วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

ทางเลือกของนักสู้เพื่อประชาธิปไตยไร้เดียงสา


ศิวา มหายุทธ์
กันยายน 2559

     ปรากฏการณ์ที่โดดเด่น หลังจากชัยชนะของกลุ่มแนวร่วมเผด็จการในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 อันสุดแสนอัปลักษณ์ทั้งสาระและกระบวนการ คือ
     1) การรุกคืบอย่างชนิด"ได้คืบเอาศอก"จากการใช้อำนาจผ่านรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบให้เป็นเผด็จการมากขึ้น และปฏิบัติการกระชับอำนาจเผด็จการที่ขยายวงเชิงปริมาณ และคุณภาพอย่างเข้มข้นมากขึ้น
     2) เส้นทางการต่อสู้แบบจำกัดวงของผู้รักประชาธิปไตยและเสรีภาพด้วยแนวทางสันติวิธีในเวทีรัฐสภาและบนท้องถนนเดินทางมาถึงจุดจบแบบเป็นทางการ เหลือแต่แนวทางและเวทีอื่นที่รออยู่แต่ยังไม่มีใครหาญกล้านำเสนอ และไม่พร้อมจะเลือกยอมรับ ด้วยเหตุและข้ออ้างต่างๆกัน สุดแท้จะสรรหาขึ้นมาโดยไม่ยอมออกจากหลุมดำ
     ความฮึกเหิมของแนวร่วมเผด็จการภายใต้กองทัพเป็นแกนนำ เพื่อเป้าหมายใช้อำนาจเบ็ดเสร็จกดสังคมให้อยู่ใต้อำนาจนำด้วยเครื่องมือทุกอย่างที่มี เพื่อสร้างภาพ"รัฐที่ปลอดการเมือง"ซึ่งไร้นักการเมืองฉ้อฉล ไร้ความวุ่นวายจากประชาธิปไตยที่ขาดสงบสันติ มีความรู้รักสามัคคีบนความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชอบด้วยเหตุผล มีอัตลักษณ์ไทยที่โดดเด่น และมีความมั่นคงของสถาบันหลัก เป็นปรากฏการณ์ที่ดำเนินไปทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ท่ามกลางความพยายามซุกซ่อนปัญหาทุกอย่างไว้ใต้พรม อันเป็นพฤติกรรมที่ถนัดเข้มข้นของอำนาจรัฐรวมศูนย์ที่ถูกออกแบบมายาวนานเมื่อ 100 ปีก่อน
     ความพยายามของแนวร่วมเผด็จการที่ต้องการให้รัฐราชการร่วมมือกับกลุ่มทุนผูกขาดใหญ่จำนวนน้อย ในนาม "ประชารัฐ"  ตามที่แกนนำอย่างประเวศ วะสี ร่วมกับอานันท์ ปันยารชุน และ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ออกแบบตามการชี้นำของกองทัพ เพื่อจะปรับเปลี่ยนให้เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หวังนำไปสู่การก้าวกระโดดใหญ่ทางทุนนิยม ในแนวทางจีนปัจจุบัน หรือเกาหลีใต้ยุคก่อนประชาธิปไตย เพื่อให้คนยอมสยบและเชื่อว่า แม้ไม่ต้องเป็นประชาธิปไตย แต่เผด็จการเบ็ดเสร็จหรือ ประชาธิปไตยครึ่งใบ ก็สามารถขับเคลื่อนทำให้ประเทศพัฒนาและมั่งคั่งกว่ารัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้ง ถูกขับเคลื่อนอย่างบูรณาการควบคู่ไปกับการกระชับอำนาจในกลุ่มคนจำนวนน้อยภายใต้เครือข่ายราชสำนักที่มีกองทัพเป็นแกนนำ
     เป้าหมายของแนวร่วมเผด็จการนี้ ได้ทำให้เวทีของผู้รักเสรีภาพ ความยุติธรรมทางสังคม และประชาธิปไตย ถูกปิดล้อมเสียจนกระดิกตัวไม่ได้ เพราะกลไกควบคุมอำนาจทั้งทางการและไม่เป็นทางการผ่านช่องทางต่างๆถูกนำมาใช้อย่างเบ็ดเสร็จไม่ต่างจากเผด็จการขวาจัดที่มีแนวร่วมมวลชนหนุนหลังในยุคของ ฮวน และ เอวา เปรองแห่งอาร์เจนติน่า หรือ กองทัพญี่ปุ่นยุคหลังปฏิรูปเมจิ รวมทั้ง ฟาสซิสต์ในอิตาลียุคก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และจีนยุคปฏิวัติทางวัฒนธรรม
    การใช้อำนาจปิดกั้นคุกคามอย่างเบ็ดเสร็จนี้ได้ผลค่อนข้างสูงมาก อย่างน้อยการกระทำภายใต้ข้ออ้าง"ถอยห่างจากการเมือง"ก็สามารถควบคุมสถานการณ์เหนือสังคมอย่างไร้ผู้ต่อต้านที่เข้มแข็ง
    ล่าสุด ท่าที่แปรเปลี่ยนของสหรัฐฯที่หันมาคืนดีกับแนวร่วมเผด็จการที่มีกองทัพเป็นแกนนำ ถือเป็นการประทับความชอบธรรมอย่างเป็นทางการ ให้กับอำนาจนำของแนวร่วมเผด็จการโดยปริยาย
    ความมั่นใจว่าการสถาปนาอำนาจนำเหนือสังคมไทยของแนวร่วมเผด็จการเช่นนี้ สะท้อนจากการยกเลิกศาลทหารล่าสุด ด้วยความเชื่อมั่นสูงสุดว่า กลไกและเครื่องมือของพลังแนวร่วมเผด็จการเหนือรัฐไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นเอกภาพ หลังประชามติผ่าน สามารถรับมือกับพลังของแรงต่อต้าน อย่างมีประสิทธิผลและชอบธรรมไปอีกยาวนานตามต้องการได้
    สถานการณ์แปรเปลี่ยนนี้ ขบวนแถวของผู้รักและนักสู้เพื่อประชาธิปไตย (ไม่นับกลุ่มการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ที่เปิดตัวเองล่อนจ้อนว่ายอมตนเป็นเครื่องมือเผด็จการในนามของพรรคการเมืองภายใต้เวทีประชาธิปไตยอย่างฉกฉวยโอกาส) กลับเกิดปรากฏการณ์ที่รวนเรไร้เอกภาพ และมีลักษณะของนักประชาธิปไตยไร้เดียงสากันอย่างชัดเจน ถึงขั้นที่มีบางคนสรุปอย่าสุดขั้วว่า ยามนี้และอนาคต ไม่เพียงภาพรวมของการเมืองแบบเปิดจะถอยหลังเข้าคลองเท่านั้น แต่ขบวนแถวประชาธิปไตยกลับยิ่งถอยหลังกว่าลงคลองด้วยซ้ำ
    ภายใต้สถานการณ์คุกคามเสรีภาพรุนแรงอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองในรอบ 84 ปี นับแต่ พ.ศ. 2475 ช่องทางการต่อสู้ของขบวนแถวประชาธิปไตยถูกล้อมกรอบให้จำกัดอย่างมาก จนกระทั่งแทบจะหาโอกาสและช่องทางขับเคลื่อนอย่างเปิดเผยไม่ได้
     เวทีของผู้รักเสรีภาพ ความยุติธรรมทางสังคม และประชาธิปไตย ถูกปิดล้อมด้วยกลไกควบคุมอำนาจทั้งทางการและไม่เป็นทางการผ่านช่องทางต่างๆอย่างเบ็ดเสร็จ เวทีของการต่อสู้ทางรัฐสภา และการชุมนุม (แม้กระทั่งการเสวนาเชิงวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย) ถูกปิดตาย กลายเป็นเส้นทางต้องห้าม และ"ปลอดการเมือง"
     สถานการณ์ที่ แนวร่วมเผด็จการภายใต้กองทัพเป็นแกนนำเช่นนี้ บ่งบอกท่าทีชัดเจนของแกนนำแนวร่วมเผด็จการว่า ความขัดแย้งทางอำนาจและผลประโยชน์ในสังคมไทย ระหว่างพลังเผด็จการ และพลังประชาธิปไตย จะสิ้นสุดลงต่อเมื่อถึงขั้นแตกหัก จนพลังประชาธิปไตยพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงไปแล้วด้วยข้ออ้างของ"ผลกรรมของความไม่จงรักภักดีและไม่รักชาติเพียงพอ"
    สถานการณ์อันบีบคั้นอย่างที่สุดนี้กลับมีปรากฏการณ์ที่ย้อนแย้งกันขึ้นมาในบรรดากลุ่นคนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งหลายที่ทำให้ขบวนแถวไม่สามารถเปล่งพลังในการต่อสู้ใดๆขึ้นมาใน"เชิงรุก"เพื่อช่วงชิงโอกาสทั้งตอบโต้ หรือ ยันการรุกคืบของแนวร่วมเผด็จการได้เลย หนำซ้ำยังมีการถอยร่นไม่เป็นส่ำด้วยซ้ำ
     บรรยากาศเช่นนี้ มีความจำเป็นต้องหันกลับมาทบทวนการต่อสู้ของพลังประชาธิปไตยที่เป็นมากกว่าคำขวัญ"อนาคตสดใส แต่หนทางคดเคี้ยว"อย่างจริงจัง

 หลุมดำของนักประชาธิปไตยไร้เดียงสา

        หากไม่นับกลุ่มนักสู้ตามรอย ทักษิณ ชินวัตร และ นปช. ที่เป็นส่วนหนึ่งในขบวนแถวพลังประชาธิปไตย(จากการเลือกตั้ง และนักเลือกตั้ง) ที่เลือกเส้นทาง"สู้ไป กราบไป"ตลอดมาอย่างไม่สามารถพึ่งพิงได้เลยว่าจะเป็นความหวังในฐานะแกนนำของพลังประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในอนาคตได้แล้ว มีจุดอ่อนสำคัญของกลุ่มนักสู้ประชาธิปไตยที่จำกัดตัวเองกับ"ความไร้เดียงสาหลายรูป" ซึ่งทำให้เส้นทางสู่การต่อสู้ตีบตันภายในหลุมดำ เพราะท่าทีและแนวทางการต่อสู้เสมือน"ล่ามโซ่ตรวนที่ข้อเท้าตนเอง" อยู่ 2กลุ่ม ที่ชัดเจน
1)กลุ่มที่ยึดมั่นกับลัทธิยอมจำนนอย่างดื้อรั้นและอับจน ยอมจมปลักกับความพ่ายแพ้และทางตีบตันของข้อจำกัด ด้วยจิตวิทยาแบบ"มะนาวหวาน"ผ่านคำขวัญ "ประชาธิปไตยต้องมีวิธีการที่สอดรับกับเป้าหมาย"ในลักษณะของการพายเรือในอ่าง
บางคนในกลุ่มนี้ เลยเถิดไปไกลถึงขั้นนำเสนออย่างสุดขั้วว่า”หากไม่สามารถสร้างฉันทามติให้เกิดขึ้นกับคนทั่วทั้งสังคมได้ อย่าหวังเลยว่าจะเกิดประชาธิปไตยได้” ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ว่า ทุกสังคมประชาธิปไตยทั้งหลายในโลก ล้วนถือกำเนิดจากครรภ์ของสังคมที่มีความขัดแย้งเป็นพื้นฐาน
           2) กลุ่มที่ต้องการสถาปนาอำนาจรัฐประชาธิปไตยภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐรวมศูนย์แบบเดิมที่คณะราษฎรทั้งซากเดิมเป็นมรดกบาปเอาไว้ เพราะแยกไม่ออกว่า เมล็ดพันธุ์ของพลังประชาธิปไตยที่แท้จริงจะงอกงามขึ้นได้ ต้องการโครงสร้างอำนาจรัฐกระจายศูนย์ที่เปิดช่องให้กับการมีส่วนร่วมในอำนาจรัฐหลายระดับ
     กลุ่มแรก เริ่มปรากฏตัวชัดเจนยิ่งขึ้นหลังผลการลงประชามติออกมาเรียบร้อย ภายใต้คำขวัญคร่ำครึในขบวนแถวจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ว่าด้วย"ซุ่มซ่อนยาวนาน สะสมกำลัง รอคอยโอกาส" โดยเชื่อมั่นว่า ในยามที่ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แล้ว จำต้องทนอยู่ร่วมและ"วิสาสะ"ในสังคมใต้อุ้งเท้าเผด็จการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการเวลา ตามหลักจิตวิทยา "มะนาวหวาน" แม้บางคนเชื่ออย่างเข้าข้างตนเองว่า จะแข็งแกร่งกับจุดยืนที่ไม่ถึงขั้นยอมตน "เลียนมที่หกไปแล้ว"จนสูญเสียอหังการของนักสู้เพื่อประชาธิปไตยจนหมดสิ้น
     กลุ่มนี้ เชื่อว่า พลังเผด็จการที่ไร้ความชอบธรรมย่อมทำลายตนเองจากภายในในอัตราเร่ง ดังนั้นการ"นั่งบนภู ดูเสือ(หรือ สุนัข)กัดกัน" และสะสมพลัง ย่อมมีโอกาสกลับมาสู่ชัยชนะครั้งใหม่ได้
     คำถามที่คนกลุ่มนี้ตอบไม่ได้คือ ชัยชนะที่(เชื่อว่า)กลับคืนมา(โดยไม่ต้องลงมือกระทำใดๆ) นั้น จะเป็นเมื่อใด หรือจริงแท้แค่ไหน
     กลุ่มหลังคือกลุ่มคนที่ยึดติดและชูคำขวัญว่า ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ต้องมีวิธีการที่สอดรับกับเป้าหมาย ไม่หลงทิศทางไปกับเส้นทางการต่อสู้ในเส้นทางอื่นที่"นอกลู่นอกทาง"
     ท่าทีดังกล่าว มีเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่า การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยนั้น แยกไม่ออกจากการยึดอำนาจนำเหนือรัฐด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมผ่านการลองผิดลองถูก ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
     เส้นทางของ"นักสู้เพื่อประธิปไตยสันติวิธี" ที่หลายคนยกย่องเกินเลยและด้านเดียว อย่าง โมหันดาส คานธี หรือ เนลสัน แมนเดล่า หรือ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ หรือ ฯลฯ ในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมไม่เคยปราศจากความรุนแรง ทั้งในสาระ และในทางกายภาพ บนพื้นฐานของรากเหง้าวัฒนธรรม และการเลือกใช้เครื่องมือรูปธรรมในการต่อสู้ ถูกเพิกเฉยที่จะมีการศึกษาอย่างจริงจัง
    การยึดติดกับสูตร"สันติวิธี ไม่มีแพ้"(ซึ่งเป็นเพียงข้อเสนอเชิงยุทธวิธี ไม่ใช่คำขวัญทางยุทธศาสตร์) จึงเป็นการล่ามโซ่ข้อเท้าตัวเองที่บรรดาศัตรูของพลังประชาธิปไตย ฉกฉวยและยินดีรับสมอ้างด้วยความปลื้มปิติอย่างยิ่ง เพราะเส้นทางอื่นของการต่อสู้(พื้นที่สื่อ และ เวทีต่างประเทศ) ไม่สามารถเป็นปัจจัยแห่งชัยชนะได้เลย
    เส้นทางสุดท้าย การต่อสู้ด้วยการจัดตั้งกองกำลัง เป็นทางเลือกสุดท้ายที่ถูกปฏิเสธจากนักประชาธิปไตยไทยมานานกว่า 30 ปี โดยการอ้างถึงฝันร้ายของขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยและอีกหลายประเทศ ในขณะที่คนบางกลุ่มคิดถึงภาพการ"ก่อการร้าย"ไปเลย ทั้งที่มีสาระและกระบวนการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
   ถ้าหากความรุนแรงที่บรรดาคนในขบวนแถวแนวร่วมเผด็จการกระทำต่อผู้รักประชาธิปไตยซ้ำซาก กลายเป็น"ความชั่วร้ายที่ชอบธรรม" แต่การหยิบอาวุธสร้างกองกำลังขึ้นมาเพื่อป้องกันการต่อสู้ถูกปฏิเสธในฐานะแนวทางที่ชั่วร้ายแล้ว ก็มีคำถามตามว่า ปัจจัยแห่งชัยชนะของพลังประชาธิปไตย จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    กลุ่มหลัง เป็นกลุ่มคนที่เชื่อว่า พลังประชาธิปไตยที่ยั่งยืนใต้รัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งนั้น สามารถเกิดขึ้นและเติบโตขึ้นมาได้ ภายใต้อำนาจรัฐแบบรวมศูนย์ ที่มีโครงสร้างรัฐซ้อนรัฐแอบแฝงอยู่ตลอดเวลา
    84 ปีของความล้มเหลวสถาปนาประชาธิปไตยไทย ได้ยืนยันชัดเจนว่าโครงสร้างอำนาจรัฐไทยรวมศูนย์ปัจจุบัน ต้องถูกล้มล้าง และแทนที่ด้วยโครงสร้างรัฐใหม่ที่กระจายอำนาจไปยังคนหลากหลายกลุ่ม อาชีพ ชาติพันธุ์ ภาษา และ วัฒนธรรม เพื่อเปิดทางให้การมีส่วนร่วม กระจายความมั่งคั่ง โอกาส เสรีภาพ และความยุติธรรมขึ้นมา
   พลังประชาธิปไตยภายใต้อำนาจรัฐรวมศูนย์แบบรัฐซ้อนรัฐ เปิดทางให้แนวร่วมเผด็จการสถาปนาอำนาจนำได้ง่ายดาย ฉันใด พลังประชาธิปไตยภายใต้อำนาจรัฐกระจายศูนย์ ย่อมสร้างกระบวนการทำลายหน่อเชื้อของแนวร่วมเผด็จการให้ล่มสลาย และยากจะผุดเกิดได้มาก ฉันนั้น
   ผู้เขียนขอย้ำอีกครั้งว่า สหพันธรัฐสยาม (ที่นักสู้เพื่อประชาธิปไตยสยาม เห็นพ้องด้วยมากขึ้นต่อเนื่อง) คือ คำตอบของโครงสร้างที่จำเป็น ซึ่งจะถือกำเนิดและหล่อเลี้ยงพลังประชาธิปไตยได้ดีที่สุด ในเวลานี้และในอนาคต
   นักสู้เพื่อประชาธิปไตย ที่สามารถเปิดกระบวนทัศน์ใหม่ พ้นจากหลุมดำของพลังประชาธิปไตยได้ และเลิกไร้เดียงสา จนสามารถมีความหวังได้ว่า พลังประชาธิปไตยโดยรวม จะสามารถตอบโต้ หรือยันการรุกคืบของแนวร่วมเผด็จการได้ และมีโอกาสสถาปนาอำนาจนำเหนือรัฐสยามได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
   จุดสำคัญคือ นักประชาธิปไตย จะกล้าหาญทางความคิด และจริยธรรม มากน้อยแค่ไหน เพื่อขับเคลื่อนพลังประชาธิปไตยที่ยั่งยืนให้งอกงามขึ้น

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

3บทความตาสว่างสร้างไทยให้เป็นสหพันธรัฐ บทที่3: สองก้าวข้าม เพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ ยุทธวิธีที่หลากหลาย


Sun, 2010-01-03 21:32
ศิวะ รณยุทธ์
28 ธันวาคม 2552

                ความคลี่ คลายของสถานการณ์ของการต่อสู้ของผู้รักประชาธิปไตยในหลายเดือนมานี้ ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวที่จะจัดขบวนใหม่ของการต่อสู้ให้เหมาะสม เพราะปรากฏการณ์ที่ชัดเจนได้ยืนยันว่า กลุ่มอำมาตย์(พันธมิตรข้าราชการ+ทุน อภิสิทธิ์ ที่หนุนหลังโดยราชสำนัก) ยังคงดื้อรั้นที่จะยึดกุมอำนาจเผด็จการซ่อนรูปแบบ ‘โต๊ะแชร์’ เพื่อแบ่งปันผลระโยชน์ต่างตอบแทนกันในคนจำนวนน้อยนิดเอาไว้ในกำมือต่อไป ภายใต้โครงสร้างรัฐซ้อนรัฐอันซับซ้อนในนาม ‘ประชาธิปไตยรู้รักสามัคคี’ ที่ลวงโลก
ถึง แม้ว่า สถานการณ์จะเอื้ออำนวยให้การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประชาชน แต่คำถามเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่เหมาะสมในการต่อสู้เพื่อเอาชนะ ศัตรูของประชาธิปไตยยังดำรงอยู่มิได้ขาดว่า จะดำเนินการขับเคลื่อนกันต่อไปอย่างไรเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพลังประชาธิปไตย จากปริมาณสู่คุณภาพ แล้วแปรเปลี่ยนไปบรรลุชัยชนะเหนือพลังเผด็จการทุกรูปแบบ

ข้อ เขียนชิ้นนี้ ถือเป็นการให้คำอธิบายกับข้อเสนอเดิมที่ว่าด้วยการสร้าง ‘ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ ยุทธวิธีที่หลากหลาย’ เมื่อหลายเดือนก่อน โดยสาระสำคัญที่ต้องการย้ำให้เห็นว่า การจะบรรลุเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ยุทธวิธีดังกล่าวได้ จะต้องผ่านการก้าวข้าม 2 อุปสรรคสำคัญของขบวนการประชาธิปไตยให้ได้เสียก่อนนั่นคือ

1)    ก้าวข้ามทางอุดมการณ์
2)    ก้าวข้ามทางการจัดตั้ง

ข้อเสนอ 2 ก้าวข้ามนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากข้อสรุปของอันโตนิโอ กัมชี่ที่ว่าด้วย อำนาจนำ ที่มีข้อเสนอสำคัญคือ การ เปลี่ยนแปลงสังคมที่แท้จริง จำเป็นต้องเปลี่ยนจิตสำนึกของสังคมในทางการเมืองและวัฒนธรรมด้วย นอกเหนือจากการยึดครองอำนาจรัฐทางการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการบังคับกดขี่ ซึ่งจะทำได้จะต้องเอาชนะในสงคราม 2 ด้านพร้อมกันไปคือ สงครามอุดมการณ์(และวัฒนธรรม) กับ สงครามขับเคลื่อนทางการจัดตั้ง ซึ่งสอดคล้องกับ เหมา เจ๋อ ตง ในส่วนที่ว่า “หากจะปฏิวัติต้องมีทฤษฎีปฏิวัติ และมีองค์กรจัดตั้งเพื่อปฏิวัติ” นั่นเอง


ก้าวข้ามทางอุดมการณ์
            แม้ว่านักสู้เพื่อประชาธิปไตยไทยจะได้ผ่านบทเรียนมาครั้งแล้วครั้งเล่าในการ ต่อสู้กับเผด็จการหลากรูปแบบ แต่ย่างก้าวของประชาธิปไตยที่ยั่งยืนก็ยังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอุปสรรคทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งยังไม่สามารถก้าวข้ามได้

            อุปสรรคทางด้านอุดมการณ์(และวัฒนธรรม)ที่ยังแฝงเร้นและยังไม่อาจก้าวข้ามได้ พ้นดังที่ได้สรุปอย่างย่นย่อต่อไปนี้คือ สิ่งที่เราต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ก่อนจะนำไปสู่เรื่องของการจัดตั้งที่จะส่งผลเป็นรูปธรรม

มายาคติเรื่องประชาธิปไตยคือสิ่งแปลกปลอม(การชิงสุกก่อนห่าม - เอาความคิดฝรั่ง ที่ไม่เหมาะกับสังคมไทยมาใช้-เป็นการกระทำของกลุ่มโดยประชาชนไม่มีส่วนร่วม - รัชกาลที่ ๗ เป็นบิดาแห่งการปกครองประชาธิปไตยไทย) สร้างความแตกแยกทางสังคม (ทำให้ไม่รู้รักสามัคคีซึ่งมีคุณค่าเหนือกว่าความยุติธรรมของสังคม ไม่ได้คนดีปกครองบ้านเมืองแต่มีรัฐบาลเลือกตั้งสามานย์ ทำให้ทุนครอบรัฐ และเกิดวัฒนธรรมซื้อเสียง) ทั้งที่ข้อเท็จจริงแล้ว ประชาธิปไตยคือ วัฒนธรรมที่เปิดโอกาสให้มวลชนในสังคมแสดงความหลากหลายทางความคิดเพื่อสะท้อน ข้อเท็จจริงของตนอย่างเปิดเผย และได้รัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพซึ่งบั่น ทอนการลงทุน และทำให้เศรษฐกิจทรุดโทรม ทั้งที่มีหลักฐานสนับสนุนย้ำว่า ชาติที่มีประชาธิปไตยเต็มรูปและประชาชนมีหลักประกันเสรีภาพ/เสมอภาคนั้น สามารถแปรพลังของรัฐให้กลายเป็นพลังการผลิตใหม่ๆได้เหนือกว่าชาติ ประชาธิปไตยครึ่งใบหรือเผด็จการที่มีข้อจำกัดในการสร้างพลังทางเศรษฐกิจ

   มายาคติว่าด้วยความบริสุทธิ์ของอุดมการณ์ (หรือ ชุดความคิดสำเร็จรูปชี้นำมวลชน) สังคมที่ไม่สามารถแยกแยะสภาพที่แท้จริงทางสังคมออกจากความเชื่อเรื่อง อุดมการณ์ที่บริสุทธิ์อันกระด้างต่อความเป็นจริงทางสังคม ย่อมตกเป็นเหยื่อของ ‘ความจริงสำเร็จรูปที่ถูกปรุงแต่งขึ้น’ ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อของสงครามทางการเมือง โดยเชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่บริสุทธ์ทางความเชื่อได้ โดยปฏิเสธสัจธรรมที่ว่า ทุกความเชื่อและทฤษฏีทางสังคมใดๆล้วนมีด้านสว่างและด้านมืดเสมอ ดังจะเห็นได้จาก ข้ออ้างเรื่องเอกลักษณ์ความเป็นไทยเพื่อเชิดชูอำนาจราชสำนักและความคิดชาติ นิยมสำเร็จรูปของพวกอำมาตย์ ทั้งที่ความจริงแล้วสังคมไทยประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมจนไม่จำ เป็นต้องนิยามอย่างยัดเยียดในเรื่องเอกลักษณ์ไทย หรือ ทฤษฎีที่เชื่อว่าสังคมต้องมีเป้าหมายในตัวเองเพื่อมุ่งไปสู่สังคม คอมมิวนิสต์และมีวิวัฒนาการเป็นเส้นตรง หรือ การปฏิวัติต้องมีพรรคชี้นำหลักที่มีทฤษฎีปฏิวัติชี้นำเป็นต้นซึ่งได้รับการ พิสูจน์มาแล้วว่า มีข้อบกพร่องที่ต้องทบทวนอยู่มาก

มายาคติว่าด้วยประชาธิปไตยจากเบื้องบน เชื่อ มั่นว่า พวกอำมาตย์นั้นมีกระบวนทัศน์และจิตใจประชาธิปไตยมากเพียงพอที่จะก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยโดยสันติวิธีได้ด้วยข้อเสนอปฏิรูปทางการ เมือง ซึ่งโดยข้อเท็จจริง แม้ประชาธิปไตยจากเบื้องบน(ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการได้มาของประชาธิปไตยจาก เบื้องล่าง)เช่นว่านี้ จะมีตัวอย่างจำนวนน้อยในโลกนี้ (เช่น ญี่ปุ่น สวีเดน หรือ ภูฏาน) แต่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้ยืนยันมากว่าร้อยปีนับแต่มีการเปลี่ยนสังคม ไทยให้ทันสมัยแบบตะวันตกแล้วว่า พวกอำมาตย์ที่ครองอำนาจผูกขาด ล้วนถือประชาธิปไตยเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับสังคมไทยเสมอมา อาทิเช่น หลังจากการอภิวัฒน์ของคณะราษฎร พ.ศ.2475 พวกอำมาตย์ก็สร้างนิทานโกหกว่า หาอะไรดีไม่ได้และเป็นการ ‘เอาหมามานั่งเมือง’ ซึ่งยืนยันขัดเจนว่า พวกเขาจะไม่มีวันยอมให้มวลชนได้เข้ามาส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของสังคม และตนเองอย่างเด็ดขาด การรัฐประหาร 2549 ที่นำร่องโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกติกาของรัฐธรรมนูญ2550 ยืนยันชัดเจนให้ประจักษ์อยู่แล้ว

มายาคติว่าด้วยทุนสามานย์ มอง เห็นแต่ด้านมืดของทุนนิยมว่า เป็นระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา และหากทุนครอบงำรัฐ จะทำให้กลุ่มทุนผูกขาดหาประโยชน์จากการมีอำนาจทางการเมืองเหนือประชาชนกลุ่ม อื่นๆ ทั้งที่โดยหากใช้วิภาษวิธีวิเคราะห์กันแล้ว ทุนนิยมเช่นเดียวกันกับระบบเศรษฐกิจการเมืองอื่นๆของมนุษย์ นั่นคือก็มีทั้งด้านมืดและสว่างดำรงอยู่ควบคู่กันไป จุดเด่นของทุนนิยมโดยเฉพาะทุนนิยมเสรี อยู่ที่มันสามารถสร้างพลังการผลิตด้วยกระบวนการของคนกลุ่มต่างๆให้หลากหลาย รูปแบบอย่างไม่จำกัดได้ดีกว่ากระบวนการผลิตด้วยระบบอื่นๆโดยเปรียบเทียบ แม้จะมีด้านมืดที่ภายในระบบนี้จะมีปัญหาความผันผวนเป็นวงจรขาขึ้นและขาลงที่ สร้างปัญหาเชิงโครงสร้างและผลกระทบต่อชีวิตผู้คนเป็นระยะๆ รวมถึงปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เกิดการกระจุกตัวของความ มั่งคั่งโดยกลุ่มทุนผูกขาดจำนวนน้อย แต่ก็ยังคงสามารถวิวัฒน์ให้ก้าวหน้าท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างทุนผูกขาดกับ ทุนเสรีก็เป็นสิ่งที่ดำเนินตลอดเวลาซึ่งรองรับเสียงเรียกร้องต้องการของผู้ คนในสังคมได้ดีกว่าระบบเศรษฐกิจอื่นๆอย่างยากปฏิเสธได้ ตัวอย่างเช่นสังคมไทยยุคหลังกรณีการลุกฮือของชนชั้นกลาง 2535 ทำให้ทุนใหม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับธุรกิจและช่องหารายได้นอกจารีต เดิมของทุนผูกขาดดั้งเดิมที่เกาะติดอำนาจเผด็จการมายาวนาน แต่เมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งอันเป็นผลจากความไม่พร้อมในการเข้าร่วมวงไพบูลย์ ของกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้กลุ่มอำมาตย์วิตกจริตกับอนาคตที่ตนเองไม่เข้าใจและเริ่มควบคุมไม่ได้จน กระทั่งสร้างกระแสทวนประวัติศาสตร์ด้วยการยอมให้อดีตกลับมาหลอกหลอนผู้คนใน สังคมครั้งใหม่ หวังเกาะกุมยึดอำนาจรัฐเพื่อรักษาอำนาจและประโยชน์ของตนอย่างเหนียวแน่น เดินสวนทางกับกลุ่มทุนใหม่ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ฉกฉวยโอกาสใช้เครื่องมือเก่าคร่ำครึอย่างกองทัพเข้ามา หวังกระชากโครงสร้างสังคมให้ถอยหลังกลับอย่างเพ้อฝันว่า จะสามารถสร้างแดนสนธยาของทุนผูกขาดที่รวมศูนย์และแจกจ่ายผลประโยชน์ในกลุ่ม อำมาตย์จำนวนน้อย ปฏิเสธทั้งการโอนกิจการเป็นของรัฐ (เพราะกลัวเสียอำนาจในการครอบครองปัจจัยการผลิตด้วยถูกยึดความมั่งคั่งแบบ รัฐสังคมนิยม) และการเปิดเสรีทางธุรกิจเต็มรูป(เพราะรู้ดีว่าไม่สามารถแข่งขันได้ใน บรรยากาศเปิด)

มายาคติว่า กองทัพเท่านั้นเป็นกำลังหลักของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในชาติกำลังหรือด้อยพัฒนา ข้อ สรุปหยาบๆว่าการเมืองไทยต้องมีทหารและกองทัพกำกับและแทรกแซง และรัฐบาลต้องรักษาสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพซึ่งเป็นเสาหลักพิทักษ์ราชบัลลัง ค์ และความมั่นคงของชาติ จึงเป็นข้ออ้างที่ใช้ทำรัฐประหารมาโดยตลอด ทั้งที่โดยข้อเท็จจริง รัฐบาลทหารหรือรัฐบาลทหารตั้งนั้นได้พิสูจน์ถึงการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพ และฉ้อฉลทุกรูปแบบสูงกว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งหลายเท่ามาตลอด อีกทั้งผู้นำของกองทัพซึ่งทำตนเป็นทหารการเมืองมากกว่าทหารอาชีพในปัจจุบัน ก็ขาดคุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำรัฐในยุคที่สังคมเรียกร้องการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว เพราะพวกเขาไม่สามารถเข้าใจสภาวะที่แท้จริงทางสังคมในประเทศและพลวัตของการ เปลี่ยนทางด้านภูมิศาสตร์การเมืองของโลกได้ แต่พวกเขายังดื้อรั้นหวังจะฉวยโอกาสหาประโยชน์เข้าส่วนตัวและพรรคพวกจากการ ผูกขาดอำนาจทางการเมืองต่อไปไม่สิ้นสุด กลายเป็นกาฝากหรือโจรการเมืองอย่างชัดเจน

มายาคติเรื่องคนเดือนตุลา ตราประทับแบบเหมาโหลต่อกลุ่มคนที่เรียกตัวว่าคนเดือนตุลา หรือพวกที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวขับเคลื่อนสังคมก่อนและหลัง 14 ตุลาคม 2516 เป็นพวก ‘ก้าวหน้า’ เปิดช่องให้กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่พลัดหลงกับกระแสดังกล่าว โดยที่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ทางทฤษฎี และไม่ได้ดัดแปลงตนเองอย่างถึงที่สุดฉวยโอกาสนำไปสร้างภาพลักษณ์หลอกลวงผู้ คนที่ไม่รู้จำแนกแยกแยะ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วจะต้องพิจารณาพฤติกรรมในปัจจุบันเป็นสำคัญว่า ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อขับเคลื่อนขบวนประชาธิปไตยของมวลชนมากน้อย เพียงใดและนักสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงย่อมถือเอาความรุนแรงเป็นแค่ เครื่องมือ มิใช่เป้าหมาย

มายาคติว่า การใช้ความรุนแรง ไม่ใช่วิถีประชาธิปไตย ข้อเท็จจริงก็คือ การใช้ความรุนแรงเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับการต่อสู้ทางการเมือง กับการใช้ความรุนแรงแบบลัทธิทหารอย่างพร่ำเพรื่อ มีความแตกต่างกันเพราะในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อได้มาเพื่อประชาธิปไตย ของสังคมต่างๆในโลก ล้วนแสดงให้เห็นว่า หากชนชั้นปกครองดื้อรั้นสร้างระบอบผูกขาดอำนาจเผด็จการในกลุ่มอภิสิทธิ์ชน จำนวนน้อย โดยปฏิเสธประชาธิปไตยจาก เบื้องล่าง(ซึ่งมีตัวอย่างจำนวนน้อยเต็มที) มวลชนที่รักประชาธิปไตยก็ไม่มีทางเลือกที่ต้องผสมการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ เป็นหนึ่งในยุทธวิธีเพื่อการต่อสู้

การก้าวข้าม อุปสรรคทางด้านอุดมการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะช่วยให้สามารถมองทะลุไปถึงความหมายที่ชัดเจนของข้อเรียกร้อง ‘ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ ยุทธวิธีที่หลากหลาย’ เพื่อช่วยให้สามารถมุ่งไปสู่การก้าวข้ามทางจัดตั้งอย่างเป็นระบบในการต่อสู้ เพื่อขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้าอย่างพลิกแพลงได้



ก้าวข้ามทางการจัดตั้ง
ขั้นตอนของ การก้าวข้ามทางการจัดตั้ง คือ การขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมของการต่อสู้ ซึ่งหากคนในขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยเกิดความเข้าใจเพียงพอในรูปฉันทามติร่วม (ไม่ใช่ประชาธิปไตยรวมศูนย์แบบเดิม)ว่า ยุทธวิธีขับเคลื่อนทุกอย่างที่ถูกนำมาใช้ จะต้องสามารถสร้างแรงเหวี่ยงเพื่อเอาชนะทางการเมืองให้ได้ทางใดทางหนึ่ง

การเอาชนะ ทางการเมืองคืออะไร? ลดขวัญกำลังใจ ทำให้ศัตรูไม่กล้าปราบปรามกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวอย่างถูกกฎหมายและกึ่งถูกกฎหมาย ทำให้ศัตรูจำต้องเปลี่ยนเกมเล่นที่ไม่ถนัด บีบให้ศัตรูต้องยอมรับเงื่อนไขบางประการที่เราเสนอ และเปลี่ยนฐานะจากการตั้งรับทางการเมืองของฝ่ายเราเป็นการรุกทางการเมืองต่อ ศัตรู

การรุกทาง การเมือง คืออะไร? ชุดของยุทธวิธีเพื่อสร้างปลุกระดมมวลชน สร้างความปั่นป่วนให้ศัตรู การโฆษณาชวนเชื่อ การล้มล้างความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมของอำนาจรัฐ การกัดกร่อนความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ การโจมตีด้วยกำลังอาวุธ การลุกฮือและประท้วง การเจรจาเพื่อหาทางออก และปฏิบัติการนอกแบบอื่นๆ

ขั้นตอนของ การขับเคลื่อนที่สำคัญ เริ่มต้นที่กลุ่มจัดตั้งของผู้รักประชาธิปไตยที่กระจัดกระจายกันในที่ต่างๆ ที่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคทางอุดมการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นได้บางส่วนหรือทั้ง หมด จัดการปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างฉันทามติร่วมเพื่อกำหนดเข็มมุ่งของการต่อสู้ ในรูปพหุภาคีใต้หลักการ ‘หนึ่งแนวร่วมในหลากแนวร่วมที่เสมอภาค’ โดยไม่ถือว่ากลุ่มใดชี้นำ แต่ให้ถือเอาข้อเสนอที่เป็นไปได้ และมีพลังมากที่สุดในการเอาชนะทางการเมืองเป็นธงนำ ซึ่งเมื่อได้ฉันทามติร่วมแล้ว ก็จะเกิดเอกภาพทางยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา

จากนั้นก็ เข้าสู่ขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติการผ่านยุทธวิธีเพื่อรุกทางการเมืองที่แต่ ละกลุ่มจัดตั้ง(ทั้งในรูปองค์กรเปิด หรือ กึ่งเปิดกึ่งปิด หรือ ปิด) มีความถนัดบนสถานการณ์ที่เป็นจริง ซึ่งเพื่อให้เข้าใจถึงการใช้ยุทธวิธีที่หลากหลายในการต่อสู้ มีต้นแบบที่ประสบความสำเร็จมาแล้วให้พิจารณาเพื่อประยุกต์ใช้เข้ากับ สถานการณ์อย่างยืดหยุ่น ซึ่งมี 3 โมเดลดังนี้

1. นิคารากัวโมเดล กลุ่มซานดินิสต้า(ชื่อย่อภาษาสเปนคือ FSLN- Frente Sandinista de Liberación Nacional) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1961 มีเป้าหมายหลักคือ ให้เจตจำนงของออกุสโต่ ซานดิโน่ อดีตผู้นำนักปฏิรูปที่ถูกลอบสังหารบรรลุนั่นคือ โค่นล้มอำนาจของเผด็จการโซโมซ่า และลดการครอบงำของสหรัฐฯแต่เนื่องจากความซับซ้อนของสังคม และมุมมองของแกนนำที่มีวิธีการจัดตั้งและต่อสู้แตกต่างกัน รวมทั้งมีอุดมการณ์ย่อยที่ขัดแย้งกันภายใน จึงตกลงกันให้มีรูปแบบการจัดตั้งตาม ‘ร่วมทางยุทธศาสตร์ แยกทางยุทธวิธี’ ผสมเข้ากับการหาทางสร้างแนวร่วมกับศาสนจักรโรมันคาธอลิก เกิดเป็นขบวนที่แยกแนวทางการต่อสู้ทางยุทธวิธี 3 แนวคือ

- สู้รบนอกแบบยาวนานในชนบท (GPP-guerra popular prolongada)หาการสนับสนุนและสร้างฐานที่มั่นจากชาวนาในชนบทเพื่อรบยืดเยื้อแบบลัทธิเหมา ผสมลัทธิเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ของนักบวชคาธอลิกนอกคอก นำโดยกลุ่มนักปฏิวัติที่มีเชื้อสายพื้นเมืองที่พยายามประยุกต์คำสอนและวิถี ชีวิตของพระเยซูเข้ากับลัทธิมาร์กซ โดยมีคำขวัญง่ายๆคือ ‘พระเยซูคือมาร์กซิสท์ที่แท้จริงคนแรก’ ถือว่าภารกิจของนักบวชคริสต์และศาสนจักร ไม่ใช่การยกระดับจิตวิญญาณหรือไถ่บาป แต่ต้องช่วยปลดปล่อยมวลชนผู้ถูกกดขี่ให้ได้รับความยุติธรรมทางสังคมพร้อมไป ด้วย ผลของแนวคิดนี้ถือการปฏิวัติไม่ขัดแย้งกับศาสนาจักรโรมันคาธอลิก

- ทำสงครามและลุกฮือในเขตเมือง(TP- tendencia proletaria) ยึดแนวทางทรอตสกี้และเลนินสร้างฐานมวลชนจากกรรมกรและปัญญาชนในเมืองหลัก กลุ่มนี้เชื่อมโยงเครือข่ายเข้ากับค่ายโซเวียต/ยุโรปตะวันออก

- สร้างแนวร่วมหลากหลาย/ลุกฮือฉาบฉวยหากมีจังหวะ หรือ ‘ทางสายที่สาม’ (TI- tercerista/insurrecctionista) นำโดย 3 พี่น้องออร์เตก้า ประสานการต่อสู้ระหว่างกลุ่มกำลังต่างๆในประเทศ แม้กระทั่งพวกที่แสวงหาแนวทางรัฐสภา รวมทั้งประสานข้ามชาติกับปัญญาชนเสรีนิยมและซ้ายสากล เน้นยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์ผ่านปฏิบัติการครึกโครมเพื่อสะท้อนความเหลวแหลก ของรัฐบาลโซโมซ่า กลุ่มนี้เชื่อมโยงและได้รับการฝึกอาวุธจากคิวบา

            การต่อสู้ของทั้งสามแนวทางพร้อมกันโดยไม่มีส่วนใดชี้นำ (แม้จะมีการประชุมเพื่อประสานกันเป็นระยะอย่างไม่ต่อเนื่องเพื่อประเมิน สถานการณ์) ในระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จมากนัก  โดย เฉพาะศาสนจักรคาธอลิกกระแสหลักซึ่งมีอิทธิพลและขึ้นต่อวาติกัน ไม่ยอมรับแนวทางของกลุ่มเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ยกเว้นกลุ่มที่สามที่สามารถสร้างผลสะเทือนจากการลักพาตัว ยึดสถานที่ราชการบางแห่ง และลอบสังหารคนของรัฐบาลบางคน เพื่อแลกกับการออกอากาศและตีพิมพ์โฆษณาอุดมการณ์ของตน แต่ก็ต้องเผชิญกับการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลโซโมซ่าเช่นกัน

            จุดผกผันของซานดินิสต้า  เกิดขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ค.ศ. 1972 ในเมืองหลวง มานากัว ทำให้มีคนตายและบาดเจ็บจำนวนมาก เงินและสิ่งของบรรเทาทุกข์จากนานาชาติถูกแปรเป็นความร่ำรวยของเจ้าหน้าที่ รัฐและตระกูลโซโมซ่าอย่างเต็มที่ ทำให้ตระกูลที่มีอำนาจทางการเมืองใหญ่ๆ และ ศาสนจักรคาธอลิก หันมาโจมตีโซโมซ่า แต่ถูกตอบโต้ด้วยการลอบสังหารคนของตระกูล และคุมขังนักบวชคาธอลิก ผลักดันให้ซานดินิสต้ามีพันธมิตรใหม่ที่สำคัญเพิ่มขึ้น และเพิ่มปฏิบัติการลักพาตัว และลอบสังหารในเขตเมืองรุนแรงมากขึ้น

            ในปลายปี  ค.ศ. 1974 กลุ่มปฏิบัติการของซานดินิสต้าบุกเข้ายึดงานเลี้ยงของกระทรวงเกษตรและยึดตัว ประกันรวมทั้งคนในตระกูลโซโมซ่าด้วย ยิงทิ้งรัฐมนตรีเกษตร และได้รับเงินค่าไถ่ตัวประกัน 2 ล้านดอลลาร์ ต่อรองให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองสำคัญของกลุ่ม 14 คน และได้ออกอากาศแถลงการณ์ของกลุ่มเต็มฉบับผ่านทางวิทยุ และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศ แต่ที่สำคัญ ทำให้รัฐบาลโซโมซ่ารับปากว่าจะเพิ่มเงินเดือนให้ทหารชั้นผู้น้อยในกองทัพคน ละอย่างต่ำ 500 คอร์โดบา(มาตราเงินท้องถิ่น)

            ผลของปฏิบัติการดังกล่าว คือการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว กลุ่มศาสนจักรคาธอลิก กลุ่มทุนใหญ่ของประเทศ(กลุ่ม 12) และกลุ่มทหารชั้นผู้น้อย ได้เริ่มต้นใส่ ‘เกียร์ว่าง’ กับรัฐบาลโซโมซ่าอย่างจริงจังนับแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งยิ่งทำให้แนวร่วมซานดินิสต้าเพิ่มมากขึ้น สามารถปฏิบัติการเชิงรุกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ

            ท้ายสุดโซโมซ่าก็ถูกโดดเดี่ยว  จนต้องพาครอบครัวหนีไปลี้ภัยในปารากวัย  ใน ค.ศ. 1979 และถูกกลุ่มไล่ล่าตามไปวางระเบิดเสียชีวิตในรถยนต์

            เมื่อสิ้นรัฐบาลโซโมซ่า ซานดินิสต้าที่แตกกลุ่มทางยุทธวิธีได้กลับมาเจรจาเพื่อรวมตัวกัน เตรียมพร้อมสำหรับยุทธศาสตร์ใหม่มุ่งเข้าสู่การเมืองแบบประชาธิปไตยในเวที รัฐสภาและการเลือกตั้งในทุกระดับ ในฐานะพรรคการเมืองแบบเปิด พร้อมกับยกเลิกรูปแบบการจัดตั้งที่มุ่งใช้ความรุนแรงอันเป็นยุทธวิธีเดิมที่ เคยใช้ต่อสู้กับเผด็จการ เพราะธาตุแท้พวกเขาคือ เป็นมากกว่านักปฏิวัติ แต่มุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมที่ดีกว่า

            นิคารากัวประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่บนรากฐานความคิดปฏิรูปของซานดิโน่แต่ เดิม พร้อมกับประกาศเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งผลลัพธ์ปรากฏว่า กลุ่มซานดินิสต้าได้รับคะแนนนิยมล้นหลาม เข้ายึดกุมอำนาจรัฐทั้งในรัฐสภาและในตำแหน่งบริหาร จนกระทั่งอเมริกาประกาศคว่ำบาตรทางการค้ากับนิคารากัวทุกชนิด พร้อมสนับสนุนเจ้าที่ดินให้ก่อตั้งกองกำลังอาวุธคอนตร้าต่อสู้กับ รัฐบาล ทำให้มีคนตายจำนวนหลายหมื่นคน ทำให้เศรษฐกิจประเทศเริ่มทรุดโทรมอย่างรุนแรง แต่นิคารากัวก็ไม่หวนกลับไปสู่เส้นทางการรัฐประหารหรือยึดอำนาจเผด็จการอีก เพราะยังคงเปิดช่องทางเปลี่ยนอำนาจผ่านการเลือกตั้ง ที่แม้กลุ่มซานดินิสต้าจะแพ้เลือกตั้งหลายครั้งในการเป็นรัฐบาล แต่ก็ยังคงใช้เวทีรัฐสภาผลักดันนโยบายสำคัญของตนเองต่อมาโดยไม่หวนกลับไปใช้ ความรุนแรงอีก จนกระทั่งกลับมาครองอำนาจอีกครั้งผ่านกระบวนการเลือกตั้งในปัจจุบัน

            การสนับสนุนอันแข็งขันของมวลชนต่อซานดินิสต้า และการสร้างพันธมิตรกับต่างชาติอย่างได้สมดุลของรัฐบาลนิคารากัว  ทำให้ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯถูกบีบให้ลดปฏิบัติการต่อต้านนิคารากัวลงเกือบ ทั้งหมด

2.โมเดลเนปาล นับแต่คริสต์ศักราช1960 เป็นต้นมา ราชสำนักเนปาลใช้ยุทธศาสตร์หลอกล่อประชาชนที่รักประชาธิปไตยโดยให้มีการ เลือกตั้งแบบลักปิดลักเปิดสลับการยึดอำนาจคืนโดยอาศัยช่องโหว่รัฐธรรมนูญ หลายครั้ง ทำให้บรรดาผู้รักประชาธิปไตยส่วนหนึ่งสรุปได้ว่า กษัตริย์เนปาลใช้ระบอบสมบูรณายาสิทธิราช จะไม่มีวันยอมให้เกิดประชาธิปไตยจากเบื้องบนแน่นอน พวกเขาส่วนหนึ่งจึงมองเห็นว่า ราชสำนักคือปัญหาความล้าหลังของชาติ ดำเนินการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสท์แห่งเนปาล-CPN(UC) ขึ้นมาใน ค.ศ. 1990 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการต่อสู้ด้วยอาวุธในชนบท โดยยึดหลักความคิดเหมา เจ๋อ ตงที่ว่า อำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืน แต่เนื่องจากมองเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังไม่พร้อมยอมรับการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธเต็มที่ จึงจัดตั้งพรรคลูกขึ้นมาเป็นกองหน้าในเขตเมืองชี่อพรรคSJM เพื่อต่อสู้ในรัฐสภาอย่างถูกกฏหมาย ทั้งสองพรรคชูคำขวัญเดียวกันคือ ชาตินิยม ประชาธิปไตย และ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (nationalism, democracy and livelihood)

ต่อมา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการต่อสู้ 2 เวที CPN(UC) กับ SJM จึงแยกตัวเป็นอิสระจากกันใน ค.ศ.1996 โดย CPN เปลี่ยนชื่อเป็น CPN(Maoist) ดำเนินการทำ ‘สงครามประชาชนในเขตชนบทอย่างเต็มรูป ส่วน SJM ทำการต่อสู้ในรัฐสภาอย่างเดียวเพื่อทำการเปิดโปงสภาพรัฐล้มเหลว’ ภายใต้บงการของราชสำนักที่ยอมสิโรราบต่ออินเดียอย่างชัดเจน

ประจันดา ผู้นำพรรค CPN(Maoist) ได้ประกาศแผนงานการเมืองเรียกว่า ลัทธิมาร์กซ-เลนิน ความคิดเหมาเจ๋อตง ตามแนวทางประจันดา พร้อมกับประกาศยุทธศาสตร์การต่อสู้ 5 ช่องทางเพื่อสร้างแรงเหวี่ยงทางการเมือง ภายใต้ยุทธวิธีที่ไม่ยึดถือแนวทาง ‘ป่าล้อมเมือง’ แบบเหมา แต่เรียกว่า กลยุทธ์กิ้งก่าเปลี่ยนสี ที่ประกอบด้วย

แนวทางมวลชน (กิจกรรมทางการเมือง) ปลุกระดมมวลชนในชนบทเพื่อเตรียมต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ สร้างฐานที่มั่นและอำนาจรัฐของประชาชนต่อต้านราชสำนัก โดยมุ่งการสร้างฐานสนับสนุนจากมวลชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อสู้ด้วย อาวุธ

สร้างแนวร่วม(เครือ ข่ายพันธมิตรประชาธิปไตย) ส่งผู้ปฏิบัติงานเข้าไปร่วมต่อสู้กับมวลชนในประเด็นการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับจิตสำนึกทางการเมืองของมวลชนผ่านรูปแบบหลากหลาย เช่นสหพันธ์นักเรียน สหกรณ์สินเชื่อ สหกรณ์เกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ

กองกำลังอาวุธ(โจม ตีด้วยความรุนแรง) ทำการโจมตีสำนักงานรัฐโดยเฉพาะสถานีตำรวจในชนบท โดยยกเว้นการโจมตีกองทหารในกรณีจำเป็น แต่ไม่เน้นการทำสงครามยืดเยื้อ หากหวังใช้ความรุนแรงเป็นการสร้างแรงเหวี่ยงทางการเมืองในระดับประเทศ ทั้งการเผยความอ่อนแอของรัฐบาล และการปกป้องผู้ร่วมต่อสู้ในแนวทางอื่นๆ

สงครามการเมือง(ปลุก ระดมมวลชนสร้างการเมืองบนท้องถนนและนอกรัฐสภาในเขตเมืองด้วยความไม่รุนแรง เช่นปิดถนนชุมนุมอภิปราย) เพื่อปลุกเร้ามวลชนให้มองเห็นความอ่อนแอของอำนาจรัฐ พร้อมกับเสนอแนวทางเจรจาเพื่อสันติภาพร่วมไปด้วยเป็นระยะๆ

ต่อสู้ทางสากล สร้างพันธมิตรกับพรรคหรือชาติหรือกลุ่มการเมืองหรือสื่อมวลชนในต่างประเทศ อย่างกว้างขวาง เพื่อเผยแพร่แนวทางการต่อสู้ให้เกิดความชอบธรรม และต่อต้านการช่วยเหลือจากต่างประเทศที่มีต่อรัฐบาลเนปาลของราชสำนัก

กลยุทธ์กิ้งก่าเปลี่ยนสีของCPN(Maoist) ที่สอดประสานกับการต่อสุ้ทางรัฐสภาของSJM ได้บั่นทอนอำนาจรัฐของรัฐบาลใต้ราชสำนักอย่างรุนแรง จนกระทั่งราชสำนักต้องดำเนินการขั้นแตกหักนั่นคือกระชับอำนาจเบ็ดเสร็จโดย การยึดอำนาจและล้มรัฐธรรมนูญเก่าสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งถือเป็นการเร่งฆ่าตัวตายเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะทำให้มวลชนมองเห็นความเลวร้ายของราชสำนักอย่างโดดเด่นในฐานะปัญหาหลัก ของชาติชัดเจน ทำลายความชอบธรรมในอำนาจจนหมดสิ้น

CPN(Maoist) จับมือกับ SJM ได้พยายามสร้างกระแสรุกทางการเมือง ด้วยการยื่นข้อเสนอเจรจาสันติภาพกับราชสำนักหลายครั้งโดยให้มีคนกลางเข้ามา ร่วมด้วย แต่ถูกปฏิเสธ ทำให้ CPN(Maoist)ตัดสินใจรุกฆาตด้วยการลงมือโจมตีกองทหารอย่างจริงจัง จนกระทั่งสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในชนบทเอาไว้ได้ และเมื่อมวลชนในเขตเมืองเริ่มกระแสต่อต้านราชสำนักมากขึ้นจนถึงระดับปฏิเสธ อำนาจของราชสำนักถึงขั้นลุกฮือเดินขบวนต่อต้านอย่างกว้างขวางในเมืองหลวง กองกำลังของ CPN(Maoist)จึงประกาศเข้าล้อมเมืองหลวงเพื่อหวังเผด็จศึก

หลังจากการต่อสู้ที่มีความสูญเสียจำนวนมาก พรรค CPN(Maoist) ก็เห็นพ้องกับข้อเสนอของพรรค SJM ในการสร้างแนวร่วมกับกลุ่มการเมืองถูกกฎหมายอื่นๆ จัดตั้งแนวร่วมประชาชน หลังการประชุมหารือที่เมืองหลวงของอินเดีย ในปลายปี ค.ศ. 2005 เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง 12 ประการให้เนปาลมีประชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จ โดยปราศจากการแทรกแซงของราชสำนัก

ข้อเรียกร้องดังกล่าวนอกจากนำมาซึ่งบทอวสานของราชสำนักเนปาลในอำนาจการเมืองแล้ว ยังหมายถึงการสิ้นสุดการใช้ความรุนแรงทุกชนิดของ CPN(Maoist) ด้วย

ประจันดา ประกาศว่า การใช้ความรุนแรงเป็นยุทธวิธีที่จำเป็นระยะหนึ่งกับพวกเผด็จการ และเมื่อหมดความจำเป็นก็พร้อมสำหรับการต่อสู้ในทางรัฐสภา ดังนั้นพรรค CPN(Maoist) จึงรวมตัวกับพรรคSJM เพื่อเตรียมการเลือกตั้งโดยมีสหประชาชาติเป็นสักขีพยาน ซึ่งผลลัพธ์ออกมา ปรากฏว่า พรรค CPN(Maoist) ได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา และแม้ว่าต่อมา ประจันดาที่ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีจะลาออกจากตำแหน่งเพราะขัดแย้งทางการ เมือง แต่ก็ยังคงยืนกรานต่อสู้ในแนวทางสันติวิธีต่อไป ไม่กลับไปสู่การต่อสู้ด้วยอาวุธอีกต่อไป

3. โมเดลเครือข่ายสังคม (social networks) รูปแบบการจัดตั้งนอกจารีตที่ถูกประดิษฐ์ใหม่ของยุคหลังปฏิวัติสื่อสารโทร คมนาคมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ถือเป็นรูปแบบการจัดตั้งที่ยืดหยุ่นและมีพลังมากที่สุดสำหรับคนร่วมสมัย ผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันสามารถเขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการที่ประกอบด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป และ บล็อก

บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในโลกร่วมสมัย ได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดย เว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น ไฮไฟฟ์เป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ส่วนบริการเครือข่ายสังคม ที่ทำขึ้นมาสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ คือ บางกอกสเปซ

โครงสร้างง่ายๆของเครือข่ายสังคม เรียกกันว่า เครือข่ายว่าว (ดูรูปประกอบ)


 


เครือข่าย สังคม ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักคือ สมาชิกส่วนบุคคล และ สายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในรูปเครือข่าย (เครือข่ายส่วนตัว หรือ เครือข่ายองค์กร) โดยยอมรับเอาความหลากหลายของสมาชิกแต่ละคนว่า สามารถที่จะสร้างเครือข่ายส่วนตัวได้มากกว่า 1 เครือข่ายที่มีลักษณะแตกต่างกัน แต่ละเครือข่ายจะเชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้นใกล้ชิดได้อย่างน้อย 6 ราย และไม่เกิน 159 ราย โดยมีตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ 114 ราย

ความแน่น แฟ้นของเครือข่าย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาระและเป้าหมายที่เครือข่ายใช้สื่อสารสัมพันธ์ กันว่าต้องการเปิด หรือ ปิด ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานพิจารณา ‘ทุนทางสังคม’ของเครือข่ายต่างๆได้ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ละเครือข่ายก็สามารถที่จะตัดสินใจว่าจะยินยอมให้เชื่อมต่อเข้ากับเครือ ข่ายอื่นๆได้มากน้อยเท่าใด จึงถือได้ว่า เครือข่ายดังกล่าวถือเป็นประชาธิปไตยทางตรง มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบพหุนิยมอย่างเต็มที่ นอกเหนือจากประชาธิปไตยแบบตัวแทนตามจารีตเดิม

โดยทั่วไป แล้ว เครือข่ายที่ประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่สมาชิกทั้งหมดร่วมวางกันเอาไว้ จะพร้อมที่จะเปิดรับหรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งเท่ากับแต่ละเครือ ข่ายสังคม สามารถที่จะเป็นองค์กรจัดตั้งกึ่งเปิดกึ่งปิดได้อย่างสะดวก และสามารถแยกแยะมิตรหรือศัตรู (หรือเราและคนอื่น) ได้ง่ายและเร็ว เพราะสามารถตรวจสอบข้อมูล เพิ่มเติมข้อมูล และลบทิ้งข้อมูลได้สะดวกทั้งทางตรงและอ้อม ถือเป็นรูปองค์กรจัดตั้งเคลื่อนที่เร็วที่มีประสิทธิภาพสูง

ทั้ง 3 โมเดลดังกล่าว สามารถนำมาผสมผสานใช้ได้ในเชิงยุทธวิธีอย่างหลากหลายเป็นรูปธรรมภายใต้สาระ ของการเอาชนะทางการเมือง และออกแบบสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืนพร้อมกันไปเพื่อเตรียม พร้อมสำหรับการสถาปนาสังคมประชาธิปไตยพหุนิยมและนิติรัฐที่สอดคล้องกับแนว ทาง ‘ยุติธรรมอย่างเสมอหน้า  ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม’ ที่เป็นรูปธรรมและมีการเตรียมให้รอบคอบล่วงหน้า โดยไม่ต้องรอ ‘ท่านผู้นำ’ ที่ประทานจากฟากฟ้าที่ไหนๆเพื่อป้องกันสภาพหนีเสือปะจระเข้  อันหมายถึงการที่มีชนชั้นปกครองใหม่ ทรยศต่อการต่อสู้และ สวมรอยนำเอาชุดความคิดหรือกระบวนทัศน์เก่ามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรูปแบบการ กดขี่ปวงชั้นที่ไม่ต่างจากเดิม เสมือนผีเก่าเข้าสิงร่างใหม่

เงื่อนไข สำคัญของการก้าวข้ามเพื่อปฏิวัติประชาธิปไตยที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้ ถือเป็นแนวทางที่สามารถ ยกระดับทางด้านจิตสำนึกและอุดมการณ์เข้ากับการต่อสู้กระบวนการขับเคลื่อนที่ จัดตั้งเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาสมรรถนะจากปริมาณสู่คุณภาพ แสวงหาโอกาสในการต่อสู้ในทุกปริมณฑล ทั้งถูกกฎหมาย กึ่งถูกกฎหมาย ผิดกฎหมาย และทางสากล ไม่ปฏิเสธรูปแบบที่เป็นไปได้ที่จะแสวงหาความยืดหยุ่นในการต่อสู้โดยไม่หลง เข้าสู่กับดัก ‘เป้าหมายสำคัญกว่าวิธีการ’ หรือ ‘วิธีการดี สู่เป้าหมายที่ดี’อย่างเถรตรง

ความสามารถ ของผู้รักประชาธิปไตยในการก้าวข้ามเพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย ตามแนวทางนี้ คนส่วนใหญ่ก็ได้ยอมรับกันแล้วว่า ประชาธิปไตยเป็นสาระของความสัมพันธ์เชิงอำนาจและผลประโยชน์ของสังคมที่ก้าว หน้าที่สุด ตราบใดที่กระบวนทัศน์หลักของสังคมยึดมั่นในหลักการเรื่องความเสมอภาคทาง สังคม ที่ตั้งบนฐานรากของการเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกันของชนชั้นต่างๆ โดยยอมรับว่าสังคมมีชนชั้นได้ แต่ก็สามารถทำให้สมาชิกเลื่อนชนชั้นได้หลักการเรื่อง เสรีภาพของการมีส่วนร่วม ความยุติธรรม เสมอภาค และความสามารถในการปรับปรุงตนเอง ซึ่งจะทำให้ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนทั้งที่เป็นแบบตัวแทนหรือทางตรงให้เกิด ขึ้นได้ เพราะมีการเตรียมการอย่างรอบคอบล่วงหน้า เพื่อป้องกันสภาพหนีเสือปะจระเข้  (อันหมายถึงการที่มีชนชั้นปกครองใหม่ ทรยศต่อการต่อสู้และ สวมรอยนำเอาชุดความคิดหรือกระบวนทัศน์เก่ามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรูปแบบการ กดขี่ปวงชั้นที่ไม่ต่างจากเดิม เสมือนผีเก่าเข้าสิงร่างใหม่) ที่จะนำสังคมถอยหลังกลับสู่สภาพการผูกขาดอำนาจแบบ ‘โต๊ะแชร์’ ของกลุ่มอำมาตย์

การต่อสู้เพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย ถือเป็นสงครามที่เป็นธรรม และสงครามที่เป็นธรรม ย่อมนำชัยชนะเป็นผลตอบแทนในท้ายที่สุด ขอเพียงทุ่มเทอย่างเข้าถึงและสร้างพลังที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

3บทความตาสว่างสร้างไทยให้เป็นสหพันธรัฐ บทที่2: สหพันธรัฐสยาม คืนจารีตและประวัติศาสตร์ให้ท้องถิ่น


ศิวา มหายุทธ์
16 กุมภาพันธ์ 2558

  ข้อเสนอของผู้เขียนและคณะในเรื่อง สหพันธรัฐสยาม (ทางเลือกรัฐสยามหลังเผด็จการ ข้อเสนอเพื่อประชาธิปไตยที่ยั่งยืน, มกราคม 2558) ได้รับปฏิกิริยาและคำถามค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ และตอกย้ำว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับรูปธรรมในปัจจุบันและอนาคต
ครั้งนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ตอกย้ำว่า ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่ฝันกลางวันที่เลื่อนลอย แต่เกิดจากการศึกษาข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์สยามที่บ่งชี้ชัดแล้วว่า ก่อนการสร้างอำนาจรัฐแบบ”มณฑล”(Mandala Cosmology) ตามคติฮินดูและพุทธของอินเดีย และ รัฐชาติเดี่ยวรวมศูนย์แบบตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา สังคมสยามได้มีรูปแบบการปกครองทั้ง สมาพันธรัฐ หรือ สหพันธรัฐ ปะปนมานานนับพันปี
สำหรับนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าประวัติศาสตร์ของรัฐในภูมิภาคอุษาคเนย์(Southeast Asia) ได้มีฉันทามติแล้วว่า ก่อนการเข้ามาของรูปแบบอำนาจรัฐจากอินเดียนั้น มีรูปแบบรัฐ 3 แบบที่ตั้งมั่นอยู่ในอุษาคเนย์มายาวนานแล้ว ได้แก่
นครรัฐบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำในหุบเขา(agrarian city states along the valleys) เช่นล้านช้าง และ ล้านนา
นครรัฐบนพื้นที่ลุ่มปากแม่น้ำ (agrarian city states along the river deltas)เช่น ศรีทวาราวดี
นครรัฐการค้าชายฝั่งทะเล (maritime city states)เช่น ศรีวิชัย
รัฐทั้งสามรูปแบบข้างต้น สร้างความสัมพันธ์เชิงเครือข่าย ทั้งต่อสู้กันเอง และ/หรือ ร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอด มายาวนาน ใกล้เคียงกับรูปแบบที่ปัจจุบันเรียกว่า สมาพันธรัฐ อย่างชัดเจน
เมื่อนครรัฐโบราณเหล่านี้ ได้เริ่มต้นรับเอารูปแบบของการสร้างอำนาจรัฐแบบมณฑลของฮินดูและพุทธ มาปรับใช้กระบวนการสร้างรัฐแบบรวมศูนย์อำนาจก็เกิดขึ้น เพื่อเชื่อมร้อยนครรัฐต่างๆ โดยแกนกลางของศูนย์อำนาจส่วนกลางตามโครงสร้างจักรวาลวิทยา  ที่มีราชธานีเป็นศูนย์กลาง ดึงเมืองบริวารต่างๆเข้ามาในมณฑล
อำนาจรัฐแบบมณฑลยุคแรกเริ่มในสังคมสยามตั้งแต่ครั้งศรีทวารวดี ยังมีโครงสร้างแบบสมาพันธรัฐซึ่งเหมาะสมกับสภาพความแตกต่างทางชาติพันธุ์ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์การเมืองอย่างเหมาะสม
          ในอาณาจักรล้านนา นครรัฐบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำในหุบเขา ได้รวมตัวกันอย่างหลวมๆในลักษณะของสมาพันธรัฐของหัวเมืองที่เป็นอิสระต่อกัน ปรากฏชัดเจนในหัวเมืองตามแอ่งเขาต่างๆ
ข้อตกลงสร้างรัฐพันธมิตรอันโด่งดังของ 3 พ่อขุน(รามกำแหง งำเมือง และ มังราย)สะท้อนรูปแบบของรัฐสยามครั้งโบราณที่ชัดเจน
รัฐปัตตานี เคยเป็นรัฐอิสระที่ปกครองตนเอง มีสายสกุลปกครองยาวนานในรูปพันธมิตรรัฐที่เจ้าครองเมืองนับถือมุสลิมมายาวนาน
เมื่อราชธานีกระชับอำนาจรวมศูนย์เข้มข้นขึ้น เพื่อควบคุมกำลังคนทำการเกษตรและการค้า รูปแบบสมาพันธรัฐจึงถูกทำลายลง แต่การกระชับอำนาจ เข้มข้นเฉพาะแค่ทางทฤษฎีเท่านั้น ในทางปฏิบัติ อำนาจของราชธานีเข้มข้นเฉพาะแค่ศูนย์กลาง แต่เจือจางตามระยะทางจากเขตเมืองหลวง เกิดเป็นโครงสร้าง"รัฐแสงเทียน"(candle-light city states) ซึ่งมีส่วนผสมของระบอบสหพันธรัฐที่เป็นรูปธรรม
รัฐสยามยุคโบราณ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงยุคกรุงศรีอยุธยาในสมัยกษัตริย์บรมไตรโลกนาถ รับเอารูปแบบรัฐแบบลัทธิเทวราชาของฮินดูแห่งกัมพูชามาผสมกับธรรมราชาของพุทธเพื่อรวมศูนย์อำนาจ จำต้องปล่อยให้มีหัวเมืองเป็นหลายระดับ เป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก(ต่อมาเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา) และเมืองประเทศราช
 เจ้าผู้ครองเมืองประเทศราช มีอำนาจปกครองอาณาจักรตนเต็มที่ แต่มีหน้าที่เชิงสัญลักษณ์ที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการถวายตามกำหนด และในยามศึกสงครามต้องส่งกองกำลังเข้าช่วยกองทัพราชธานี คล้ายคลึงกับรัฐในอารักขาของจักรวรรดินิยมตะวันตก และมีตัวอย่างมากมายที่ระบุว่า เมืองประเทศราชหลายแห่งมีสัมพันธภาพทำนองเดียวกันกับราชธานีหลายแห่งพร้อมกันในลักษณะ”นกหลายหัว” ไม่ได้มีความภักดีต่อรัฐเดียวเบ็ดเสร็จ
นอกจากนั้น รัฐที่ตั้งตนเป็นราชธานีใหญ่ ก็ยังยอมตนเสมือนเมืองประเทศราชให้รัฐอื่นที่ใหญ่กว่า เช่น รัฐสยามในสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการ”จิ้มก้อง”ให้กับราชสำนักจีน(ทั้งยุคหยวน หมิง และชิง)เพื่อหวังผลทางการค้า ต่อเนื่องหลายศตวรรษ ทั้งที่ประกาศตนยิ่งใหญ่เป็นเจ้าชีวิตหรือสมมติเทพในปริมณฑลแห่งอำนาจของตน
เมืองประเทศราชหรือรัฐแสงเทียนในสยามโบราณ ได้สร้างตำนานและวัฒนธรรมของสังคมสยามที่ประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์และความเชื่อ เรื่องราวที่ส่งผ่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ตำนานศาสนา หรือ นิทานพื้นบ้านมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นประจักษ์พยานของรูปแบบรัฐท้องถิ่นโบราณอย่างลึกซึ้ง
มีหลักฐานทางมานุษยวิทยาจำนวนมาก ยืนยันว่า ราชธานีสยามโบราณ ยังไม่ได้มีอำนาจเหนือชุมชนอิสระขนาดเล็กที่กระจัดกระจายตามภูเขา หรือ ดินแดนอันห่างไกล (อาจจะรวมถึง ชุมโจร ในบางพื้นที่) ที่ปฏิเสธรูปแบบการครอบงำของรัฐและอารยธรรมภายนอกทุกชนิด พร้อมสร้างพื้นที่เพื่อชีวิตตามทัศนะของพวกเขาเอง
เมื่ออำนาจรัฐสยามโบราณล่มสลายไป รัฐแสงเทียนและชุมชนอิสระเหล่านี้ ถูกกวาดต้อนเข้ามาภายใต้โครงสร้างรัฐชาติเดี่ยวแบบตะวันตก ที่ถูกออกแบบขึ้นในยุคล่าอาณานิคม และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการเร่งกระชับอำนาจของราชธานีเดิมเพื่อสร้างรัฐสมัยใหม่ตอบโต้การคุกคามของตะวันตก
 การผนวกอำนาจอย่างเข้มข้นของอำนาจส่วนกลางของรัฐสยาม(ที่เปลี่ยนมาเป็นรัฐไทยปัจจุบัน) เริ่มตั้งแต่การปฏิรูป พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887)ภายใต้แนวคิด”รัฐชาติเดี่ยว” ได้ทำลายอำนาจและอิสรภาพของหัวเมืองท้องถิ่นจนหมดสิ้น กลายเป็นพื้นที่อำนาจส่วนกลางเบ็ดเสร็จ
รัฐชาติเดี่ยวสยามหลัง พ.ศ. 2430 ได้ทำลายรูปแบบสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐแบบจารีตจนไม่เหลือหรอ องคาพยพของรัฐ กลายสภาพเป็นเครือข่ายอำนาจของรัฐส่วนกลางราบคาบ ไม่สามารถสนองตอบความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภาษา และเจตจำนงท้องถิ่นได้แม้แต่น้อย
โครงสร้างรัฐแบบสหพันธรัฐร่วมสมัยของรัฐสยามที่ผู้เขียนและคณะนำเสนอ จะเป็นประโยชน์และให้คำตอบที่เหมาะสมพร้อมกัน 2 ด้านเลยทีเดียวคือ 1) การจัดรูปขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในยุทธศาสตร์และยุทธวิธี  2) หลังจากขบวนการประชาธิปไตยได้รับชัยชนะแล้ว สร้างรัฐที่อำนวยให้เกิดบูรณาการของประชาธิปไตย (ยุติธรรม เสรีภาพ เสมอภาค และกระจายอำนาจ) ได้ยั่งยืนกว่า
ในการต่อสู้กับอำนาจรัฐเผด็จการ กลุ่มผู้ร่วมขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของสยาม ยังมีความแตกต่างหรือขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์และทฤษฎีที่เหลื่อมซ้อนกันอยู่ จนกระทั่งยากที่จะก่อรูปขึ้นมาเป็นองค์กรนำขนาดใหญ่ที่มีเอกภาพได้ จำเป็นต้องใช้ยุทธศาสตร์ “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ” ให้มีการจัดตั้งเป็นอิสระและพึ่งตนเองของหน่วยการต่อสู้ในทุกเวที ภายใต้สภาพที่เป็นจริงของแต่ละพื้นที่ เพื่อที่จะเรียนรู้ ยกระดับการจัดตั้งแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมและยืดหยุ่น ผ่านการพึ่งตัวเอง
      การจัดตั้งอย่างเป็นอิสระและพึ่งตัวเองในแต่ละพื้นที่ แต่ประสานกับพื้นที่ต่างๆ จะช่วยให้ขบวนการประชาธิปไตยสยาม ดำเนินการรุกทางการเมืองภายใต้สถานการณ์ที่เป็นจริง พร้อมกับสั่งสมประสบการณ์การต่อสู้ในทุกด้าน(เศรษฐกิจ การชุมนุมเรียกร้อง การระดมสมาชิก หรือสร้างแนวร่วม รวมทั้งการยกระดับจิตสำนึกของผู้เข้าร่วมขบวน) เพื่อสร้างแนวร่วมประชาชาติประชาธิปไตย
      การจัดตั้งแบบสหพันธรัฐในระหว่างการต่อสู้ จะปูทางให้เกิดสภาพของสหพันธรัฐในทางปฏิบัติ โดยเบื้องต้นสามารถแบ่งกลุ่มอย่างหยาบๆ ได้ 6 กลุ่มดังนี้ คือ 1) ภาคเหนือตอนบน 2) ภาคเหนือตอนล่าง 3) ภาคอีสานเหนือ 4) ภาคอีสานใต้ 5) ภาคตะวันออก 6) สามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งจะทำให้เกิดการการเชื่อมร้อยอดีตเข้ากับปัจจุบันและอนาคตอย่างแนบเนียนไร้รอยตะเข็บ
ส่วนพื้นที่อื่นเช่นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ที่ไม่ใช่สามจังหวัดนั้น เนื่องจากอยู่ใกล้และอยู่ใต้อิทธิพลเข้มข้นของศูนย์อำนาจรัฐเดิมอย่างมาก ในระหว่างการต่อสู้อาจจะไม่สามารถจัดตั้งขบวนต่อสู้ได้อย่างเปิดเผย จึงไม่ได้ระบุถึงรูปธรรมของขบวนการที่ชัดเจน จนกว่าเมื่อได้ชัยชนะเหนืออำนารัฐเผด็จการเดิมไปแล้ว ก็ถือเป็นภารกิจของมวลชนในพื้นที่ดังกล่าวจะเลือกเอารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่เอง
กลุ่มจัดตั้งดังกล่าว สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นกลับมาประยุกต์ใช้อย่างมีพลัง แสดงความเคารพต่อเกียรติและศักดิ์ศรีของพลเมืองในทุกภาคส่วน เป็นการปูทางสร้างรัฐแบบเครือข่ายขึ้นมาแทนที่รัฐชาติเดี่ยว ซึ่งสอดคล้องกับข้อเรียกร้องของมวลชนทั่วโลกที่เรียกร้องหาการลดขนาดรัฐให้เล็กลง สอดคล้องกับพัฒนาการของความรู้และเทคโนโลยีร่วมสมัยของโลกทุกสาขา
โครงสร้างกลุ่มจัดตั้งแบบสหพันธรัฐนี้ เมื่อพลังประชาธิปไตยมีสามารถยึดอำนาจรัฐมาได้แล้ว จะแปรเปลี่ยนเป็นโครงสร้างรัฐใหม่ที่เป็นรัฐเครือข่ายที่หลากหลาย (อย่างน้อย 6 รูปแบบข้างต้น) ที่ถ่วงดุลกันและกัน สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการจัดการเชิงอำนาจของแต่ละพื้นที่อย่างเป็นไปได้ที่สุด
รูปแบบจัดตั้งแบบสหพันธรัฐ ที่มีทั้งรัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลกลาง (ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดเป็นมหาชนรัฐ) ยังสามารถตอบโจทย์สำคัญของสังคมสยามในปัจจุบัน ที่ทหารทำตัวเป็นคนเถื่อนถืออาวุธ ทำรัฐประหารได้ตามอำเภอใจ เพราะทหารในกองทัพสหพันธรัฐ จะถูกเงื่อนไขให้ไม่สามารถยึดอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จได้เลย จำต้องถูกแปรสภาพเป็นกองทัพรัฐบาลกลางที่มีหน้าที่หลักป้องกันประเทศเป็นสำคัญ ไม่ใช่มีภารกิจมุ่งยึดอำนาจสร้างรัฐเผด็จการ
สหพันธรัฐ ยังสามารถช่วยให้การจัดเก็บภาษีของรัฐและการใช้จ่ายของรัฐมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นจะมีความใกล้ชิดและตอบสนองความต้องการของกลุ่มธุรกิจเอกชนและชุมชนผ่านกระบวนการตรวจสอบหลายขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพและถ่วงดุล
ภายใต้สหพันธรัฐ จะทำให้ผู้รักประชาธิปไตยสยาม สามารถก้าวข้ามคำถามที่วนเวียนแบบวงจรอุบาทว์ทั้งในระหว่าง และหลังการต่อสู้ เหลืออย่างเดียวเท่านั้นคือ ข้อเสนอนี้ จะกลายเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมขบวนแถวต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยสยามอย่างทั่วถึงหรือไม่


วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

3บทความตาสว่างสร้างไทยให้เป็นสหพันธรัฐ บทที่1: โมเดลสวิส เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมสยาม กรณีศึกษา เพื่อสร้างสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย


ศิวะ รณยุทธ์
เมษายน 2554

หากจะค้นหาสังคมที่ดำรงอยู่จริงในปัจจุบันที่ใกล้เคียงอุดมคติของมนุษย์ ที่มีความรุ่งโรจน์รอบด้าน ทั้งเสถียรภาพทางการเมือง ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ หลักประกันทางสังคมให้กับพลเมือง คุณภาพของประชากร ขันติธรรมของความคิดที่แตกต่าง และการเปิดกว้างรับนวัตกรรมใหม่ๆถือว่า สวิตเซอร์แลนด์ หรือ สวิส ได้รับการยอมรับมากที่สุดชาติหนึ่ง
ในบรรดาสหพันธรัฐในโลกนี้ ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 27 ประเทศ (รวมทั้งจีน สหรัฐฯ อินเดีย อาร์เจนติน่า รัสเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา และเยอรมนี) แต่สวิสถือว่าเป็นโมเดลต้นแบบที่น่าชื่นชมมากสุดอย่างปราศจากข้อสงสัย และในบรรดาชาติประชาธิปไตยทั้งหมดในโลกนับร้อยประเทศ สวิสก็ได้ชื่อว่าโดดเด่นมากสุดเช่นกัน
ในปัจจุบัน สวิส ได้ชื่อว่าประชาชนมีเสรีภาพมากที่สุดประเทศหนึ่ง มีดัชนีความสุขของพลเมืองในระดับหัวแถวมีความก้าวหน้าจากทุนนิยมเสรีมากที่สุด มีรายได้ประชากรต่อหัวสูงกว่าทุกชาติในยุโรปและญี่ปุ่น ค่าเงินสวิสฟรังก์แกร่งแถวหน้าของโลกและผันผวนต่ำกว่าสกุลอื่นๆ เป็นผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอันดับสองของโลกโดยที่ไม่มีวัตถุดิบในประเทศ เป็นผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำของโลกทุกระบบโดยที่ไม่มีอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ มีสถาบันการเงินและบริษัทข้ามชาติทางด้านยา เคมีภัณฑ์ และวิศวกรรมมีชื่อเสียงระดับโลก มีบริษัทผลิตเครื่องยนต์สำหรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ระดับโลก โดยที่ไม่มีดินแดนติดต่อกับทะเลแม้แต่น้อย
ข้อตำหนิที่คนส่วนใหญ่รับรู้เมื่อเอ่ยถึงประเทศนี้ มีอยู่เพียง 2 ข้อหลักเท่านั้นคือ ค่าครองชีพที่สูงมากเพราะความร่ำรวยของคนในชาติ และความไร้อัตลักษณ์ของชาติเนื่องจากมีหลากเผ่าพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม ไม่มีอะไรที่เรียกได้ว่าเป็นสวิส ยกเว้นรูปปั้นเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นชื่อของประเทศคือ เฮลเวทติก้า  Confoederatio Helvetica (CH) เท่านั้น
ความรุ่งโรจน์เหล่านี้ มิใช่ได้มาโดยง่ายดายและสันติ แต่มีเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านกระบวนการต่อสู้อย่างโชกโชนทางสังคมและการเมืองถึงเลือดเนื้อ และสูญเสียนับครั้งไม่ถ้วนตลอดกว่าพันปี ทั้งก่อนหน้าและหลังการเป็นรัฐประชาชาติ ซึ่งสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาการเปลี่ยนผ่านสังคมภายใต้โมเดลสวิส ได้ดังต่อไปนี้
1. เส้นทางเพื่อได้มาซึ่งสันติภาพยั่งยืน เกิดจากการต่อสู้อันยากลำบากจากรัฐฟิวดัลชายขอบของมหาอำนาจรอบด้านที่กษัตริย์ครองอำนาจนำ ผ่านการทดลองที่เจ็บปวดไม่ต่างจากสังคมอื่น นับแต่การปฏิรูปศาสนา การต่อสู้กันเองภายใน มาสู่รัฐขนาดใหญ่แบบสาธารณรัฐ จนท้ายสุดท้ายสุดกลับไปสหพันธรัฐอันเป็นรูปแบบเก่าที่สอดคล้องกับความต้องการของมวลชน และ กลายเป็นรัฐเป็นกลางที่โลกเคารพในศักดิ์ศรี กลายเป็นความสำเร็จที่ลงตัวยั่งยืน
2. มวลชนมีบทบาทแข็งขันในการสร้างฉันทามติร่วมว่าต้องการรัฐขนาดเล็กที่มีการถ่วงดุลเหมาะสมระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นโดยไม่จำต้องมีอุดมการณ์ที่ตายตัว และไม่ต้องการลัทธิชาตินิยมคับแคบ แต่เน้นการมีส่วนร่วม และขันติธรรมในความแตกต่าง
3. โมเดลของรัฐแบบสวิสตอกย้ำข้อเท็จจริงว่า หากรัฐถูกออกแบบให้มีโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบอบเศรษฐกิจและกระจายผลประโยชน์ที่ลงตัว การต่อสู้เชิงอุดมการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ก็ลดความเข้มข้นลงโดยไม่กระทบต่อพัฒนาการทางปัญญาอื่นๆของสมาชิกในสังคม
4. โมเดลการสร้างรัฐที่สันติสุขที่ไม่ปฏิเสธการดำรงอยู่ของกองกำลังที่ถ่วงดุลกัน ทำให้สวิสเป็นชาติกำลังทหารและอุปกรณ์การรบสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่กลับมีสันติภาพยั่งยืน

ประสบการณ์ก่อนจะเป็นโมเดลสวิส

โดยทางภูมิศาสตร์ สวิสเป็นดินแดนที่ไม่ติดทะเล และถูกห้อมล้อมด้วยภูเขาสูง ผู้คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงกลางหุบเขาของเทือกเขาแอลป์ส ประวัติศาสตร์ของสวิสเริ่มต้นจากการเป็นรัฐชายขอบของมหาอำนาจรอบด้านมาตั้งแต่ยุคโรมันเสียด้วยซ้ำ เป็นเส้นทางผ่านของกองทหารสำคัญของโลกนับแต่ฮันนิบาล จนถึงจูเลียส ซีซาร์ แต่ยังถือเป็นอาณาจักรขนาดเล็กของชนเผ่าเคลท์ที่กระจายตัวกันในที่ราบสูงที่ล้อมรอบด้วยภูเขาแอลป์อันหนาวเหน็บ ถือว่าค่อนข้างกันดารด้านอาหารเสียด้วยซ้ำ แต่ชื่อเสียงของทหารสวิสในการรบนั้น ระบือยาวไกลทั่วยุโรป ทำให้นอกเหนือจากอาชีพเลี้ยงสัตว์ ทำหัตถกรรมและการเกษตรแล้ว อาชีพทหารรับจ้างก็เป็นที่มาของรายได้สำคัญของชายสวิสที่หล่อเลี้ยงสังคม โดยเจ้าฟิวดัลของนครรัฐต่างๆ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าระดมนักรบให้กับรัฐภายนอกที่ต้องการว่าจ้าง
ฐานะการเป็นรัฐของสวิส เริ่มต้นอย่างเชื่องช้านับแต่อาณาจักรโรมันล่มสลายในคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา ในฐานะรัฐชายขอบของอาณาจักรเมโลวินเจียน และคาโรลินเจียน ในยุคกลาง พร้อมกับการเคลื่อนตัวเข้ามาของชนเผ่าที่พูดภาษาเยอรมัน อิตาเลียนและโรมาเนีย มีความพยายามจะสร้างราชอาณาจักรใหญ่ที่รวบอำนาจเข้าส่วนกลางหลายครั้ง แต่อยู่ได้ไม่นานเพราะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีกำลังเหนือกว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก่อนสงครามครูเสด ทำให้มีฐานะกลับเป็นนครรัฐที่รวมกันอย่างหลวมๆ ในกำกับของราชวงศ์โฮเฮนสเตาเฟ็นแห่งสวาเบีย แล้วก็ถ่ายโอนมาอยู่ใต้กำกับของราชวงศ์ฮับสบวร์กในเวลาต่อมา โดยผู้ปกครองนครรัฐฟิวดัลต่างๆได้รับอภิสิทธิ์จำเพาะให้มีอำนาจควบคุมคนในสังกัด เก็บภาษีและฤชาอย่างอิสระ สร้างตลาดสินค้า สร้างระบบเงินตราเอง สร้างกองทัพเอง และมีกฎหมายเฉพาะ
หลังสงครามครูเสด นครรัฐเทือกเขาแอลป์ ได้กลายเป็นเส้นทางการค้าข้ามพรมแดนทางบกที่สำคัญของยุโรปจากทุกทิศทั้งด้านแหลมอิตาลี ทะเลบอลติก ทะเลดำ และทะเลเหนือ ทำให้แนวคิดให้เป็นดินแดนเปิดเสรีของสินค้าและบริการแพร่กระจายไป พร้อมกับมองเห็นความจำเป็นที่นครรัฐต่างๆต้องหาทางจัดระเบียบอำนาจใหม่เพื่อให้เส้นทางการค้าดำเนินไปราบรื่นและรุ่งเรือง
ราชาเจ้านครรัฐฟิวดัลจึงได้หารือกันจัดตั้งสมาพันธรัฐอย่างเป็นทางการและกระชับมากขึ้น พร้อมกับเตรียมความพร้อมเพื่อทำสงครามกับอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใต้ฮับสบวร์ก โดยอาศัยประสบการณ์ที่คนสวิสออกไปตระเวนเป็นทหารรับจ้างในกองทัพทั่วยุโรปจำนวนมากและยาวนานหลายร้อยปี รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า สมาพันธรัฐสวิสฟิวดัล
สงครามต่อต้านราชวงศ์ฮับสบวร์กหลายสิบครั้ง ทำให้กองทัพของสมาพันธรัฐตระหนักถึงการสร้างเอกภาพทางทหารและการเมืองระหว่างกันมากขึ้นเพื่อประสิทธิภาพในการรบ มีการสร้างสัญลักษณ์ร่วม ซึ่งที่โดดเด่นคือ การใช้ธงพื้นแดงที่มีตราอุนาโลม(กากบาท)ขาวร่วมกัน และการสร้างปฏิมากรรมที่เป็นบุคลาธิษฐาน ถือเป็นวีรสตรีของสมาพันธ์คือ เฮลเวเชีย แล้วก็เริ่มประสบความสำเร็จชั่วขณะ เมื่อเกิดสงครามที่เรียกว่า สมรภูมิโลแปง ใน ค.ศ. 1399 ที่ขยายตัวเป็น สงครามสวาเบียน ค.ศ. 1499ที่กองทัพเล็กสามารถเอาชนะกองทัพใหญ่ของราชวงศ์ฮับสบวร์กได้
ชัยชนะดังกล่าว น่าจะเป็นหลักประกันความมั่นคงของสมาพันธรัฐสวิสฟิวดัลได้ดี แต่กลับตรงกันข้าม เพราะจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผสมเข้ากับสถานการณ์ภายในและภายนอกที่เปลี่ยนรุนแรงจากการปฏิรูปศาสนาของมาร์ติน ลูเธอร์ และจอห์น คาลวิน พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการทหารที่มีการนำปืนใหญ่และปืนคาบศิลามาใช้แทนดาบหอก และธนู ทำให้ความขัดแย้งและตึงเครียดระหว่างนครรัฐที่เป็นสมาพันธ์เกิดขึ้นตลอดเวลา มีการรบพุ่งระหว่างนครรัฐที่พยายามจะแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระหลายครั้ง จนทำให้คริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 เป็นห้วงเวลาของความปั่นป่วนวุ่นวาย โดยเฉพาะในช่วงระหว่างและหลังสงคราม 30 ปีอันเป็นสงครามศาสนาที่สำคัญยิ่งของยุโรป รัฐต่างๆแยกเป็นคาธอลิกกับโปรเตสแตนท์ เข้าทำสงครามด้วยกันเอง ก่อนจะจบลงด้วยสนธิสัญญาเวสฟาเลีย อันเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐประชาชาติที่โลกคุ้นเคยในปัจจุบัน และการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่มีวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องชี้นำความก้าวหน้าของความคิดผู้คน
ห้วงเวลาก่อนและระหว่างสงคราม 30ปี นครรัฐและชาวสวิสได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้าของสงครามรอบด้านในฐานะเป็นผู้ส่งเสบียงและสินค้าสารพัดป้อนชาติที่รบพุ่งกัน รวมทั้งรายได้จากการเป็นทหารรับจ้างในสงครามกับทุกฝ่าย ทำให้เศรษฐกิจทุนนิยมแบบใช้เงินตราเฟื่องฟูอย่างมาก แต่ความแข็งแกร่งของสมาพันธรัฐเสื่อมทรามลง เพราะแต่ละนครรัฐที่แตกต่างกันในเรื่องศาสนาและการเลือกเข้าข้างกับมหาอำนาจรอบด้าน ไม่สามารถหาเอกภาพกันได้
ท่ามกลางความขัดแย้งยาวนาน เจ้าฟิวดัลของนครรัฐสวิสก็เริ่มตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆว่า การแยกตัวเป็นอิสระเบ็ดเสร็จจากนครรัฐเป็นผลเสียมากกว่าผลดีเพราะจะทำให้ตกใต้อิทธิพลของชาติใหญ่กว่าที่อยู่รอบด้านง่ายมาก การประคองฐานะด้วยการรวมกันหลวมๆในรูปสมาพันธ์จะช่วยให้อยู่รอดและพึ่งพากันท่ามกลางความแตกต่างได้ดีกว่า
ความเชื่อดังกล่าวได้รับการตอกย้ำมากขึ้นหลังจากสงคราม 30 ปีสิ้นสุดลง เพราะความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจระหว่างสงคราม ถดถอยลงอย่างรนแรง พร้อมกับการรุกเข้ามาสร้างอิทธิพลของมหาอำนาจใหม่ยุโรป คือฝรั่งเศสที่มีกำลังทางทหารอันยิ่งใหญ่ สมาพันธรัฐสวิสเก่าก็เริ่มย่างเข้าสู่ความเสื่อมโทรมอย่างหยุดยั้งไม่ได้ เจ้าฟิวดัลและชนชั้นสูงเก่าของนครรัฐต่างๆเริ่มถูกท้าทายจากมวลชนระดับล่างที่มีความมั่นใจในความสามารถทางการจัดตั้งและทำสงครามของตนเอง พลเมืองระดับล่างจำนวนมาก เป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาใหม่จากดินแดนรอบข้างในช่วงสงคราม 30 ปีและอยู่กันอย่างแออัดในเมืองใหญ่ๆ จนเสียสมดุลในโครงสร้างอำนาจแบบดั้งเดิมของนครรัฐใหญ่ๆ
เศรษฐกิจหลังสงครามที่ถดถอย และ สินค้ามีราคาแพงขึ้นอย่างรุนแรง จนค่าเงินหมดสภาพ ทำให้บรรดาเจ้านครรัฐต่างๆที่ขัดสนทางการเงิน แต่ต้องหาทุนมาซื้ออาวุธที่ทันสมัยเช่นปืนใหญ่หรือสร้างป้อมปราการ ต้องหารายได้เพิ่มเติมด้วยการขูดรีดภาษีที่ดินและเกณฑ์แรงงาน รวมทั้งการผลิตเงินตราใหม่ที่ทำให้เงินรุ่นเก่าในมือประชาชนใต้ปกครองไร้ค่า สร้างความเดือดร้อนที่กระจายไปทุกหย่อมหญ้าจนเกิดขบถต่อต้านภาษีของชาวเมือง และขบถชาวนาหลายสิบครั้ง เป็นเวลายาวนานกว่าร้อยปี มีผู้คนล้มตายหลายหมื่นคน
ขบถที่โดดเด่นและสร้างผลสะเทือนสูงยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของสวิสได้แก่ สงครามชาวนา ค.ศ. 1653 เมื่อกำลังชาวนาและชาวเมืองในหลายนครรัฐสร้างกองทัพขบถมีจำนวนมากกว่า 28,000 คน นำโดยสองผู้นำสามัญชน นิเคล้าส ลูเอ็นแบร์ เชื้อสายเยอรมัน และ คริสติออง ชีบี้ เชื้อสายฝรั่งเศส ร่วมตัวกันก่อตั้ง สันนิบาทฮุตวิล เพื่อสร้างสมาพันธรัฐสวิสของมหาชน ปฏิเสธการนำของเจ้าฟิวดัลและพวกอภิชนเจ้าที่ดินและกลุ่มทุนการค้าทั้งหลาย
การขบถดังกล่าว ถูกปราบลงอย่างโหดร้ายด้วยอำนาจของปืนใหญ่ของกองทัพเจ้าฟิวดัลและอภิชนหลายนครรัฐร่วมกัน แต่ผลพวงของขบถครั้งนั้น และครั้งต่อๆมา ซึ่งทั้งถูกปราบปรามลงไป ทำให้เกิดผลพวงตามมาสองด้านพร้อมกันคือ เจ้าฟิวดัลต้องหันมาใส่ใจกับคุณภาพชีวิตของไพร่ราษฎร์ที่ตื่นตัวทางการเมืองอย่างมาก เพิ่มสวัสดิการและสร้างกฏหมายที่ยืดหยุ่นลดการขูดรีดลง กับฐานะนำของเจ้าฟิวดัลเสื่อมทรามลงในสายของของมวลชนใต้สังกัด รอวันผุพังลงไป
ความพยายามประนีประนอมของเจ้าฟิวดัลเพื่อซื้อเวลา เกิดขึ้นด้วยการสร้างสมาคมเฮลเวติกขึ้นมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18เพื่อให้เกิดการนำเสนออย่างไม่เป็นทางการเพื่อระดมสมอง หารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับรัฐสวิสสำหรับอนาคต โดยสรรหาตัวแทนจากสามัญชนบางส่วนเข้ามาร่วมถกเถียงด้วย ซึ่งปรากฏว่า มีข้อเสนอใหม่ๆเพื่อสร้างสังคมปรากฏขึ้นมาเช่นในค.ศ. 1777 โยฮัน จอร์จ สโตการ์ แห่งแคว้นชาฟเฮาเซ่นเสนอให้ออกแบบสร้างสหรัฐสวิตเซอร์แลนด์โดยอาศัยแรงบันดาลใจจากการประกาศเอกราชและสร้างสมาพันธรัฐของสหรัฐอเมริกาโดยให้เป็นมหาชนรัฐและสิทธิเสมอภาคกับพลเมืองทุกคน แต่ข้อเสนอไม่ผ่านมติของสมาคม
การล่มสลายของระบอบเจ้าฟิวดัลอย่างเป็นทางการ เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1798 นครรัฐบางแห่งเข้าไปเชื้อเชิญกองทัพฝรั่งเศสโดยนโปเลียนเข้ามาทำลายอำนาจของเจ้านครรัฐแห่งเบิร์นที่มีอำนาจมากสุด แต่นโปเลียนกลับทำมากกว่านั้นคือทำลายเจ้าฟิวดัลสวิสลงทั้งหมด แล้ว ปลดปล่อยมวลชนเป็นเสรีชน ภายใต้คำขวัญปฏิวัติฝรั่งเศส”เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” พร้อมกับปฏิรูปรัฐใหม่ที่รวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางเบ็ดเสร็จ เรียกว่ายุคปฏิรูป ภายใต้ชื่อสาธารณรัฐเฮลเวติก
ภายใต้โครงสร้างรัฐใหม่ตามแนวทางนโปเลียนที่จำลองแบบของฝรั่งเศสทั้งหมดนี้ เจ้าฟิวดัลสูญเสียฐานะนำในสังคมไปอย่างสิ้นเชิง เพราะบทบาทการเป็นหัวหน้าทหารรับจ้าง และผู้กำหนดกฏหมายหรือระเบียบทางสังคมถูกยึดไปจนหมดสิ้น
แม้นโปเลียนจะยกตนว่า เป็นผู้มาปลดปล่อยชาวสวิสออกจากเจ้าฟิวดัล แต่คนสวิสกลับรู้สึกอึดอัดใจอย่างยิ่งภายใต้การบงการของฝรั่งเศส เพราะจารีตเก่าแก่ของสังคมถูกยกเลิกไปทั้งหมด รู้สึกเสมือนเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เพราะมีข้อตกลงระหว่างสาธารณรัฐใหม่กับฝรั่งเศสระบุว่า กองทัพฝรั่งเศสสามารถเข้ามาปราบปรามผู้ที่ต่อต้านสาธารณรัฐใหม่นี้ได้ตลอดเวลา และยังต้องส่งทหารเกณฑ์สวิสเข้าร่วมรบในสงครามที่ฝรั่งเศสร่วมรบด้วย
บทเรียนใหม่เช่นนี้ บอกชาวสวิสว่า การมีรัฐขนาดใหญ่ที่รวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ไม่เพียงแต่คนในท้องถิ่นจะไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางอำนาจแล้ว ยังทำให้สังคมโดยรวมต้องแบกภาระต้นทุนสูงเกินจำเป็น เพราะการจัดการรัฐมีประสิทธิภาพต่ำ และขาดความยืดหยุ่นในกระบวนการทำงาน  ในขณะที่การตัดสินนโยบายจะถือเอาประโยชน์ของรัฐมากกว่าผลประโยชน์ของมวลชน และท้ายสุด รัฐมีแนวโน้มใช้อำนาจคุกคามเสรีภาพของมวลชนได้ง่าย นับแต่การเก็บภาษีและการสร้างสภาพบังคับทางกฏหมายอย่างเหมารวม
ความขัดแย้งหลักของมวลชนและปัญญาชนสวิสเกี่ยวกับโครงสร้างรัฐในยุคสาธารณรัฐ จึงอยู่ที่ประเด็นว่าด้วย ระหว่างการเป็นสาธารณรัฐแบบฝรั่งเศสที่รวบอำนาจเข้าส่วนกลาง กับ การเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบสหรัฐอเมริกาที่ถ่วงดุลอำนาจระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง อย่างไหนดีกว่ากัน
ทั้งสองกลุ่มที่อุดมการณ์ขัดแย้งกัน ได้ต่อสู้กันอย่างรุนแรง กลุ่มแรกพยายามทำรัฐประหารถึง 4 ครั้งภายในเวลา 5 ปีใต้การดำรงอยู่ของสาธารณรัฐ ส่วนกลุ่มหลังพยายามลุกฮือหลายครั้งเพื่อขอแยกตัวออกจากรัฐบาลกลางเป็นประเทศใหม่ แต่ล้วนไม่ประสบความสำเร็จทั้งสองฝ่าย เพราะถูกกองทัพฝรั่งเศสปราบปรามอย่างทารุณ
ในสงครามช่วงท้ายของนโปเลียน ดินแดนของสวิสถูกกองทัพต่อต้านนโปเลียนได้แก่ออสเตรีย และรัสเซียแบ่งกันเข้ายึดครอง ดังนั้นเมื่อยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการพร้อมกับข้อตกลงคองเกรสแห่งเวียนนา ประเด็นฐานะของสวิสก็ได้รับการบันทึกลงเป็นทางการว่า ทุกชาติที่ยึดครองดินแดนสวิสจะต้องถอนตัวออกไป และรับรองความเป็นกลางอย่างถาวร แต่ยังให้คงรูปแบบของส่าธารณรัฐแบบฝรั่งเศสอันเป็นมรดกของนโปเลียนเอาไว้
ความขัดแย้งระหว่างคนสวิสด้วยกันระหว่างทางเลือกเป็นสาธารณรัฐแบบฝรั่งเศส กับ สหพันธ์สาธารณรัฐแบบสหรัฐอเมริกา จึงสะสมและพอกพูนขึ้น กลายเป็นสงครามกลางเมือง เมื่อผู้นำ 7 แคว้นคาธอลิก ได้จัดตั้งกันรวมตัวขึ้นทำสงครามกับรัฐบาลกลางที่เบิร์นจนได้ผลรู้แพ้ชนะในสงครามซอนเดอร์บันด์ ค.ศ. 1847 ซึ่งหลังจากสงครามจบลง ก็มีการการร่างรัฐธรรมนูญสร้างสหพันธ์สาธารณรัฐที่รัฐส่วนกลางมีอำนาจจำกัด และคานอำนาจอย่างซับซ้อนโดยรัฐบาลท้องถิ่นของ 22 แคว้นอย่างมีขันติธรรมต่อกัน และได้ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1848 ก่อนที่คาร์ล มาร์กซ และเฟรดริก เองเกลส์จะเขียนแถลงการณ์ชาวคอมมิวนิสต์อันลือลั่นเสร็จในหลายเดือนต่อมาของปีเดียวกัน
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1848 นี้ ถือได้ว่าเป็นต้นแบบที่ก้าวหน้าที่สุดของประชาธิปไตยของโลกมาจนถึงปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก สะท้อนให้เห็นความลงตัวของโครงสร้างทางอำนาจทางการเมืองที่สอดรับกับความต้องการของมวลชน และพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่เกิดจากกลุ่มคนหลายเชื้อชาติ หลากความคิด และต่างวัฒนธรรม
หนึ่งในข้อกำหนดสำคัญของรัฐธรรมนูญก็คือ ห้ามคนสวิสเป็นทหารรับจ้างในกิจการของประเทศต่างๆทั่วโลก ยกเว้นทหารรักษาการณ์ที่วาติกันในกรุงโรม อันเป็นพิธีกรรมมากกว่าการสงครามที่แท้จริง เพื่อรักษาความเป็นกลางของสวิสอย่างเคร่งครัด แต่นั่นไม่ได้หมายความจะทำให้เลือดนักสู้ของคนสวิสลดน้อยลง เพราะข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับบทบาทของกองทัพ ทำให้ทุกวันนี้ คนสวิสทั้งชายและหญิงที่ขึ้นทะเบียนในกองทัพในรัฐบาลกลาง คิดเป็นจำนวนมากกว่า 40% ของพลเมือง  หรือ มากกว่าครึ่งหนึ่งของคนในวัยทำงาน สูงเป็นอันดับสองรองลงมาจากอิสราเอลเท่านั้น แต่มีเพียง 5% ของทหารในกองทัพที่เป็นทหารประจำการอาชีพเต็มเวลา ส่วนที่เหลือเป็นทหารเกณฑ์ ทหารอาสา และทหารบ้านของแต่ละแคว้น (โดยทุกคนได้รับการฝึกฝนให้ใช้อาวุธสมัยใหม่อย่างคล่องแคล่ว และมีอาวุธครอบครองในที่อยู่อาศัย โดยที่มีคดีอาชญากรรมเกิดขึ้นน้อยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก)
ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระของรัฐธรรมนูญมากสุดคือ ค.ศ. 1971 เมื่อมีการเพิ่มเติมให้สตรีในวัยบรรลุนิติภาวะได้รับสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่าเทียมชาย กับการสมัครเข้าเป็นสมาชิกภาพของสหประชาชาติ ค.ศ. 2002 นี้เอง

โมเดลสวิสกับสังคมสยาม

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการก่อนจะมาเป็นโมเดลสวิส ชี้ให้เห็นว่า โครงสร้างของอำนาจรัฐที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อกระบวนการจัดการทรัพยากรทางสังคมอย่างลึกซึ้ง การแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น กับรัฐบาลกลางให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถอยู่รอดปลอดภัยจากรัฐภายนอก  และเพื่อเปิดช่องให้กับเสรีภาพ ยุติธรรม และการจัดสรรทรัพยากรภายในที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของสมาชิกในสังคม เป็นสิ่งที่ไม่ได้หล่นมาจากฟากฟ้า แต่ต้องเกิดจากความพยายามค้นหาและร่วมกันสร้างขึ้นมา
กุญแจสำคัญของโมเดลสวิส ชี้ให้เห็นว่า การได้มาซึ่งสูตรโครงสร้างรัฐที่เหมาะสมนั้น ต้องผ่านความเจ็บปวดและเสียสละแต่สามารถเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายได้ หากเปิดโลกทัศน์ที่พร้อมจะนำเอามาใช้เป็นบทเรียนสำหรับอนาคต โดยอาศัยพื้นฐานของสังคมเดิมที่สอดรับกันอย่างเหมาะสม
สังคมสวิส ที่พัฒนาการจากสังคมเดิมหลากชนเผ่าโดยพื้นฐาน ทำให้การมีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ แต่รัฐบาลท้องถิ่นขนาดเล็ก ไม่เพียงพอต่อความอยู่รอดของรัฐโดยรวม ต้องมีรูปแบบของการสร้างรัฐบาลขนาดใหญ่ในรูปสมาพันธรัฐเข้ามาเสริมเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นป้องกันภัยจากภายนอก แต่การมีรัฐบาลกลางที่เข้มงวดมากไป ก็ทำให้ผู้คนในสังคมอึดอัดกับกระบวนการจัดการปัญหาอย่างองค์รวมมากเกิน จึงต้องย้อนกลับมาประยุกต์ใช้โครงสร้างเดิมที่ปรับปรุงใหม่อย่างสอดรับกัน กลายเป็นสูตรผสมที่ลงตัว
เมื่อสองร้อยปีก่อน หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการถือกำเนิดของรัฐประชาชาติ มีความพยายามค้นหาสูตรและโครงสร้างทางสังคมและรัฐที่เหมาะสมกับความต้องการของสมาชิกในสังคม เกิดเป็นลัทธิเศรษฐศาสตร์การเมืองมากมาย ที่โดดเด่นคือ ประชาธิปไตย/ทุนนิยมเสรี กับสังคมนิยมระดับต่างๆ ก่อนเกิดการต่อสู้เพื่อสร้างสังคมเป้าหมาย แต่ท้ายสุดจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถหาต้นแบบที่เหมาะสมและลงตัวได้ดีพอ ในขณะที่สวิสซึ่งค้นพบสูตรสำหรับตัวเองได้ลงตัวกลับสงบนิ่งและเผชิญกับการยืดหยุ่นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก/ได้อย่างยั่งยืน
ในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต ที่บรรดารัฐชาติต่างๆในโลก ต่างมีความพยายามหาทาง ออก หรือ สร้างข้อเรียกร้องเพื่อพัฒนาไปสู่สภาพของการลดขนาดรัฐให้เล็กลงอย่างเหมาะสมภายใต้กระบวนทัศน์”สังคมครอบรัฐ มิใช่รัฐใหญ่ครอบสังคม”  โดยมุ่งอาศัยความสัมพันธ์เชิงเครือข่าย ที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีในทุกสาขาความรู้  จนกระทั่งโครงสร้างและระบอบรัฐชาติเดี่ยว นับวันจะพ้นยุคมากขึ้นไปเรื่อยๆ โมเดลของสวิสก็ยิ่งเพิ่มความโดดเด่นเป็นทวีคูณ
โครงสร้างสหพันธรัฐตามโมเดลสวิส จะช่วยให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถจำแนกออกไปได้อย่างหลากรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการจัดการเชิงอำนาจของแต่ละรัฐได้อย่างยืดหยุ่น ภายใต้ความสามารถในการเลือกสรรกับสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุด ขจัดปัญหาการใช้อำนาจรัฐเดี่ยวจากส่วนกลางครอบงำ อีกทั้งการที่คนส่วนใหญ่เกินกว่าครึ่งของวัยทำงานเป็นทหารในกองทัพหลากรูปแบบ ก็ทำให้ข้ออ้างของผู้นำกองทัพในการผูกขาดความรักชาติเพื่อจะแทรกแซงรัฐบาลกลางและท้องถิ่นหมดสิ้นไปโดยปริยาย
โมเดลสวิสเช่นนี้ ไม่เหลือวิสัยที่จะเกิดขึ้นในสังคมสยามได้ เพราะแม้ว่ารายละเอียดในสังคมสยามในปัจจุบันจะแตกต่างจากสวิสอย่างมาก แต่หากย้อนมองประวัติศาสตร์ของสังคมในอดีต จะเห็นได้ชัดว่า ความสามารถในการเป็นนักรบของคนสยาม ความหลายหลายทางชนชาติและวัฒนธรรม และความพร้อมในการปกครองตนเองของมวลชนทุกระดับที่อยู่นอกอำนาจรัฐ เป็นสิ่งที่สามารถนำมาก่อร่างสร้างโมเดลสวิสในวิถีสยาม ให้เกิดขึ้นภายใต้หลักการเดียวกันคือ “สังคมครอบรัฐ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค เสรีภาพ และยุติธรรม”ได้ เพียงแต่ต้องมุ่งมั่นไปบรรลุเป้าหมายให้ได้เท่านั้น
หากทำได้ สยามจะกลายเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชียอย่างเต็มภาคภูมิ มิใช่ไกลเกินฝัน

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

ข่าวลับกรองแล้ว 3กันยายน 2559 "อาการไข้ปู่(โรง)เย็น,ที่บอกไม่ใช่แต่ที่ใช่ไม่บอก"

***สืบความลับจับมาตีแผ่เผยแพร่เป็นประจำในขบวนการประชาธิปไตยไทยในสแกนดิเนียเวียโดยกลุ่มเสียงประชาชนไทย(สปท.)  http://thaiscandemo.blogspot.com/


*วันนี้อาการไข้ของปู่เย็นเด่นชัดแล้วว่าการขานนามให้ถูก,ต้องเรียกว่า"ปู่โรงเย็น"เป็นเช่นไร?โปรดติดตาม

*แถลงการณ์อาการปู่ฉบับที่32 ถึงขนาดต้องใช้เครื่องCRRTภาษาหมอทุกโรงพญาบาลขนานนามตรงกันว่า"เครื่องส่งวิญญาน"...โปรดอ่านต่อ

*บอกตรงไม่อ้อมค้อมคือคุณปู่เป็นโรคติดเชื้อในกระแสเลือดแบบสมบูรณ์อันเป็นผลจากอวัยวะในร่างกายหมดอายุการใช้งานจึงทำให้ง่ายที่จะติดเชื้อและเมื่อติดเชื้อแล้วก็จะยิ่งส่งผลกลับไปที่อวัยวะทุกส่วนให้ทรุดหนักลงไปอีก

*สายข่าวหมอของสปท.รายงานอาการไข้ให้ชัดกว่าในแถลงการณ์...ความจริงของแถลงการณ์ฉบับที่32คณะแพทย์ใช้เทคนิคแบบการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีทางโทรทัศน์เพื่อป้องกันการผิดพลาดจากการถ่ายทอดจึงต้องใช้'ระบบดีเลย์'5นาที...ยิ่งสำคัญยิ่งต้องให้มั่นใจยิ่งต้องให้ดีเลย์นานๆ...ดังนั้น"ตามที่หมอบอกจึงไม่ใช่,แต่ที่ใช่หมอยังไม่กล้าบอก"เพราะของจริงวันนี้คนไทยจะได้รู้จริงๆจะต้องรอถึงปลายเดือนกันยา,แต่การถ่ายทอดแบบดีเลย์จะล่นเวลาสั้นเข้ามาเรื่อยๆ...แต่ถึงตอนนอนโรงเย็นยังเป็นเรื่องยุ่งยากที่ยังขัดแย้งเรื่องการรายงานจากหลายสายอำนาจและเมื่อถึงเวลานั้นเป็นเรื่องที่ใครก็ไม่กล้านอกจากเสี่ยในฐานะลูกชายคนโตๆๆๆและเป็นลูกชายคนเดียวจะต้องแสดงบทบาท


*เอาเฉพาะตามแถลงการณ์ก็บอกอาการเสียวแล้วชนิดไม่ต้องรอแถลงการณ์ฉบับต่อไปก็บอกได้ว่าเรียบร้อยเพราะขนาดไตวายถึงต้องใช้เครื่องฟอกเลือดที่ระบุไว้เต็มยศว่า Continuous renal replacement therapy พร้อมบอกตัวย่อ CRRT ก็เป็นที่รู้กันในภาษาหมอห้อง ICU เรียกว่าเครื่องส่งวิญญาน คือใครได้ใช้เป็นไม่รอด จะเร็วหรือนานแล้วแต่พระเจ้าจะประทานเวลา ถ้าสลิ่มเหลืองยังไม่แน่ใจก็ขอให้อัญเชิญหมอผีมาประทับทรงถามอาการดาราดังอย่าง"ป.ทฤษฎี"ที่ได้ผ่านการใช้เครื่อง CRRT และไปเฝ้ายมบาลเรียบร้อยแล้ว
*คนทั่วไปมีปัญหาไตวายแบบปกติเขาจะใช้เพียงเครื่องล้างไตหรือฟอกเลือดที่เรียกว่า Hemo dialysis เข้าใจง่ายๆคือคนไข้ต้องไปโรงพญาบาลสัปดาห์ละ2ครั้งๆละประมาณ3ชั่วโมงถ่ายเลือดออก5ลิตรฟอกแล้วนำกลับเข้าไปใหม่5ลิตรเท่าเดิม,แต่กรณีของปู่ร่างกายและอวัยวะหลายส่วนอ่อนแรงเต็มทีจึงต้องใช้CRRTถ่ายเลือดทีละนิดออกมาฟอกตลอด24ชั่วโมง,ดังนั้นขณะนี้ตามที่สายข่าวหมอรายงานว่าร่างของคุณปู่เย็นที่นอนอยู่ดูๆไปก็ไม่ต่างอะไรจากแฟรงเกนสไตร์ในหนังผีดิบคืนชีพคือมีสายระโยงระยางที่ต่อจากตัวปู่กับเครื่องจักรกลจนเต็มไปหมด,ทั้งสายฟอกเลือด,สายดูดเสล็ด,สายให้อาหาร,สายช่วยหายใจส่วนสายน้ำเกลือและสายถวายพระโอสถฆ่าเชื้อเป็นสายพื้นฐานทั้งหมอและพญาบาลที่คัดกรองเลือกเฟ้นเป็นพิเศษประจำห้องของปู่ต่างก็เห็นกันทุกวัน

*ภาวะไตวายถึงขนาดให้ยาแล้วก็ยังขับปัสสวะไม่ออกบอกได้เลยว่าได้ส่งผลให้น้ำในร่างกายคั่งเกินขนาด,ส่งผลให้น้ำท่วมปอดน้ำท่วมไตหายใจไม่สะดวกเป็นระรอกรับทอดกัน,ส่งผลให้ปู่เกิดอาการหายใจเร็วนั้นก็เพราะปอดจะต้องเร่งปั้มอ๊อกซิเย่นเข้าในร่างกายให้ได้ตามปริมาณที่จะทำให้ชีวิตอยู่ได้,แต่เนื่องจากปอดบวมและอักเสบจึงทำหน้าที่ปั้มเป็นปกติไม่ได้จึงต้องเร่งถี่ขึ้นจึงเกิด"ทรงหายพระทัยเร็ว"...เข้าใจตรงกันนะ

*การควบคุมเพื่อไม่ให้น้ำเข้าไปในร่างกายมากเพราะไตขับออกทาง'เยี่ยว'ไม่ได้ประกอบกับปอดหมดแรงและอักเสบมานานแล้ว(ไม่เชื่อให้ไปดูแถลงการณ์ฉบับก่อนๆหลายฉบับมีแต่เรื่องปอดอักเสบ)จึงส่งผลให้ไม่มีแรงขับเสลด,ตามแถลงการณ์จึงบอกว่า"พระเสมหะเหนียวข้นมาก"จึงตรวจพบการติดเชื้อทั้งในเลือดและที่เสลดนี้ด้วย...ต่อจากนี้รับรองได้ว่าชาวประชาจะได้รับข่าวต่อจากไตวายว่า'ตับวาย'แล้วสุดท้ายหัวใจก็จะวาย...แต่ระหว่างนี้หัวใจคสช.ก็จะวายจากข่าว"พระทัยใกล้จะวาย"

*การเข้าใจพระอากรของเสด็จปู่ถ้าจะให้รู้จริงควรต้องดูประสานกับเหตุการณ์ที่จะบอกความจริงของพระอาการเช่นเรื่องปลดรองราชเลขาฯดิสธร วัชโรทัย และใครต่อใครอีกหลายท่าน หากเข้าใจตามนี้ก็จะยิ่งรู้พระอาการมากขึ้น...ข้อควรระวังอย่าไปฟังข่าวจากคสช.ที่ผ่านกรมประชาสัมพันธ์เพราะจะทำให้ท่านมึนงง...เช่นข่าว"ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดทำบุญวันเกิดพลเอกเปรมครบ8รอบและพระราชทานช่อดอกไม้"...หรือทรงมีพระราชสารแสดงความเสียพระทัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว!!!เพราะจริงๆแล้วพระองค์ก็ทรงพระไม่ไหวทำอะไรไม่ได้แล้วเหมือนกัน555


*ภาพข่าว"คุณใหม่"ดิสธร วัชโรทัย ใส่ชุดทหารสีลายพรางเต็มยศพร้อมรบ พร้อมกับอีกหลายคนที่แต่งชุดแบบเดียวกันในวันที่แก่เฒ่าแต่ต้องเข้าอารมกฎระเบียบทหารอย่างเคร่งครัดถูกแชร์ว่อนเนทและอีกหนึ่งในนั้นคือคนนามสกุลเดียวกันที่ชื่อวัชรกิติ ที่พึ่งต้องออกจากบอร์ดปตท.(ตามที่รายงานไปในฉบับก่อน)ที่ต้องตัดผมเกรียนติดหนังหัวสไตร์ทหารวังพระบรม,ยิ่งบอกความจริงพระอาการเกินกว่าที่หมอรายงานในแถลงการณ์ฉบับที่32

*ยิ่งหากใครได้อ่านข่าวนี้ที่สปท.จะบอกแต่ไม่ออกสื่อทั่วไปรับรองได้ว่าตาสว่าง...คือข่าวคุณป้าๆทั้งหลายที่รับใช้ในวังแต่ดันจุ้นๆวุ่นวายจนทำให้บ้านเมืองเกิดวิกฤติเช่นคุณป้าจรุงจิตต์ ทีขะระ(หรือที่รู้จักในนามจ.จ.),คุณป้าดารา แฉ่งสมบูรณ์ (อีหนูไอ้เทือก) คุณพี่ทานตะวันที่เป็นน้องสาวป้าดารา ,คุณป้าสมศรีและยังมีอีกหลายคุณป้าถูกปลดออกจากหน้าที่การงานนางสนองพระโอฐของเสด็จปากแดง,ยิ่งทำให้ข่าวพระอาการใกล้โรงเย็นแรงขึ้นและชัดขึ้นอีก

*ถึงวันนี้คสช.น่าจะเกิดความละอายแก่ชาวโลกบ้างที่ช่างแต่งละครแต่ละวันว่าเสด็จปู่เย็นกับเสด็จป้าปากแดงยังแข็งแรงส่งพระราชสารไปแสดงความเสียใจกับใครๆทั่วโลกเพราะวันนี้เสด็จปู่เย็นก็ใกล้นอนโรงเย็นแล้วรอแต่ว่าลูกหลานจะประสานกันให้เข้าใจก็จะได้ถอดสายยางโดยไม่ต้องอ้างความผิดของฝ่ายใดเพื่อทำร้ายล้างบางกัน,ส่วนป้าปากแดงก็ถูกแต่งเรื่องให้เชื่อว่ายังมีสติสตางค์ดีและสุขภาพแข็งแรง

*ถ้าป้าปากแดงแข็งแรงจริงและยิ่งไม่เอ๋อทำไมไม่ให้เธอออกว่าราชการแทนเสด็จปู่เหมือนอย่างที่เคยเป็นตอนที่ปู่เย็นบวชเล่า?...เพราะหากรับหน้าได้แทนปู่,ตู่จะได้รีบๆปรับค.ร.ม.ใหม่ไม่สะดุดเรื่องจะเอาครม.ใหม่ไปถวายสัตย์...ก็งานว่าราชการรัฐประหารติดขัดทุกวันนี้ก็เพราะเรื่องนี้แหละ!!!

*ปรับครม.ใหม่ก็อั้นเต็มทีปีกว่ามาแล้วที่คณะ'เฮียกวง'สมคิดนำทีมมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจแต่สะกิดใจในราคาคุยลุยเท่าไรเศรษฐกิจก็ไม่กระเตื้องแถมกลับไปมีเรื่องกับบิ๊กฉัตรชัยรัฐมนตรีเกษตรสหายสนิทที่เป็นกระเป๋าสตางค์ให้ประยุทธ์มาตั้งแต่ครั้งเป็นผบ.ทบ.จนถึงขั้นรอไปนานเดี๋ยวจะพังกันทั้งแถบต้องรีบแก้ขัดโดยจัดเปลี่ยนเอาพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกฯไปดูแลเกษตรแทนสมคิด...อยากจะรีบปรับค.ร.ม.ก็ต้องรอไปเพราะไม่รู้จะทำอย่างไรจึงจะได้ภาพการถวายสัตย์ออกโชว์ชาวบ้านได้555...จะจัดให้เสด็จปู่ออกมานั่งทู่ซี้บนเก้าอี้แบบเก่าเอาเข้าจริงยิ่งทำไม่ได้แล้ววันนี้เพราะมีนักข่าวต่างประเทศส่องกล้องจับข่าวเท็จที่คสช.โกหกมาตลอดว่าเสด็จปู่อยู่สบายและแข็งแรง

*เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เพิ่มสมาชิกสนช.อีก30คนไม่ต้องทนรอนานผ่าน3วาระรวด,ทูลเกล้าปุ๊บลงมาปั๊บ...จงสะดับฟังทางนี้...เพราะวันนี้เสี่ยถือตรายางลายเซนต์และดวงตรา,ยิ่งเพื่อปรับให้สภากระชับเพื่อเตรียมรับการแต่งตั้งรัชกาลใหม่ยิ่งได้ไว...หากไม่ให้เสี่ยเป็นเห็นจะไม่ไวอย่างนี้??

*มาดูการแต่งตั้งทหารกันบ้างในเมื่อทุกสำนักต่างบอกตรงกันว่าเป็นพลเอกเฉลิมชัย แต่ทำไมทั้งๆที่ทูลเกล้าไปก่อนรัฐธรรมนูญแต่ดันยังไม่ลงมา...ก็ยิ่งชัดว่าเสี่ยต้องตรวจตราให้ชัดแจ้งก่อน

*ข่าวทหารวงในบอกว่าน่าจะไม่มีการผลิกโผกันอีกสักรอบ,จากพลเอกเฉลิมชัย กลับไปเป็นพิสิทธิ์อีกนั้นน่าจะเป็นไปไม่ได้เพราะข่าววงในบอกว่าเสี่ยใหญ่ให้ความใกล้ชิดเตรียมทหารรุ่น16ทั้งรุ่นโดยเฉพาะตัวเฉลิมชัย...ส่วนข่าวทางสื่อที่ออกมาว่าเฉลิมชัยเป็นเด็กป๋าที่สั่งการผ่านมาทางพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นขอท่านลองดูข่าวนี้แล้วจะมีเหตุผลในการวินิจฉัย

*พลเอกสุรยุทธ์ เกิดเดือนเดียวกับป๋าแต่ว่าห่างกันหลายรอบ,วันเกิด28สิงหา น่าจับตาตรงที่ได้รับโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้าเสี่ยเป็นกรณีพิเศษ...ข่าวนี้มีนัยยะสำคัญเรื่องการช่วงชิงสุรยุทธ์เด็กป๋า...น่าติดตาม...น่าติดตาม
*แต่ที่แน่ๆเตรียมทหารรุ่น20ที่มีหัวหอกชื่ออภิรัช คงสมพงศ์ ที่อยู่ในสายเฉลิมชัย แต่รอบแรกถูกเตะไปให้เป็นรองเสธ.นั้นคือตัวจักรสำคัญหาเงินส่งว่าที่อภิมหาอำนาจในนามผู้อำนวยการกองสลากจึงไม่ยากที่จะออกแรงแบกนายขึ้นเป็นผบ.ทบ. และตัวเองก็ถูกวางตำแหน่งสำคัญเป็นว่าที่ผบ.ทบ.ต่อไปถ้าไม่ไปเหยียบตาปลาใครเข้าในตำแหน่งแม่ทัพภาคที่1 ,คนนี้เชื่อขนมกินได้ว่าอยู่ใกล้เสี่ย

*การเตรียมการเคลียหน้างานให้การแต่งตั้งรัชกาลใหม่ได้ผ่านตลอดไม่มีสะดุดกำลังรุดหน้าดังนั้นใครที่ทำท่าว่าใกล้เทพถ่างต้องอยู่ห่างๆตีนเสี่ย...ถึงวันนี้'บิ๊กแกละ'พลเอกพิสิทธ์ ต้องตรวจแถวสายงานลงไปด้วยว่าตำแหน่งผบ.ทบ.ไม่เพียงแต่ค้ำว่าที่นายกคนใหม่หลังเลือกตั้งแต่ยังต้องชัดเจนเรื่องรัชกาลที่10ด้วยว่าต้องเป็นผู้ชายไม่ใช่ผู้หญิง แล้วทำไมสายงานที่เดินตามดันทำลุ่มล่ามไปใกล้ชิดสนิทแนบกับผู้หญิงเลยส่งผลให้นายประวิทต้องมีอันหน้าแหกไปด้วย,ถ้าไม่เชื่อแหล่งข่าวของสปท.ก็ขอให้พลเอกพิสิทธ์ลองต่อสายไปถามท่านผู้หญิงดารา ว่าที่ถูกเสี่ยปลดแล้วไปฟ้องน้องสาวเสด็จเทพถ่างนั้นท่านว่าอย่างไร?ก็จะได้คำตอบเองนะ,แต่ว่า"สายยยเสียแล้ว"...แล้วพบกับข่าวลับกรองแล้วของเสียงประชาชนไทยได้ใหม่อีกไม่นาน...//จบ