บทวิเคราะห์ แหลมคมจากThe Diplomat
ตอนท้ายบท วิเคราะห์ กล่าวไว้ว่า
if the constitution is rejected in August then General Prayut may find that his absolute power dissolves absolutely.
(หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ อำนาจเด็ดขาดของพล.อ.ประยุทธ์อาจจะสลายลงอย่างแน่นอน)
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
voice tv แปล
นักสังเกตการณ์ชี้ ‘พล.อ.ประยุทธ์’ เงื้อค้างอำนาจตาม ม.44 เหตุเพราะฝ่ายต้านรัฐประหารประท้วงไม่หยุด เครือข่ายหนุนระบอบทหารโลเล-แตกแยก ปัญหาปากท้องลดทอนฐานเสียง และปรากฏการณ์โลกล้อมไทย
เว็บไซต์นิตยสาร
ด้านกิจการระหว่างประเทศ
The Diplomat เผยแพร่บทวิเคราะห์
ของ James Buchanan
อาจารย์ประจำภาควิชาเอเชียศึกษาและนานาชาติ มหาวิทยาลัยฮ่องกง
ชี้ว่า ถึงแม้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญมอบอำนาจโดยสมบูรณ์ให้แก่หัวหน้าคณะรัฐประหาร ทว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สามารถใช้ดาบอาญาสิทธิ์เล่มนี้ได้ถนัดมือนัก Buchanan บอกในบทความเมื่อวันอังคารที่ 3 พฤษภาคม ว่า อำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ของผู้นำรัฐบาลทหารของไทย ถูกตีกรอบจำกัดด้วยเหตุปัจจัย 4 ด้านนั่นคือ ความจำเป็นที่จะต้องใช้ไม้แข็งควบคู่กับไม้นวมในการรับมือกลุ่มพลังฝ่ายต่อต้าน ความโลเลในฝ่ายสนับสนุน ความเดือดร้อนด้วยปัญหาปากท้องของคนระดับล่าง และสุดท้ายคือ แรงกดดันจากประชาคมนานาชาติไต่เส้นลวดนักวิชาการในฮ่องกงผู้นี้บอกว่า ประชาชนจำนวนมากอยู่คนละฝั่งกับพล.อ.ประยุทธ์ รัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาจากคะแนนเสียงเลือกตั้งราว 48% ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด คณะรัฐประหารตระหนักดีว่า ถ้าบีบคั้นหนักเกินไปอาจจุดชนวนโต้กลับที่ยากจะควบคุมได้ ดังนั้น รัฐบาลทหารจึงต้องใช้ทั้งการปราบปรามควบคู่กับการอดกลั้น แม้ว่านักศึกษา นักกิจกรรม อดีต ส.ส. ที่แสดงการต่อต้าน มักถูกควบคุมตัว แต่ก็ต้องรีบปล่อย
ขณะเดียวกัน ทหารยอมให้กลุ่มคนเสื้อแดงทำกิจกรรมได้บ้างคนกันเอง พล.อ.ประยุทธ์ยังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายเดียวกันด้วย ในระยะหลังเครือข่ายสนับสนุนรัฐประหารเริ่มแสดงท่าทีแปลกออกไปบรรดาแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ออกมาคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่นักเคลื่อนไหวในกลุ่มราชาชาตินิยม เช่น อดีตวุฒิสมาชิก รสนา โตสิตระกูล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สุริยะใส กตะศิลา ต่างวิจารณ์คณะรัฐประหารเช่นกันนักวิเคราะห์ผู้นี้บอกว่า สุ้มเสียงจากเครือข่ายสนับสนุนรัฐประหารบ่งบอกอะไร ยังไม่แน่ชัด ฝ่ายเสื้อแดงบอกว่าเป็นแค่การเล่นละครกู้หน้าตัวเอง คนเหล่านี้ไม่อาจแสดงตัวสนับสนุนรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้แต่บางคนบอกว่าฝ่ายราชาชาตินิยมกำลังแตกแยกการแตกคอกันของกลุ่มพลังดังกล่าวสร้างความงุนงงให้แก่ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯซึ่งต่อต้านทักษิณ สนับสนุนกองทัพและการปฏิรูปแบบถอยหลังเข้าคลองของทหาร สนับสนุนกลุ่ม กปปส.ของสุเทพเมื่อเร็วๆนี้ นายสุเทพประกาศสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการออกเสียงประชามติชนชั้นกลางกรุงเทพเป็นพวกมีอารมณ์แปรปรวน เมื่อปี 2535 เคยไล่รัฐบาลทหารมาแล้ว หากปีกพลเรือนของกลุ่มราชาชาตินิยม คือ พรรคประชาธิปัตย์ ข้าราชการ อดีตวุฒิสมาชิก แกนนำเอ็นจีโอ นักวิชาการ และอื่นๆ ลงมือขับคณะรัฐประหาร ชนชั้นกลางอาจเอาด้วย
เศรษฐกิจทรุด !
ปัญหาปากท้องเป็นตัวแปรทอนอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ได้เช่นเดียวกัน ในกรุงเทพฯ พวกรถตู้ หาบเร่แผงลอย
พากันต่อต้านคำสั่งจัดระเบียบที่ส่งผลกระทบต่อการทำมาหากิน ในภาคอีสาน ชาวบ้านประท้วงเหมืองแร่
ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ ชาวสวนยางซึ่งจำนวนมากสนับสนุนกลุ่ม กปปส.รู้สึกว่าตนควรได้รับการตอบแทนจึงเรียกร้องให้รัฐบาลทหารช่วยเหลือ เมื่อเดือนมกราคม รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์สั่งการให้กระทรวงต่างๆรับซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง ทำให้คณะรัฐประหารเสียหน้าค่าที่เคยติเตียนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในโครงการรับจำนำข้าว
โลกล้อมไทย
พล.อ.ประยุทธ์ ยังถูกตีกรอบด้วยปฏิกิริยาจากนานาชาติด้วย ประชาคมระหว่างประเทศพากันวิจารณ์ความเสื่อมถอยของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน รวมถึงประเด็นแรงงานทาส ค้ามนุษย์ ประมงผิดกฎหมายล่าสุดเมื่อ 22 เมษายน ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซาอิด รออัด อัลฮุสเซน เรียกร้องคณะรัฐประหารของไทย ขอให้ระงับใช้อำนาจตามมาตรา 44 และบรรดาคำสั่งที่ให้อำนาจอย่างล้นเหลือแก่เจ้าหน้าที่ทหารในตอนท้าย ผู้เขียนคาดการณ์ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ อำนาจเด็ดขาดของพล.อ.ประยุทธ์ก็อาจพลอยจบเห่ไปพร้อมๆกัน
The Diplomat
http://thediplomat.com/2016/05/thailand-the-limits-of-absolute-power
ตอนท้ายบท วิเคราะห์ กล่าวไว้ว่า
if the constitution is rejected in August then General Prayut may find that his absolute power dissolves absolutely.
(หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ อำนาจเด็ดขาดของพล.อ.ประยุทธ์อาจจะสลายลงอย่างแน่นอน)
☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
voice tv แปล
นักสังเกตการณ์ชี้ ‘พล.อ.ประยุทธ์’ เงื้อค้างอำนาจตาม ม.44 เหตุเพราะฝ่ายต้านรัฐประหารประท้วงไม่หยุด เครือข่ายหนุนระบอบทหารโลเล-แตกแยก ปัญหาปากท้องลดทอนฐานเสียง และปรากฏการณ์โลกล้อมไทย
เว็บไซต์นิตยสาร
ด้านกิจการระหว่างประเทศ
The Diplomat เผยแพร่บทวิเคราะห์
ของ James Buchanan
อาจารย์ประจำภาควิชาเอเชียศึกษาและนานาชาติ มหาวิทยาลัยฮ่องกง
ชี้ว่า ถึงแม้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญมอบอำนาจโดยสมบูรณ์ให้แก่หัวหน้าคณะรัฐประหาร ทว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สามารถใช้ดาบอาญาสิทธิ์เล่มนี้ได้ถนัดมือนัก Buchanan บอกในบทความเมื่อวันอังคารที่ 3 พฤษภาคม ว่า อำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ของผู้นำรัฐบาลทหารของไทย ถูกตีกรอบจำกัดด้วยเหตุปัจจัย 4 ด้านนั่นคือ ความจำเป็นที่จะต้องใช้ไม้แข็งควบคู่กับไม้นวมในการรับมือกลุ่มพลังฝ่ายต่อต้าน ความโลเลในฝ่ายสนับสนุน ความเดือดร้อนด้วยปัญหาปากท้องของคนระดับล่าง และสุดท้ายคือ แรงกดดันจากประชาคมนานาชาติไต่เส้นลวดนักวิชาการในฮ่องกงผู้นี้บอกว่า ประชาชนจำนวนมากอยู่คนละฝั่งกับพล.อ.ประยุทธ์ รัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาจากคะแนนเสียงเลือกตั้งราว 48% ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด คณะรัฐประหารตระหนักดีว่า ถ้าบีบคั้นหนักเกินไปอาจจุดชนวนโต้กลับที่ยากจะควบคุมได้ ดังนั้น รัฐบาลทหารจึงต้องใช้ทั้งการปราบปรามควบคู่กับการอดกลั้น แม้ว่านักศึกษา นักกิจกรรม อดีต ส.ส. ที่แสดงการต่อต้าน มักถูกควบคุมตัว แต่ก็ต้องรีบปล่อย
ขณะเดียวกัน ทหารยอมให้กลุ่มคนเสื้อแดงทำกิจกรรมได้บ้างคนกันเอง พล.อ.ประยุทธ์ยังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายเดียวกันด้วย ในระยะหลังเครือข่ายสนับสนุนรัฐประหารเริ่มแสดงท่าทีแปลกออกไปบรรดาแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ออกมาคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่นักเคลื่อนไหวในกลุ่มราชาชาตินิยม เช่น อดีตวุฒิสมาชิก รสนา โตสิตระกูล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สุริยะใส กตะศิลา ต่างวิจารณ์คณะรัฐประหารเช่นกันนักวิเคราะห์ผู้นี้บอกว่า สุ้มเสียงจากเครือข่ายสนับสนุนรัฐประหารบ่งบอกอะไร ยังไม่แน่ชัด ฝ่ายเสื้อแดงบอกว่าเป็นแค่การเล่นละครกู้หน้าตัวเอง คนเหล่านี้ไม่อาจแสดงตัวสนับสนุนรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้แต่บางคนบอกว่าฝ่ายราชาชาตินิยมกำลังแตกแยกการแตกคอกันของกลุ่มพลังดังกล่าวสร้างความงุนงงให้แก่ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯซึ่งต่อต้านทักษิณ สนับสนุนกองทัพและการปฏิรูปแบบถอยหลังเข้าคลองของทหาร สนับสนุนกลุ่ม กปปส.ของสุเทพเมื่อเร็วๆนี้ นายสุเทพประกาศสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการออกเสียงประชามติชนชั้นกลางกรุงเทพเป็นพวกมีอารมณ์แปรปรวน เมื่อปี 2535 เคยไล่รัฐบาลทหารมาแล้ว หากปีกพลเรือนของกลุ่มราชาชาตินิยม คือ พรรคประชาธิปัตย์ ข้าราชการ อดีตวุฒิสมาชิก แกนนำเอ็นจีโอ นักวิชาการ และอื่นๆ ลงมือขับคณะรัฐประหาร ชนชั้นกลางอาจเอาด้วย
เศรษฐกิจทรุด !
ปัญหาปากท้องเป็นตัวแปรทอนอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ได้เช่นเดียวกัน ในกรุงเทพฯ พวกรถตู้ หาบเร่แผงลอย
พากันต่อต้านคำสั่งจัดระเบียบที่ส่งผลกระทบต่อการทำมาหากิน ในภาคอีสาน ชาวบ้านประท้วงเหมืองแร่
ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ ชาวสวนยางซึ่งจำนวนมากสนับสนุนกลุ่ม กปปส.รู้สึกว่าตนควรได้รับการตอบแทนจึงเรียกร้องให้รัฐบาลทหารช่วยเหลือ เมื่อเดือนมกราคม รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์สั่งการให้กระทรวงต่างๆรับซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง ทำให้คณะรัฐประหารเสียหน้าค่าที่เคยติเตียนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในโครงการรับจำนำข้าว
โลกล้อมไทย
พล.อ.ประยุทธ์ ยังถูกตีกรอบด้วยปฏิกิริยาจากนานาชาติด้วย ประชาคมระหว่างประเทศพากันวิจารณ์ความเสื่อมถอยของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน รวมถึงประเด็นแรงงานทาส ค้ามนุษย์ ประมงผิดกฎหมายล่าสุดเมื่อ 22 เมษายน ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซาอิด รออัด อัลฮุสเซน เรียกร้องคณะรัฐประหารของไทย ขอให้ระงับใช้อำนาจตามมาตรา 44 และบรรดาคำสั่งที่ให้อำนาจอย่างล้นเหลือแก่เจ้าหน้าที่ทหารในตอนท้าย ผู้เขียนคาดการณ์ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ อำนาจเด็ดขาดของพล.อ.ประยุทธ์ก็อาจพลอยจบเห่ไปพร้อมๆกัน
The Diplomat
http://thediplomat.com/2016/05/thailand-the-limits-of-absolute-power
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น