนเอง เพราะประชากรในรัฐของตน อาจจะเพิ่มขึ้น หรือ น้อยลง เรื่องขึ้นอยู่กับการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุด  จากลิ้งค์นี้ เราจะเห็นว่า รัฐไหน ได้ที่นั่งใน House of Representatives เพิ่มขึ้นเท่าไร และรัฐไหน ถูกลดที่นั่งออกไป  จำนวนที่นั่งเพิ่ม กับจำนวนที่นั่งที่สูญไป จะต้องเป็นตัวเลขเท่ากัน

(ดูลิ้งค์ข้างล่าง คอมเม้นท์ที่ 3)

----------------------------------------------

เพราะฉะนั้น รัฐที่มี Electors 3 คน อย่างเช่น Wyoming (586,107);  Montana (1,032,949), North Dakota (756,927), South Dakota (858,469);  Delaware (945,934), Washington – DC (672,228);  Vermont (626,042) และ Alaska (738,432)  เราก็เห็นแล้วว่า แต่ละรัฐล้วนมีประชากรต่างกันพอสมควร แต่จำนวน Electors มีเท่ากัน คือรัฐละ 3 คน

ถ้าจะให้เทียบว่า ประชากรต้องเฉลี่ยเท่าไรต่อหนึ่งที่นั่งใน House of Representatives ก็เทียบได้อย่างเช่น California ก็ตกประมาณ 738,581 คน  แต่รัฐ Montana หนึ่งที่นั่งต้องใช้ประชากร 1,032,949 คน

รัฐ Wyoming ต้องใช้ประชากรเฉลี่ย 586,107ต่อหนึ่งที่นั่ง ในขณะที่รัฐ Montana ใช้ประชากรต่างกันกับหนึ่งเท่าตัว แต่ก็มี Elector เท่ากัน คือ 3 คน  ต่างกันมากใช่ไหม? แต่เพราะนี่คือ concepts ของ “Federal Level” แล้ว

ยิ่งรัฐใหญ่เท่าไร จะได้เปรียบในจำนวนของ Electors  เพราะมันมีสัดส่วนและความสัมพันธ์กันกับ Popular Votes ด้วย

ค่าเฉลี่ยต่อประชากร ถ้าใช้จำนวนทั้ง 50 รัฐ ก็ตกประมาณ  737,348 คน   ซึ่งรัฐเล็กๆ อย่าง Wyoming มีไม่ถึงแน่นอน

----------------------------------------------

เพราะฉะนั้น เมื่อมีการเลือกตั้งใหญ่เกิดขึ้น  รัฐแต่ละรัฐ จะมาใช้ Popular Votes กับ เรื่องที่เกิดขึ้นภายในรัฐตนเอง อย่างเช่น การเลือก Governor, Senator, House of Representatives เนื่องจาก เสียงส่วนใหญ่จะเป็นตัวตัดสินภายในรัฐตนเองทุกอย่าง

แต่เมื่อเลื่อนระดับขึ้นไปสู่ Federal Level แล้ว  รัฐเล็กๆ อย่าง Wyoming จะเสียเปรียบรัฐใหญ่อย่าง California หรือ Texas มาก ถ้าใช้หลักการของ Popular votes

ดังนั้น การใช้ Electors 3 เสียง ให้กับผู้ชนะคะแนนภายในรัฐ ก็ถือว่า Fair พอสมควรทีเดียว เพราะคะแนนของ Electors จะต้องไปรวมกันใน Electoral College ว่า เมื่อไรจะถึงครึ่งหนึ่ง (นั่นก็คือ Popular votes ภายใน Electoral College อีกครั้งหนึ่ง และ เกินครึ่งก็คือ 270 เสียง)

----------------------------------------------

ภายใน 100 ปีที่ผ่านมา มีการเสนอวิธีการแบบใหม่ในการใช้นับคะแนน เพื่อเลือกตัวประธานาธิบดีอย่างที่ทำอยู่นี้กัน หลายร้อยวิธีการ  แต่เพราะว่า ความแตกต่างของแต่ละรัฐ มันทำให้การคำนวณ ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และรวมกับเป็นที่ยอมรับของประชาชนด้วย หลักการของ Electoral College จึงยังคงอยู่ เพราะเป็นเรื่องที่ “เกือบแฟร์” ที่สุดแล้ว

เพื่อนๆ ที่เก่งเรื่องสถิติการคำนวณ น่าจะเสนอวิธีการที่คิดว่า แฟร์ที่สุดแล้วด้วย ในการเลือกผู้นำของประเทศจากหลายๆ รัฐ บางที ถ้าหลักการดี มีคนสนับสนุน ท่านก็อาจจะได้รับการบันทึกประวัติดีเด่นที่นี่ได้ด้วย

----------------------------------------------

ก่อนจะจบ ก็ขอเล่าให้ฟังเรื่องๆ หนึ่ง:

เมื่อ 16 ปีมาแล้ว คือ ครั้งที่ Al Gore ซึ่งเป็นตัวแทนของพรรค Democrats แพ้การเลือกตั้งให้กับ George W. Bush เมื่อปี 2000 ทั้งๆ ที่ Popular votes ของ Al Gore มากกว่า George W. Bush เกือบครึ่งล้านเสียงก็ตาม

วุฒิสมาชิกใหม่เอี่ยมของรัฐ New York (Junior Senator) จาก พรรค Democrats โมโหในเรื่องนี้มากๆ และให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อถึงวาระการเปิดสมัยประชุมครั้งต่อไป จะเป็นผู้เสนอกฎหมายเรื่องนี้เข้าไปด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการนับคะแนนโหวต จาก Electoral Votes มาเป็น Popular votes ให้หมด

ในเวลานั้น มีคนเห็นชอบด้วยเป็นจำนวนมากที่ต้องการให้วิธีนี้เกิดขึ้น  แต่เมื่อสภาเปิดไปแล้ว ตัววุฒิสมาชิกท่านนี้ ก็ไม่ได้ดำเนินเรื่องนี้ต่อแต่อย่างใด  มันก็เลยเริ่มค่อยๆ จางหายไปจากกระแสข่าว และสุดท้าย ก็กลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งไปในเวลาต่อมา

ลืมบอกไปว่า วุฒิสมาชิกผู้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเสนอเรื่องการนับคะแนนด้วยการเปลี่ยน Electoral Votes ให้กลายเป็น Popular Votes ในเวลานั้น ชื่อ่ ฮิลลารี่ คลินตั้น

Happy Weekend ค่ะ

Doungchampa Spencer-Isenberg

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ขณะอเมริกาลุ้นเลือกตั้งแต่ไทยคลั่งเจ้าไม่ต้องรอลุ้น:ชมคลิปข่าวบ่งบอกสังคมงี่เง่าจากข่าวตาสว่างทางไกล


ปั่นข่าวจนชาวบ้านคลั่ง ส่วนลูกเจ้านั่งเครื่องไปเที่ยวสบายใจไม่มาคลั่งด้วย:น่าสงสารคนไทยที่ตั้งใจเป็นขี้ข้า

1.คนไทยถูกคำสั่งให้ไว้ทุกข์,กิจการสนุกรื่นเริงให้งด,ธุรกิจการค้าก็ซบเซา,แต่ดอกเบี้ยธนาคารไม่ได้ไว้ทุกข์ด้วยมันยังตามติดทุกวันไม่สนใจว่าในหลวงจะตายหรือไม่ตาย,ใครไม่ใช่ชุดดำ,ไม่เศร้าโศรกด้วยก็ถูกม๊อบบ้าคลั่งเล่นงานโดยรมว.ยุติธรรมหนุนหลังการให้พวกคลั่งเจ้าทำร้ายร่างกายคนที่นิ่งเฉยต่อการไว้ทุกข์โดยอ้างว่า"ถูกต้องและเป็นมาตรการทางสังคม" แต่ลองหันมาดูลูกในใส้ของเขากลับไม่มีใครเศร้าใจเห็นแต่ยิ้มแย้มสลับกันไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจสบายๆในต่างประเทศ,ตามภาพล่าสุดฟ้าหญิงอุบลรัตน์เสด็จเมืองแซนตามอนิกามลรัฐแคลิฟอเนีย,สหรัฐอเมริกา,ไพร่ฟ้าแอบถ่ายภาพนี้จากระยะไกลขณะทรงพระสำราญที่นครลองแองเจลีส,ศูนย์การค้าย่านมหาเศรษฐี Beverly Hill เมื่อ31ตุลา59


เสด็จต่างประเทศกันหลายพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ แต่ประชาชนต้องแสดงอาการโศรกเศร้าในลักษณะเหมือข้าทาสสมัยโบราณก่อนร.5ประกาศเลิกทาส,น่าสงสารคนไทยบางคนที่อยากแสดงตัวเป็นทาสและใช้อำนาจบังคับคนอื่นให้แสดงตัวเป็นทาสเหมือนตน




2)เรื่องจริงคลั่งถึงขนาดอยู่บนเครื่องบินกัปตันประกาศให้นั่งรัดเข็มขัดเพราะกำลังผ่านเขตที่อากาศแปรปรวน,ก็มีพวกคลั่งเจ้าลุกขึ้นมาเชิญชวนให้ผู้โดยสารร้องเพลงข่าววอฯเพื่อสรรเสริญกษัตริย์ซึ่งสร้างความกระอักกระอ่วนใจให้แก่พนักงานและผู้โดยสารบนเครื่อง,ตามภาพและคลิปนี้เป็นสายการบินนกแอร์เที่ยวบินกรุงเทพยะลา






3)สื่อนอกอัลจาซีร่าทำสกู๊ฟข่าวประจานไทยทั่วโลก"ระบอบกษัตริย์ไทยใช้กองกำลังบังคับให้ประชาชนรัก"...(ถ้าอัลจาซีลาเห็นข่าวประชาชนถูกปลุกให้บ้าคลั่งแต่ลูกหลานเจ้าแอบนั่งเครื่องบินไปเที่ยวต่างประเทศ ข้างต้นคงรู้สึกว่าข่าวพวกคลั่งเจ้าที่ตั้งใจอยากเป็นข้าทาสในเมืองไทยมีมากเหลือเกิน,ต้องบินกลับมาทำข่าวใหม่แน่ๆ)



อยู่ไทยตามไปดูFOXสดๆเลย

FOX Live Coverage of 2016 Presidential Election 



วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รวมภาพขบวนการทหารตอแหลช่วยชาวนา,งบช่วยชาวนาถูกนำไปใช้ซื้ออาวุธและจัดงานพระบรมศพ



จากภาวะวิกฤตราคาข้าวตกต่ำในประเทศไทยได้ทำให้เกษตรกรไทยได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากซึ่งเป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลเผด็จการทหารที่รับแนวพระราชดำริจากพระมหากษัตริย์ไทยเรื่อง"เศรษฐกิจพอเพียง"ไปเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ และสอดคล้องกับผลประโยชน์กองทัพไทยที่ได้ตัดงบประมาณความช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการพยุงราคาผลผลิตที่จำนวนปีหนึ่งไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาทโดยนำเงินงบประมาณส่วนนี้ไปเป็นงบประมาณทางทหารในการทำสัญญาซื้ออาวุธรอบใหม่และสนับสนุนการใช้จ่ายในราชสำนักรวมถึงนำไปใช้เป็นงบประมาณส่วนกลางของสำนักนายกฯและพลเอกประยุทธ์มีอำนาจลงนามนำไปใช้ในงานพระราชพิธีพระบรมศพด้วย จึงส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำทุกชนิด

จากความความเดือดร้อนเรื่องราคาข้าวตกต่ำอย่างมากติดต่อกันมา2ปีกว่าชาวนาจึงยากจนมากขึ้นก่อให้เกิดแรงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารมากขึ้น และถูกพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงข้ามเผด็จการทหารโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ตอบโต้ด้วยการลงไปดูแลช่วยเหลือชาวนา ทำให้พลเอกประยุทธ์  นายกรัฐมนตรี หมดปัญญาที่จะแก้ไขจึงสั่งการให้กองทัพภาคต่างๆออกไปช่วยเหลือชาวนาโดยใช้แนวปฏิบัติการทางจิตวิทยา เช่นให้ทหารทั้งชายและหญิงแต่งตัวเต็มยศลงไปในนาทำการไปเกี่ยวข้าวด้วยมือแล้วถ่ายรูป ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักในสื่อโซเชียลเพราะทุกวันนี้ชาวนาทั้งหมดเก็บเกี่ยวพืชผลด้วยเครื่องจักรทั้งหมดแล้ว และทหารหญิงบางคนก็ใส่กระโปรงสั้นลงนาทำท่าเหมือนประกวดนางงามซึ่งทำให้ต้นข้าวแยงเข้าไปในกระโปรงเกิดอาการแพ้และระคายเคืองที่ผิวหนังมาก
การปฏิบัติการจิตวิทยานี้กระทำไปเพื่อให้ชาวนาลดความเกลียดชังรัฐบาลเผด็จการทหารเพราะเงินงบประมาณจำนวนมากถูกนำไปใช้จ่ายทางการทหารและในราชสำนักหมดแล้ว









แค้นฝังใจในศิริราช,คณบดีไล่ออกหมอในคณะร่วมถวายรักษาร.9


ตามข่าวที่ได้เคยเสนอไปแล้วว่าการถวายการรักษากษัตริย์ไทยในศิริราชที่มีเวลายาวนานเกือบ10ปีได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในคณะแพทย์และปะทุออกท่ีหมอนิพนธ์ พวงวรินทร์ ตามข่าวที่เคยรายงานไปแล้วนั้น ปรากฏว่า เหตุการณ์ยังไม่ยุติและล่าสุดได้มีมติการประชุมคณะแพทย์ศาสตร์ให้ไล่ออกหมอนิพนธ์ หลักฐานตามเอกสารนี้ และเป็นที่น่าสังเกตุว่าเหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในข่าวเกี่ยวกับการตายของรัชกาลที่9ที่สื่อสิ่งพิมพ์และสำนักข่าวต่างๆในประเทศไทยไม่กล้าลงข่าว


(กดดูตามลิ้งค์)ความขัดแย้งในรพ.ศิริราช,ปะทุที่หมอนิพนธ์ (คลิป)